ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การจัดการโรค"

ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
เพิ่มขึ้น 12,969 ไบต์ ,  07:10, 22 พฤศจิกายน 2564
ไม่มีคำอธิบายอย่างย่อ
บรรทัดที่ 41: บรรทัดที่ 41:
== การป้องกันกำจัด ==
== การป้องกันกำจัด ==
ใช้สารเคมี เช่น สารประกอบทองแดง (copper compound) หรือสารเบโนมิล (benomyl) พ่นให้ทั่วบริเวณที่เป็นโรคอย่างน้อย 1-2 ครั้ง เพื่อลดการระบาดของโรค การใช้พันธุ์ต้านทาน และควรกำจัดใบที่เป็นโรคออกจากแปลง
ใช้สารเคมี เช่น สารประกอบทองแดง (copper compound) หรือสารเบโนมิล (benomyl) พ่นให้ทั่วบริเวณที่เป็นโรคอย่างน้อย 1-2 ครั้ง เพื่อลดการระบาดของโรค การใช้พันธุ์ต้านทาน และควรกำจัดใบที่เป็นโรคออกจากแปลง
[[หมวดหมู่:โรค]]
[[ไฟล์:Image6.png|thumb|ลักษณะอาการโรคใบด่างมันสำปะหลังบริเวณใบของมันสำปะหลัง]]
เชื้อสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ''Cassava Mosaic Virus'' อยู่ในวงศ์ (Family) Geminiviridae สกุล (Genus)  Begomovirus โดยมีชนิดของสารพันธุ์กรรมเป็น ดีเอ็นเอสายเดี่ยวขดเป็นวง ที่มีจำนวน 2 โมเลกุล (Bipartite genomes) เรียกว่า DNA-A และ DNA-B (สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. 2561) ถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในทางแอฟริกา โดยมีชื่อว่า ''African Cassava Virus'' (ACMV) ทั่วโลกเรียกว่า ACMV จนมาเจอเชื้อที่มีลักษณะเหมือน ACMV แต่ไม่ทำปฏิกิริยากับเซรุ่มวิทยากับ anti ACMV โดยพบการระบาดอยู่ในประเทศ เคนย่า ทางทิศตะวันออกของทวีปจึงได้ชื่อว่า ''East African Cassava Mosaic Virus'' (EACMV) เพื่อให้ทราบว่าเชื้อมีถิ่นกำเนิดทางภาคตะวันออก จากนั้นได้มีการพบเชื้อเพิ่มขึ้นอีกหลายชนิดในแถบแอฟริกา และอีก 2 ชนิดในแถบอินเดียและศรีลังกา คือ ''Indian Cassava Mosaic Virus'' (ICMV) และ ''Srilankan Cassava Mosaic Virus'' (SLCMV) จากนั้นได้มีการระบาดครั้งแรกในปี 2559 ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ประเทศเวียดนาม และกัมพูชา สายพันธุ์ ''Sri Lankan cassava mosaic virus'' (SLCMV) ต่อมาในปี 2561 ได้มีการรายงานพบโรคใบด่างมันสำปะหลังในประเทศไทย จังหวัด ปราจีนบุรี สุรินทร์ และศรีสะเกษ จากกรมวิชาการเกษตร และได้ดำเนินการกำจัดเรียบร้อย จากนั้นพบอาการใบด่างในจังหวัดสระแก้ว ในปี 2562 (ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ, 2563<ref>ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ.  2563. วิเคราะห์สถานการณ์โรคใบด่างมันสำปะหลัง. สำนักงานเศรษฐกิจเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. ที่มา: <nowiki>https://www.nabc.go.th/disaster/baidang</nowiki>. 8 กุมภาพันธ์ 2564.</ref>) และได้มีการพบการแพร่ระบาดในพื้นที่ 29 จังหวัด พื้นที่ระบาดรวมทั้งสิ้น 442,564 ไร่ โดยจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา สระแก้ว และบุรีรัมย์ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2563<ref>สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.  2563.  สศก. ลุยโคราช แหล่งระบาดใหญ่ โรคใบด่างมันฯ แนะเกษตรกรหมั่นสังเกต หากพบรีบแจ้ง จนท./ผู้นำชุมชน. กระทรงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. ที่มา: <nowiki>http://www.oae.go.th/view/1/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%20%E0%B8%AA%E0%B8%A8%E0%B8%81./34863/TH-TH</nowiki>. 8 กุมภาพันธ์ 2564.</ref>) ซึ่งสร้างความเสียหายต่อผลผลิต 80 – 100%
== ลักษณะอาการ ==
[[ไฟล์:Image5.png|thumb|ลักษณะอาการโรคใบด่างมันสำปะหลังบริเวณใบของมันสำปะหลัง]]
มันสำปะหลังที่แสดงอาการของโรคใบด่างจะแสดงอาการใบด่างเหลือง ใบเสียรูปทรง ยอดที่แตกใหม่จะแสดงอาการด่างเหลือง ลำต้นมีลักษณะแคระแกร็น หัวมันสำปะหลังมีขนาดเล็กกว่าปกติ โดยอาการจะเริ่มต้นที่ใบยอดก่อนโดยเริ่มจากอาการเส้นใบใส จากนั้นเปลี่ยนเป็นใบด่างคล้ายลายหินขัด (mosaic) ในเนื้อใบส่วนที่มีสีซีดมักบางหรือเจริญลดลงทำให้ใบมีลักษณะผิดรูป (distort) หรือบิดเบี้ยว (crinkling) ในมันสำปะหลังบางพันธ์ หรือในสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง อาจแสดงอาการของโรคไม่ชัดเจน เนื่องมาจากมีการตอบโต้ป้องกันตัวเองจากมันสำปะหลัง ในขณะที่มีการปลูกมันสำปะหลังในพันธุ์เดิมพื้นที่เดิม อาจส่งผลให้เกิดการระบาดรุนแรงขึ้น หากเกิดการกลายพันธุ์หรือมีการเข้าทำลายร่วมกับเชื้อชนิดอื่น จะส่งผลให้มันสำปะหลังที่เป็นโรคมีขนาดหัวมัน จำนวน และเปอร์เซ็นต์แป้งลดลง (โสภณ, 2560<ref>โสภณ วงศ์แก้ว.  2560.  ไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง: วายร้ายระดับโลก. </ref>)
== การแพร่ระบาด ==
เชื้อไวรัส ''Cassava mosaic virus'' สามารถแพร่ระบาดได้โดยติดไปกับท่อนพันธุ์ และวิธีการถ่ายทอดผ่านแมลงหวี่ขาวยาสูบ (อุดมศักดิ์, 2555<ref>อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช.  2555. โรคและแมลงศัตรูของมันสำปะหลัง. สุพรีมพริ้นท์ จำกัด, กรุงเทพฯ.</ref>) แมลงหวี่ขาวยาสูบ (tobacco whitefly) ชื่อวิทยาศาสตร์ ''Bemisia tabaci'' (Gennadius) โดยแมลงหวี่ขาวยาสูบจะไปดูดกินน้ำเลี้ยงของต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรค จากนั้นอนุภาคไวรัสจะติดที่ปลายปากของแมลงหวี่ขาว และเข้าไปเพิ่มปริมาณในตัว จากนั้นการถ่ายทอดเชื้อไวรัสจะเกิดขึ้นเมื่อแมลงไปดูดกินน้ำเลี้ยงของมันสำปะหลังในต้นต่อไป (วันวิสา. 2561<ref>วันวิสา ศิริวรรณ์.  2561.  โรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง. ที่มา: <nowiki>https://www.tapiocathai.org/P.html</nowiki>. วันที่สืบค้น 11 กุมภาพันธ์ 2563.</ref>)โดยตัวเต็มวัยของแมลงมีความยาว 1 มิลลิเมตร ปีกสีขาว ลำตัวสีเหลืองอ่อน มักพบเกาะตามใบมันสำปะหลัง วางไข่และฟักตัวอ่อนจนครบวงจรชีวิต (สำนักงานวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช. 2561<ref>สำนักงานวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช.  2561.  คู่มือการสำรวจและเฝ้าระวังโรคใบด่างของมันสำปะหลัง. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.</ref>) โดยแมลงหวี่ขาวยาสูบมีพืชอาศัยหลายชนิด เช่น กะเพรา โหระพา ผักชีฝรั่ง พืชตระกูลพริก มะเขือ มันฝรั่ง และพืชตระกูลแตง ส่งผลให้เชื้อไวรัสสามารถแพร่ระบาดไปได้อย่างกว้างขวาง (สำนักงานข่าวประชาสัมพันธ์. 2563<ref>สำนักงานข่าวประชาสัมพันธ์.  2563. เตือนเกษตรกร เฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลัง. ที่มา: <nowiki>https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG200810184913696</nowiki>. วันที่สืบค้น 11 กุมภาพันธ์ 2564. </ref>)
== การป้องกันกำจัด ==
หากมีการพบมันสำปะหลังที่แสดงอาการมากกว่า 10 ต้นต่อไร่ ทำการถอนทำลายต้นมันสำปะหลังทิ้งทั้งแปลง โดยไม่ให้เหลือเศษซากพืชหรือชิ้นส่วนของต้นมันสำปะหลังหลงเหลืออยู่ในแปลง จากนั้นทำการฝังกลบในหลุมลึกไม่น้อยกว่า 2 – 3 เมตร ราดด้วยสารกำจัดวัชพืช อะมีทรีน 80% WG และกลบด้วยดินหนาไม่น้อยกว่า 0.5 เมตร ทำการพ่นด้วยสารฆ่าแมลงเพื่อกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ ด้วยสารเคมี อิมิดาโคลพริด 70 % WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนฟูแรน 10% SL อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไทอะมีโทแซม 25% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร บนต้นมันสำปะหลังในแปลงที่พบอาการใบด่าง และแปลงงข้างเคียง (กรมวิชาการเกษตร, ม.ป.ป.<ref>กรมวิชาการเกษตร.  ม.ป.ป. โรคใบด่างมันสำปะหลัง. เอกสารวิชาการ: แนวทางการเฝ้าระวังและป้องกันกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง. กรุงเทพฯ.</ref>)
== อ้างอิง ==
*
[[หมวดหมู่:โรค]]
[[หมวดหมู่:โรค]]


134

การแก้ไข

รายการนำทางไซต์