การใส่ปุ๋ยและปรับปรุงดิน

จาก Cassava
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื่องจากอินทรียวัตถุ และธาตุอาหรภายในดินต่ำ จึงส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังต่ำตามไปด้วย จึงจำเป็นต้องมีปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์พร้อมสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง และใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารช่วยในกรเจริญเติบโตแก่มันสำปะหลัง องค์การอาหารและเกษตรแห่งประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) ได้มีกรทดลองเรื่องปุ๋ยเคมีสำหรับมันสำปะหลังเมื่อปี พ.ศ.2523 – 2533 พบว่ามันสำปหลังตอบสนองกับปุ๋ยไนโตรเจน (N) เป็นส่วนใหญ่ ตามด้วยโพแทสเซียม (K) และฟอสฟอรัส (F) (Reinhardt Howeler and Tin Maung Aye, 2015)

หลักการพิจารณาการใส่ปุ๋ยมันสำปะหลัง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ชนิดปุ๋ย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

โดยทั่วไปมันสำปะหลังต้องการธาตุปุ๋ยทั้ง 3 ชนิด ซึ่งได้แก่

ไนโตรเจน (N)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ในสภาพดินเกือบทุกชนิด การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนปริมาณ 12.8 – 19.2 กก./ไร่ ช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่มันสำปะหลังได้ สามารถใส่ปุ๋ยครั้งเดียวตอนปลูก หรือ 30 วันหลังจากการปลูก
  • ในสภาพดินที่เป็นดินทราย ระบายน้ำได้ดี ควรมีการแบ่งการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเป็น 2 ครั้ง คือ ใส่ครั้งแรกครึ่งหนึ่งพร้อมการปลูก ครั้งที่ 2 เมื่อมันสำปะหลังมีอายุครบ 1 – 2 เดือน หรือ แบ่งใส่ 3 ครั้ง โดยครั้งแรกใช้ 1/3 ของจำนวนปุ๋ยไนโตรเจนทั้งหมดที่ใช้สำหรับการปลูก ครั้งที่ 2 ใช้ 1/3 เมื่อมันสำปะหลังอายุครบ 30 วัน และครั้งที่ 3 ใช้อีก 1/3 เมื่ออายุครบ 60 วัน
ข้อควรระวัง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  • ปุ๋ยไนโตรเจนละลายได้ดีในสารละลายในดิน ควรใช้จอบขุดร่องข้างๆ สำหรับใส่ปุ๋ยจากนั้นใช้ดินกลบ ไม่ควรปล่อยให้ปุ๋ยไนโตรเจนทิ้งค้างอยู่บนผิวดิน เนื่องจากปุ๋ยส่วนหนึ่งจะระเหย หรือถูกน้ำชะล้างไป

ฟอสฟอรัส (P)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

มันสำปะหลังสามารถเติบโตได้ดีในสภาพดินที่มีปริมาณฟอสฟอรัสต่ำ ซึ่งการขาดฟอสฟอรัสไม่ใช่ปัญหาหลักของการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง ซึ่งการตอบสนองต่อปุ๋ยฟอสฟอรัสไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน ยังขึ้นอยู่กับปริมาณไมโคไรซาในดิน และพันธุ์มันสำปะหลังด้วย

การใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัส (P)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  • มันสำปะหลังสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีฟอสฟอรัสต่ำ
  • ในดินที่ขาดปริมาณฟอสฟอรัสอย่างรุนแรง มีปริมาณฟอสฟอรัสที่พืชสามารถนำไปใช้ได้น้อยกว่า 4 พีพีเอ็ม (ppm) ซึ่งมันสำปะหลังจะตอบสนองต่อปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ใส่ประมาณ 16-32 กก. P2O2/ไร่ ในช่วงแรก แต่หลังจาก 1 – 2 ปีแรกควรลดอัตราลงเป็น 6.4 – 8 กก. P2O2/ไร่ เนื่องจากจะมีปริมาณฟอสฟอรัสค้างอยู่ในดิน
  • ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ดีจะละลายน้ำได้ดี เช่น ซิงเกิ้ล - หรือ ทริปเปิ้ล – ซุปเปอร์ฟอสเฟต และโมโน – หรือ ได – แอมโมเนียมฟอสเฟต (ซึ่งมี N ประกอบด้วย) ควรใส่โรยเป็นแถบใกล้ๆ ท่อนพันธุ์ หรือต้นมันสำปะหลัง จากนั้นพรวนดินกลบ
  • ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ละลายได้น้อยเรียกว่า เบสิคสะแลค วิธีใช้จะต้องหว่านบนแปลงให้ถั่ว จากนั้นไถคลุกเคล้าลงไปในดินก่อนปลูกมันสำปะหลัง แหล่งปุ๋ยชนิดนี้จะมีแคลเซียม (Ca) ปริมาณมาก จะช่วยลดความเป็นกรดของดินลง (เพิ่มค่า pH)
  • ควรใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสทั้งหมดครั้งเดียวในขณะที่ปลูก หรือหลังจากปลูกมันสำปะหลังแล้ว 30 วัน เนื่องจากการแบ่งใส่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ

โพแทสเซียม (K)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิต และปริมาณการสะสมของแป้งในหัวมันสำปะหลัง โดยทั่วไปปริมาณแป้งจะสะสมเพิ่มขึ้นเมื่อใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมจนถึงระดับ 12.8 กก. K2O/ไร่ จากนั้นปริมาณแป้งจะลดลงเมื่อใช้อัตราสูงขึ้นไปกว่านี้

การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมจะลดปริมาณไซยาไนด์หัวมันสำปะหลัง อีกทั้งช่วยเพิ่มต้านทานโรค และแมลง ปริมาณโพแทสเซียมที่เพียงพอ ยังช่วยในการเจริญเติบโตของลำต้น และคุณภาพของท่อนพันธุ์ด้วย อาการขาดแคลนปุ๋ยโพแทสเซียมมักจะเกิดในดินที่มีเนื้อโปร่งบาง เช่นดินร่วนทราย ดินทราย

การใช้ปุ๋ยโพแทสเซียม (K)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  • ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใส่โพแทสเซียมที่เหมาะสมที่สุดคือใส่ในขั้นตอนการปลูก หรือหลังจากนั้น 30 วัน โดยโรยเป็นแถบข้างท่อนพันธุ์ หรือต้นมันสำปะหลัง จากนั้นพรวนดินกลบ
  • การป้องกันไม่ให้ปุ๋ยโพแทสเซียมหมดไป แนะนำให้ใส่ในปริมาณ 12.8 – 19.2 กก. K2O/ไร่ เพื่อชดเชยปุ๋ยโพแทสเซียมที่มันสำปะหลังนำไปผลิตเป็นหัว

ธาตุอาหารที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นธาตุอาหารหลักที่สำคัญของมันสำปะหลัง สัดส่วนของธาตุปุ๋ยหลักจะขึ้นอยู่กับสมบัติดินและผลวิเคราะห์ดิน ชนิดปุ๋ยที่แนะนำประกอบด้วย

  • ปุ๋ยสูตร 15-7-18 หรือ 16-8-16 (เรโช 2:1:2 หรือ 2:1:3 หรือ 3:1:2) ขึ้นอยู่กับราคาต่อหน่วยของเนื้อปุ๋ย ใช้กับดินทั่วไปที่มีปริมาณธาตุปุ๋ยต่ำ หรือดินที่มีการปลูกมันสำปะหลังอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนาน เหมาะสำหรับดินทราย ดินร่วนทราย ดินร่วนเหนียว ฯลฯ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 แนะนำให้ใช้ในดินเหนียวปนกรวด เพราะมีสมบัติตรึงธาตุฟอสฟอรัส (P-fixation) สูง ทำให้ดึงธาตุฟอสฟอรัสไว้กับดิน พืชดึงไปใช้ได้ยาก จึงต้องใส่ธาตุฟอสฟอรัสมาก (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556[1])

อัตราปุ๋ย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

อัตราปุ๋ยที่แนะนำโดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับสมบัติดิน และพันธุ์มันสำปะหลัง พันธุ์ที่ตอบสนองต่อปุ๋ยในอัตราสูงได้ดี ได้แก่ พันธุ์ห้วยบง 80  ระยอง 5  ระยอง 7 ระยอง 9 และระยอง 11 อัตราที่แนะนำส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 30-100 กิโลกรัมต่อไร่ หากเป็นการใส่ในอัตราสูงเช่น 100 กิโลกรัมต่อไร่ ควรมีการแบ่งใส่เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียปุ๋ยโดยการชะละลายออกจากเขตรากมันสำปะหลังเมื่อมีฝนตกหนัก โดยปกติหากมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วย ในอัตรา 1-2 ตันต่อไร่ ควรลดปริมาณปุ๋ยเคมีลงมาครึ่งหนึ่งของอัตราที่ใส่ปุ๋ยเคมีชนิดเดียว รายละเอียดอัตราปุ๋ยตามลักษณะดิน มีดังนี้

  • ดินเหนียว ใส่ในอัตรา 30-40 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ครั้งเดียว
  • ดินร่วนเหนียว ใส่ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ครั้งเดียว
  • ดินทราย ดินร่วน ดินร่วนปนทราย และดินทรายปนดินร่วน ใส่ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)[1]

รูปแบบของปุ๋ยและวิธีการที่ใช้[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การใส่ปุ๋ยมันสำปะหลังมีระยะเวลาการใส่ดังนี้

  • กลุ่มดินเนื้อปานกลางและเนื้อละเอียด ควรใส่ครั้งเดียว เมื่อมันสำปะหลังอายุประมาณ 1-2 เดือนหลังปลูก ให้พิจารณาจากขนาดของทรงพุ่ม โดยควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มประมาณ 25-30 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความชื้น และการเตรียมดินว่ามีผลทำให้การเจริญเติบโตรวดเร็วเพียงใด
  • กลุ่มดินเนื้อหยาบ ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อมันสำปะหลังอายุได้ 1-2 เดือน และครั้งที่สองควรทิ้งระยะห่างจากครั้งแรกอย่างน้อย 2 เดือน แต่ไม่ควรใส่ปุ๋ยหลังจากมันสำปะหลังอายุเกิน 4 เดือน เนื่องจากรากมันสำปะหลังจะเปลี่ยนจากรากหาอาหารไปเป็นรากสะสมอาหารทำให้ประสิทธิภาพการดูดใช้ปุ๋ยลดน้อยลง

         ข้อควรระวังในการใส่ปุ๋ยคือ จะต้องมีการกำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ยเสมอเพื่อไม่ให้วัชพืชแก่งแย่งปุ๋ยที่ใส่ลงไปจากมันสำปะหลัง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดการระบาดของวัชพืช (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)[1]

วิธีการใส่ปุ๋ย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

วิธีการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม ควรใส่ปุ๋ยตรงสันร่อง 2 ข้างลำต้นบริเวณขอบทรงพุ่ม (ขึ้นอยู่กับอายุพืชและขนาดของทรงพุ่ม) โดยการใช้จอบขุดเป็นหลุมขนาดเล็กลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตร แล้วใช้ดินกลบ หากไม่กลบอาจทำให้เกิดการสูญเสียปุ๋ยมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์การใส่ปุ๋ยเคมีต้องดำเนินการในขณะที่ดินมีความชื้น และต้องกลบปุ๋ยด้วย การใส่ปุ๋ยรองพื้นมันสำปะหลังไม่ควรทำเพราะรากมันสำปะหลังยังมีปริมาณไม่มากพอที่จะดูดใช้ได้ทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีฝนตกค่อนข้างมากหลังจากการเสียบท่อนพันธุ์ ส่วนการใส่ปุ๋ยด้านข้างร่องอาจจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน โดยการโรยและไถกลบ แต่ไม่เหมาะสมกับมันสำปะหลังพันธุ์แนะนำที่มีระยะปลูกระหว่างต้นประมาณ 80-100 เซนติเมตร เพราะปลายรากพืชไม่สามารถดูดใช้ปุ๋ยได้ทั่วถึง และหากฝนตกแล้วมีการไหลของน้ำในร่องมันสำปะหลังก็จะทำให้เกิดการสูญเสีย สำหรับการหว่านปุ๋ยไม่แนะนำโดยสิ้นเชิงสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)[1]

วิธีการใช้ปุ๋ยแต่ละชนิดให้กับพืช[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

มีด้วยกัน 2 ช่องทาง

  • การใส่ปุ๋ยทางดิน มีปุ๋ยที่ใส่ทางดินเป็นแบบเม็ดใช้หว่างเป็นธาตุอาหารหลักของพืชและธาตุอาหารรองของพืช หรือแบบน้ำใช้ผสมรดให้แก่พืช เช่นปุ๋ยเคมีกระสอบ ปุ๋ยอินทรีย์กระสอบ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ
  • การใส่ปุ๋ยน้ำทางใบ พืชสามารถดูดซับธาตุอาหารได้ทางราก เซลล์เนื้อเยื่อของลำต้น และทางใบ การใส่ปุ๋ยกับพืชทางใบเป็นการให้ธาตุอาหารแก่พืชที่เป็นอาหารแบบเร่งด่วนหรือลัดวงจร ดังนั้นปุ๋ยที่สามารถให้ทางใบหรือเซลล์เนื้อเยื่อได้จะต้องสามารถทำให้พืชดูดซับได้โดยง่าย เป็นระบบอะตอมขนาดเล็ก หรืออะตอมมิคนาโน ประโยชน์ของการให้ปุ๋ยทางใบช่วยลดการเสื่อมของดินได้อีกทางหนึ่ง ปุ๋ยน้ำทางใบมีทั้งแบบปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีสกัดเข้มข้น เป็นขบวนการผลิตปุ๋ยทางใบที่เป็นอะตอมมิคนาโน (แยกโมเลกุลของธาตุให้เป็นอะตอมเฉพาะธาตุ) เช่น น้ำ แยกโมเลกุลน้ำได้เป็น ไฮโรเยน และอ๊อกไซน์

เทคโนโลยีการให้ปุ๋ยในมันสำปะหลัง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ถังหยอดปุ๋ยชนิดมอเตอร์ไฟฟ้า ใช้พ่วงกับแบตเตอรี่รถไถ มีสวิทปิดเปิด ใช้วางบนหางไถ มีเกลียวหมุน หยอดปุ๋ยลงร่องที่ปลูกมันสำปะหลังจากนั้นใบไถจะตามกลบปุ๋ย ทำให้ปุ๋ยอยู่ในร่องที่เป๋นแนวปลูกและอยู่ใต้ผิวดิน เป็นการประหยัดปุ๋ย และทำให้ปุ๋ยไม่ระเหิดจากการโดนแดดเผาจึงทำให้มันสำปะหลังได้รับปุ๋ยมากยิ่งขึ้น เกิดการสูญเสียน้อย เพราะปุ๋ยอยู่ใต้ผิวดิน
    ถังหยอดปุ๋ยชนิดมอเตอร์ไฟฟ้า ภาพจากไร่ปรินซ์โตน ของคุณสุรพันธุ์ (ฟาร์มเกษตร ชีวิตเกษตร ครบวงจร, 2564)
  • ถังหยอดปุ๋ยแบบอนาล็อค คือไม่ใช้ไฟฟ้า จะมีโซ่โยงมถึงลูกกลิ้งเวลารถไถวิ่งลูกกลิ้งจะหมุนลากโซ่ ส่งกำลังไปหมุนเกลียวเฟืองที่อยู่ใต้ถังปุ๋ย ปุ๋ยเม็ดจะหยอดลงมาตามร่องที่รถไถวิ่ง สามารถปรับปริมาณได้มากน้อย ที่ตัวปรับใต้ถัง หลังจากปุ๋ยลงดินจะโดนใบไถกลบปุ๋ยตามหลังเหมือนกัน ทำให้ปุ๋ยอยู่ใต้ดิน
    ถังหยอดปุ๋ยแบบอนาล็อค (ฟาร์มเกษตร ชีวิตเกษตร ครบวงจร, 2554)
  • ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำทางใบโดยใช้แรงงานคนเดินพ่นตามร่องมันสำปะหลังและโดยใช้โดรน ช่วยให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตได้เร็วคลุมหญ้าได้ไว มีใบกว้างสามารถสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น และวิธีการพ่นปุ๋ยโดยใช้โดรนฉีดพ่นตามพื้นที่ต่างๆในแปลงมันสำปะหลัง (ฟาร์มเกษตร ชีวิตเกษตร ครบวงจร, 2554)[2]
    อุปกรณ์และวิธีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบโดยใช้แรงงานคน (ฟาร์มเกษตร ชีวิตเกษตร ครบวงจร, 2554)
    ภาพการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบโดยใช้โดรนฉีดพ่น

วิธีการเลือกซื้อปุ๋ย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การเลือกซื้อปุ๋ยให้ได้คุณภาพมีวิธีการเลือกซื้อดังนี้

  • ตามพระราชบัญญัติปุ๋ยปี พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับ 2) ปี พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการเขียนข้อความที่สำคัญต่างเป็นภาษาไทย หรือที่เรียกว่า “ฉลากปุ๋ย” ไว้ที่กระสอบปุ๋ยให้เด่นชัด คือ
  1. ชื่อทางการค้าและมีคำว่าปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีมาตรฐาน หรือปุ๋ยอินทรีย์เคมีแล้วแต่กรณ
  2. เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายอื่นใด แสดงที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุปุ๋ยเคมี
  3. ปริมาณธาตุอาหารรับรอง
  4. น้ำหนักสุทธิหรือขนาดบรรจุของปุ๋ยเคมีตามระบบเมตริก
  5. ชื่อผู้ผลิต และที่ตั้งสำนักงานและสถานที่ผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อการค้า
  6. ชื่อทางเคมีและปริมาณของสารเป็นพิษที่อยู่ในปุ๋ยเคมี (ทัศนีย์ และ ประทีป. 2552)[3]
  • ตรวจสอบเลขทะเบียนของปุ๋ยที่ขึ้นกับกรมวิชาการเกษตรด้วยแอพพลิเคชั่นของกรมวิชาการเกษตร บนช่องทางเครื่องมือสื่อสาร
  • ไม่หลงเชื้อคำโฆษณาชวนเชื่อ เกินราคา เกินความจริง เช่น ใช้ซองเดียวข้าวได้เป็นตันๆ
  • เกษตรกรควรมีความรู้ เพื่อป้องกันการโดนหลอกขายปุ๋ย ขายยา โดยสามารถหาความรู้ได้ทางช่องทางอินเตอร์เน็ต หรือตามหน่วยงานด้านการเกษตร ทราบถึงธาตุอาหารที่พืชต้องการ ระยะเวลาการใส่ปุ๋ย ปริมาณที่พอเหมาะ
  • ไม่หลงเชื่อคำพูดของของเกษตรกรผู้ปลูกด้วยกันง่ายๆ อาจเพราะการบอกว่าใช้ดีอาจหมายถึงเป็นตัวแทนขาย หรือได้รับผลประโยชน์
  • ไม่หลงเชื่อโฆษณาตามอินเตอร์เน็ต หรือวิทยุได้ง่ายๆ

การวิเคราะห์เนื้อดินอย่างง่าย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การวิเคราะห์เนื้อดินด้วยชุดตรวจสอบดิน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

   วิธีวิเคราะห์ดิน ด้วยชุดวิเคราะห์ของมูลนิธิพลังนิเวศ มก.

  • ทำการบดตัวอย่างดินให้ละเอียดพอประมาณ ด้วยการทุบ ตำ หรือบดด้วยขวดแก้ว

ตรวจสอบค่าความเป็นกรดด่าง (pH)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ใส่ดินในถาดหลุม ครึ่งหลุม
  • หยดน้ำยาเบอร์ 10 ทีละหยดจนดินอิ่มตัว แล้วเติมลงอีก 2 หยด
  • 1 นาที อ่านค่าโดยเทียบสีมาตรฐาน

หมายเหตุ : ดินนา pH ต่ำกว่า 4.5 ไม่ต้องเติมปูน (เมื่อปล่อยน้ำเข้า pH จะเพิ่มขึ้น)

            วิเคราะห์ธาตุอาหาร

เตรียมน้ำยาสกัด[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ตักดินด้วยช้อนตวง 1 ช้อนพูน เคาะช้อนสองถึงสามครั้งกับมือแล้วใช้เหล็กปาดให้เสมอขอบ
  • ใส่ดินลงในขวดสกัด
  • เตรียมน้ำยาสกัด เบอร์ 1 20 ม.ล (ห้ามขาด ห้ามเกิน) ใส่ภาชนะ
  • เทน้ำยาสกัดลงในขวดที่มีดิน แล้วเขย่า 5 นาที
  • เทน้ำสกัดลงในกรวยที่มีแผ่นกรองใส่ขวดรองรับ รอจนแห้

    “ได้น้ำสกัดดินที่พร้อมนำไปสกัดหาธาตุอาหาร”    

วิเคราะห์ แอมโมเนี่ยม ไนโตรเจน NH4+N[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ดูดน้ำที่กรองได้จากขวดรองรับ  2.5 ม.ล ใส่หลอดแก้ว
  • เติมผงเบอร์ 2 หนึ่งช้อนเล็ก
  • เติมน้ำยาเบอร์ 3  5 หยด
  • ปิดฝาหลอดแก้วด้วยจุกยาง เขย่าให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 5 นาที
  • อ่านค่าโดยการเทียบแผ่นสีมาตรฐาน “แอมโมเนียม”

หมายเหตุ ถ้าโทนสีเป็นสีฟ้า ใช้แผ่นเทียบสีแผ่นที่ 1

           ถ้าโทนสีเป็นสีเขียว ใช้แผ่นเทียบสีแผ่นที่ 2

วิเคราะห์ ไนเทรต ไนโตรเจน NO3- N[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ดูดน้ำที่กรองได้จากขวดรองรับ 2.5 ม.ล ใส่ในหลอดแก้ว
  • เติมน้ำยาเบอร์ 4  0.5 ม.ล
  • เติมผงเบอร์ 5 หนึ่งช้อนเล็ก
  • ปิดฝาหลอดแก้วด้วยจุกยาง เขย่าให้เข้ากันทิ้งไว้ 5 นาที
  • อ่านค่าไนเทรต โดยการเทียบแผ่นสีมาตรฐาน

วิเคราะห์ ฟอสฟอรัส P2O5 (Phosphorus Pentoxide)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ดูดน้ำกรองได้จากขวดรองรับ 2.5 ม.ล ใส่ในหลอดแก้ว
  • เติมน้ำยาเบอร์6 0.5 ม.ล
  • เติมผงเบอร์7 ครึ่งช้อนเล็ก
  • ปิดฝาหลอดแก้วด้วยจุกยาง เขย่าให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 5 นาที
  • อ่านค่าฟอสฟอรัส โดยเปรียบเทียบแผ่นสีมาตรฐาน

วิเคราะห์ โพแทสเซี่ยม K2O (Potassium Oxide)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

     เตรียมน้ำยา เบอร์9 โดยการดูดน้ำกรองจากขวด 3 ม.ล ใส่ลงในผง เบอร์9 เขย่าให้เข้ากัน 5 นาที จได้สารละลายสีน้ำตาลส้ม

    *เมื่อใช้เหลือ เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิช่องปกติ สามารถเก็บได้นาน 3 เดือน

    *หากเก็บในอุณหภูมิห้องปกติ สามารถเก็บได้นาน 7 วัน

    *ส่วนผงเคมีที่ยังไม่ผสมน้ำยา สามารถเก็บไว้ได้นาน

  • ดูดน้ำยาที่กรองได้จากขวดรองรับ 2.5 ม.ล
  • เติมน้ำยาเบอร์ 8 2.0 ม.ล (ห้ามเขย่า)
  • เติมน้ำยา 9A 1 หยด
  • เติมน้ำยาเบอร์ 9  2 หยด (ห้ามเกิน)
  • ปิดฝาหลอดแก้วด้วยจุกยาง เขย่าให้เข้ากัน แล้วอ่านค่า “ทันที”

*ถ้ามี “ตะกอน” อ่านค่าได้ว่ามีปริมาณ โพแทสเซี่ยมสูง

* ถ้า“ฝ้าขาว” อ่านค่าได้ว่ามีปริมาณ โพแทสเซี่ยมปานกลาง

* ถ้าไม่มีทั้ง“ตะกอน” และ “ฝ้าขาว” อ่านค่าได้ว่ามีปริมาณ โพแทสเซียมต่ำ (ทัศนีย์ และ ประทีป. 2558)[3]

การใส่ปุ๋ยตามเนื้อดินจากการประเมินอย่างง่าย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ตารางการใส่ปุ๋ยตามเนื้อดินจากการประเมินอย่างง่าย

การจัดการ ดินทราย/

ดินทรายปนดินร่วน

ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ดินเหนียว
สูตรปุ๋ย ·   15-7-18 ·   15-7-18 ·   15-7-18 ·   15-15-15
อัตรา (กก./ไร่) ·   50-100 ·   50-100 ·   50 ·   30-40
วิธีการใส่ ·   โรยข้างแถวแล้วใช้

รถไถกลบ

·   โรยข้างแถวแล้วใช้รถไถกลบ ·   โรยข้างแถวแล้วใช้รถไถกลบ ·   โรยข้างแถวแล้วใช้รถไถกลบ
จำนวนครั้งในการใส่ ·   2 ·   2 ·   1 ·   1
ช่วงเวลาการใส่ ·   1 และ 3 เดือนหลังปลูก ·   1 และ 3 เดือนหลังปลูก ·   1-2 เดือนหลังปลูก ·   1-2 เดือนหลังปลูก
อัตราการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (มูลไก่แกลบ: กิโลกรัม) ·   400-800 ·   400-800 ·   400 ·   400

หมายเหตุ สูตรและอัตราการใส่ปุ๋ยเคมี/อินทรีย์ควรใส่ตามค่าวิเคราะห์ดิน

ที่มา: ดัดแปลงจากคำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ (กรมวิชาการเกษตร, 2553)[4]

การใส่ปุ๋ยและปรับปรุงดินตามค่าวิเคราะห์ดิน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

พีเอช (pH)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ระดับปานกลาง (4.5-7.0) ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องมีการปรับปรุงเนื่องจากเป็นพิสัยที่

มันสำปะหลังเจริญเติบโตได้ดี

  • ระดับต่ำถึงต่ำมาก (3.5-4.5) ดินมีความเป็นกรดสูง ควรมีการยกระดับพีเอชโดยการใส่ปูน เช่น หินปูนบด โดโลไมต์ หรือวัสดุปรับปรุงดินที่มีฤทธิ์เป็นด่างอื่น ๆ รวมถึงมูลไก่ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีผลตกค้างเป็นกรด เช่น ปุ๋ยไนโตรเจนที่อยู่ในรูปแอมโมเนียมไนโตรเจน เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต และฟอสฟอรัสอาจใช้ในรูปของหินฟอสเฟต
  • ระดับสูงถึงสูงมาก (7.0-8.0) ดินมีความเป็นด่างสูง ควรใช้ปุ๋ยที่มีผลตกค้างเป็นกรด เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุปรับปรุงดินที่เป็นด่าง ควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยธาตุอาหารเสริมทางใบโดยเฉพาะสังกะสี หรือชุบท่อนพันธุ์ก่อนปลูกเพื่อลดปัญหาการขาดธาตุอาหารเสริมของมันสำปะหลัง (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)

ปริมาณอินทรียวัตถุ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ระดับต่ำมาก (<1.0%) ควรมีการจัดการเพิ่มเติมอินทรียวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกโดยเฉพาะมูลไก่แกลบในอัตรา 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ควรพิจารณาเรื่องการปรับลดปุ๋ยไนโตรเจนลงบ้างเพื่อลดอาการเฝือใบ การใส่กากแป้งจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังในระยะยาวอาจส่งผลต่อการลดลงของค่าพีเอชดิน ซึ่งต้องมีการทดลองว่ามีผลต่อมันสำปะหลังอย่างไร การใช้กากแป้งที่มี C:N Ratio กว้างในปริมาณมาก ต้องระวังการเกิด N-immobilization และอาจทำให้พืชขาด N ได้ โดยเฉพาะในระยะแรก ๆ ของการเติบโตของมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นช่วงที่จะมีผลต่อการให้ผลผลิตที่สำคัญมาก และการไถกลบเศษเหลือของพืชลงไปในดินอย่างสม่ำเสมอ หรือการไถกลบพืชปุ๋ยสดจะช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)[1]
การปลูกถั่วพร้าเป็นพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ

ค่าความเค็ม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

มันสำปะหลังส่วนใหญ่จะปลูกในที่ดอน ดังนั้น จึงไม่ค่อยพบปัญหา ยกเว้นในบางบริเวณที่ปลูกอยู่ระหว่างรอยต่อของที่นาที่เป็นดินเค็มกับที่ดอน ซึ่งแก้ไขได้โดยการเพิ่มเติมวัสดุอินทรีย์ เช่น แกลบสด หรือเศษเหลือของพืชแล้วไถกลบ ควรหลีกเลี่ยงการใช้มูลไก่สด หรือมูลไก่แกลบ เนื่องจากเป็นวัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์ที่มีค่าความเค็มค่อนข้างสูง (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)[1]

ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ระดับต่ำมากถึงค่อนข้างต่ำ (<10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ควรใช้ปุ๋ยหลักที่เป็นสูตรเสมอ เช่น ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 หรือในเรโช 1:1:1 ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่
  • ระดับปานกลางถึงระดับค่อนข้างสูง (10-25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ควรใช้ปุ๋ยหลักที่มีเรโชปุ๋ยประมาณ 2:1:2 หรือ 2:1:3 เช่นปุ๋ยสูตร 15-7-18 ฯลฯ
  • ระดับสูงถึงสูงมาก (>25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ใช้ปุ๋ยเคมีที่ไม่มีฟอสฟอรัสในรูปปุ๋ยเดี่ยวไนโตรเจน โพแทสเซียม หรือปุ๋ยผสม (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)[1]

โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ระดับต่ำมาก (<30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในกรณีของดินเนื้อหยาบ ประเภท ดินทรายจัด ควรใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น สูตร 15-15-15 ฯลฯ
  • ระดับต่ำ (30-60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ควรใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น สูตร 15-15-15 หรือใส่ปุ๋ยสูตรดังกล่าวผสมกับปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในสัดส่วน 1:1
  • ระดับปานกลาง (60-90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ควรใส่ปุ๋ยที่มีเรโชปุ๋ย ประมาณ 2:1:2 หรือ 2:1:3 เช่น ปุ๋ยสูตร 15-7-18 ฯลฯ
  • ระดับสูง (>90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) เนื่องจากมีโพแทสเซียมสูงอยู่แล้ว แนะนำให้ใส่ปุ๋ยสูตรที่มีเรโช ประมาณ 1:1:0 เช่นสูตร 16-20-0 หรือปุ๋ยที่มีเรโช 2:2:1 เช่นปุ๋ยสูตร 16-16-8 ฯลฯ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)[1]

ธาตุอาหารรอง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

(แคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ แมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ และกำมะถันที่เป็นประโยชน์)

   ทั้ง 3 ธาตุจะส่งผลต่อผลผลิตมันสำปะหลังเมื่อพบในดินที่ระดับต่ำถึงต่ำมาก อย่างไรตาม หากมีการปรับปรุงดินโดยใช้หินปูนบด หรือสารปูนไลม์อื่น ๆ ก็จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลเซียม ยิปซัมแก้ปัญหาการขาดแคลเซียม และกำมะถัน โดโลไมต์แก้ปัญหาการขาดแคลเซียม และแมกนีเซียม ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกหลาย ๆ ชนิด แก้ปัญหาการขาดแมกนีเซียม และกำมะถัน ทั้งนี้ไม่มีความจำเป็นต้องใส่ธาตุทั้ง 3 เพิ่มเติม โอกาสที่พืชจะขาดแคลเซียมและแมกนีเซียมได้จะเป็นกรณีของดินกรดจัด และดินทราย

ในกรณีที่ดินขาดธาตุอาหารรอง (Ca, Mg และ S) แนะนำให้ใช้ปุ๋ยธาตุอาหารรอง (Ca, Mg, S) เช่น ฟอสโฟยิปซัม (CaSO4.2H2O+P) ยิปซัม (CaSO4.2H2O) โดโลไมต์(CaCO3.MgCO3) ซัล-โป-แม๊กซ์ (MgSO4.K2SO4) โดยการใช้ฟอสโฟยิปซัม ยิปซัม และ โดโลไมต์ จะช่วยปรับปรุงสมบัติของดินที่มีปัญหาทางฟิสิกส์ไปด้วย เช่น ดินที่มีอัตราการแทรกซึมน้ำต่ำ ดินที่เกิดแผ่นแข็งปิดผิว กล่าวคือ มีคุณสมบัติเป็นทั้งปุ๋ยธาตุอาหารรอง และสารปรับปรุงดินไปพร้อม ๆ กัน ฯลฯ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)[1]

ธาตุอาหารเสริม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

โบรอนเป็นธาตุอาหารเสริมที่มันสำปะหลังต้องการในปริมาณน้อยมาก และไม่ค่อยพบรายงานว่ามีอาการขาดเกิดขึ้นในแปลงปลูกมันสำปะหลัง สำหรับธาตุทองแดง แมงกานีส และเหล็ก โดยทั่วไปไม่ค่อยพบอาการขาดในประเทศไทยโดยเฉพาะในดินที่มีพีเอชเป็นกรด ปัญหาที่พบมากที่สุดสำหรับมันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทยก็คือ การขาดธาตุสังกะสีโดยเฉพาะเมื่อปลูกในดินทรายจัด ดินด่าง หรือพื้นที่ดินที่ปลูกมันสำปะหลังต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนาน หรือมีการใช้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง การขาดสังกะสีมีผลทำให้มันสำปะหลังยืดต้นช้า พบแถบสีขาว หรือเหลืองบนใบอ่อน ใบอาจย่นหรือเปลี่ยนรูปร่าง อาจพบจุดแผลเซลล์ตายในใบล่าง และอาจรุนแรงทำให้ต้นตาย ส่งผลถึงความอยู่รอดและผลผลิตมันสำปะหลัง แก้ไขโดยการฉีดพ่นปุ๋ยซิงค์ซัลเฟตเฮปตะไฮเดรต หรือซิงค์ซัลเฟตโมโนไฮเดรตทางใบที่อัตรา 0.8 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบเมื่อมันสำปะหลังอายุ 1, 2 และ 3 เดือนหลังปลูก หรือชุบท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยธาตุสังกะสี (ซิงค์ซัลเฟตเฮปตะไฮเดรต หรือซิงค์ซัลเฟตโมโนไฮเดรต) ที่ละลายน้ำในอัตรา 0.4 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 15 นาที (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)[1]

สภาพของต้นมันสำปะหลังที่ขาดธาตุสังกะสี
สภาพแปลงมันสำปะหลังที่ขาดธาตุสังกะสี

การปรับปรุงดินโดยชีววิธี[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การปรับปรุงดินเป็นการรักษาคุณภาพดิน เพื่อให้คงสภาพความอุดมสมบูรณ์ เพื่อใช้สำหรับเพาะปลูกได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงอย่างถูกวิธี ซึ่งการปรับปรุงดินนั้นมีหลายวิธี ได้แก่ การปลูกพืชแซม การคลุมดิน การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชคลุมดิน การใช้ปุ๋ยพืชสด การปลูกพืชบนพื้นที่ระหว่างแถวไม้ยืนต้น และการใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก วิธีการเหล่านี้ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ปรับปรุงโครงสร้างดิน ซึ่งสามารถใช้ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้

  • การปลูกพืชแซม เป็นการปลูกพืชหลากหลายชนิดในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ธาตุอาหารที่อยู่ในดินที่เกิดการชะล้างน้อยลง การปลูกพืชแซมจะช่วยดึงธาตุอาหาออกจากดินได้สูงขึ้นกว่าการปลูกมันสำปะหลังเพียงอย่างเดียว ในการทดลองการปลูกพืชแซมในประเทศไทย (Reinhardt Howeler and Tin Maung Aye, 2015 หน้า 108) พบว่าการ หลังจากการปลูกถั่วเหลือง หรือถั่วลิสงแซมกับมันสำปะหลังมานาน 24 ปี อินทรีวัตถุในดินมีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 1.0 % เป็น 1.2 หรือ 1.3 % ในขณะที่ปลูกมันสำปะหลังเพียงอย่างเดียวปริมาณอินทรียวัตถุจะลดลงเล็กน้อยเป็น 0.9 % เมื่อมีการบริหารจัดการที่ดีจากการปลูกพืชแซม จะลดการเสียหายของหน้าดิน การไถกลบเศษซากพืชแซมจะช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน
  • การคลุมดิน คือการปล่อยให้เศษซากพืชทิ้งไว้ที่ผิวดิน จะช่วยลดการเจริญเติบโตของวัชพืช ควบคุมอุณหภูมิ และรักษาความชื้นในดิน ช่วยป้องกันการเกิดการชะล้างของดิน ซึ่งถ้าดินโปร่งจะช่วยให้ต้นพันธุ์มันสำปะหลังลงปลูกได้โดยตรง วิธีการนี้เป็นการปลูกพืชโดยไม่ไถพรวน หรือพรวนดินน้อย เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน
  • การปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ธัญพืช หรือหญ้าต่างๆ ช่วยลดการเจริญเติบโตของเชื้อรา (Phytophthora spp.) และโรคพุ่มแจ้ ช่วยเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร นอกจากนี้ยังป้องกันการกระจายของเชื้อโรคจากซากมันสำปะหลังในฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา
  • การปลูกพืชคลุมดิน
  • การใช้ปุ๋ยพืชสด
  • การปลูกพืชบนพื้นที่ระหว่างแถวไม้ยืนต้น
  • การใส่ปุ๋ยคอก
  • ปุ๋ยหมัก

อ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 1.9 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556) เทคโนโลยี 52 สัปดาห์ มันสำปะหลัง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์:กรุงเทพฯ.
  2. ฟาร์ฒเกษตร ชีวิตเกษตร ครบวงจร.  2554.  มันสำปะหลังและการปลูกมันสำปะหลัง. ที่มา: https://www.farmkaset.org/html5/contents.aspx?con_id=00434. วันที่สืบค้น 16 กรกฎาคม 2564.
  3. 3.0 3.1 ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และ ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์. 2552.  ธรรมชาติของดินและปุ๋ย. ครั้งที่ 7 หจก. กรครีเอชั่น. กรุงเทพฯ.
  4. กรมวิชาการเกษตร. 2553. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 122 หน้า.