การจัดการน้ำในแปลงปลูก

ความต้องการน้ำของมันสำปะหลังแก้ไข

มันสำปะหลังเป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้ง แบ่งระยะการเจริญเติบโตออกเป็น 5 ระยะ คือ ระยะแตกตาอายุ 5-15 วัน ระยะสร้างเนื้อเยื่อใบและรากอายุ 16-90 วัน ระยะการเจริญทางต้นและใบอายุ 91-180 วัน ระยะสะสมอาหารที่หัวอายุ 181-300 วัน และระยะพักตัว อายุ 301-365 วัน แต่มีระยะเวลาที่ควรได้รับน้ำอย่างเพียงพอ คือ 150 วันหลังปลูก ได้แก่ ระยะแตกตาถึงระยะการเจริญทางต้นและใบ [1] เพื่อให้ต้นมันสำปะหลังเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี ค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืช (Crop Coefficient; Kc) สำหรับมันสำปะหลังแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต เมื่อมันสำปะหลังมีอายุ 0-60 (ระยะแตกตาถึงระยะสร้างเนื้อเยื่อใบและราก), 61-150 (ระยะสร้างเนื้อเยื่อใบและรากถึงระยะสะสมอาหารที่หัว) และ 151-210 (ระยะสะสมอาหารที่หัว) วันหลังปลูก มีค่า Kc เท่ากับ 0.3, 0.8 และ 0.3 และมีความต้องการน้ำเท่ากับ 1.8, 5.0 และ 1.8 มิลลิเมตรต่อวันตามลำดับ หรือประมาณ 760 มิลลิเมตร หรือ 1,274 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตลอดระยะเวลาปลูก 365 วัน ทั้งนี้มันสำปะหลังควรได้รับน้ำไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตรต่อเดือน หรือ 500-600 มิลลิเมตรต่อปี เพื่อป้องกันไม่ให้หัวมันสำปะหลังหยุดการเจริญเติบโต

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดการน้ำสำหรับมันสำปะหลังแก้ไข

โดยทั่วไปในการพิจารณาการให้น้ำแก่พืชเพื่อให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี จะต้องคำนึงถึง 5 ปัจจัย ได้แก่

  1. สภาพแวดล้อมบริเวณที่ปลูก เช่น อุณหภูมิ เมื่ออุณภูมิสูงขึ้นจะเกิดการถ่ายเทความร้อนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ดินมีการระเหยน้ำจากดินขึ้นสู่บรรยากาศ สำหรับพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังควรมีอุณภูมิอากาศ 25-29 องศาเซลเซียส
  2. ชนิดของดินที่ต่างกันจะมีผลต่อความดูดซับน้ำของเนื้อดินได้ต่างกัน ทำให้รากพืชดูดน้ำไปใช้ได้ต่างกัน สำหรับมันสำปะหลังเหมาะสำหรับดินที่มีลักษณะเป็นดินร่วนถึงร่วนปนทราย มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศ
  3. ระยะการเจริญเติบโตของมันสำประหลังจะมีความต้องการน้ำมากในช่วง 5 เดือนแรกหลังปลูก หรือประมาณ 150 วันหลังปลูก โดยต้องการน้ำประมาณ 1,274 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ต่อปี
  4. แหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตมันสำปะหลัง ซึ่งโดยทั่วไป 80 เปอร์เซ็นต์เป็นการผลิตโดยอาศัยน้ำฝน ส่วน 60 เปอร์เซ็นต์ เป็นการผลิตโดยอาศัยน้ำฝนร่วมกับการจัดการน้ำระบบชลประทานรูปแบบต่าง ๆ เช่น ระบบน้ำหยด
  5. วิธีการสังเกตเมื่อมันสำปะหลังขาดน้ำ เมื่อมันสำปะหลังไม่สามารถดูดน้ำได้เพียงพอต่ออัตราการคายน้ำ จะทำให้พืชเริ่มแสดงอาการเหี่ยวเฉาอย่างถาวร

การจัดการน้ำสำหรับมันสำปะหลังแก้ไข

สำหรับการปลูกมันสำปะหลังทั่วโลกประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นการปลูกโดยอาศัยน้ำฝน และส่วน 60 เปอร์เซ็นต์ เป็นการปลูกโดยอาศัยน้ำฝนร่วมกับการจัดการน้ำชลประทาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการให้น้ำแบบน้ำหยด โดยเป็นการให้น้ำแก่มันสำปะหลังในช่วงที่ฝนไม่ตกเพื่อให้มันสำปะหลังได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ผลผลิตของมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นจากไม่ให้น้ำถึง 2 เท่า

  1. การปลูกในเขตน้ำฝน มันสำปะหลังสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีหากปริมาณน้ำฝนสม่ำเสมอ หรือมีความชื้นที่เพียงพอต่อการงอกในระยะแรก สำหรับประเทศไทยมีการปลูกมันสำปะหลังเกือบร้อยละ 50 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งหมด พบว่า ปลูกมันสำปะหลังในช่วงเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงสำหรับการปลูกมันสำปะหลังที่อาศัยน้ำฝน คือ ปริมาณน้ำที่จะได้รับจากฝนว่าเพียงพอหรือไม่ หรือหากได้รับน้ำฝนในปริมาณที่มากเกินไปมีการจัดการพื้นที่เพื่อระบายน้ำได้ดีไหม เพื่อลดอาการเน่าของผลผลิต แต่สำหรับประเทศไทยยังเจอปัญหาในช่วงแล้งที่ฝนไม่ตก คือ ส่งผลต่อการแตกตาและการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังกระทบไปยังผลผลิต อีกด้วย
  2. การปลูกในเขตชลประทาน การจัดการน้ำชลประทานเพื่อการปลูกมันสำปะหลังสามารถจัดการได้หลายรูปแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ สมบัติของดิน ลักษณะพื้นที่ หรือการเตรียมดินเพื่อปลูก ตลอดจนแหล่งน้ำมีปริมาณมากน้อยเพียงใดที่จะนำมาให้แก่พืช[2] ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบหลัก ๆ คือ การให้น้ำแบบเหนือผิวดิน การให้น้ำทางผิวดิน และการให้น้ำใต้ผิวดิน

รูปแบบการให้น้ำสำหรับมันสำปะหลังแก้ไข

การให้น้ำแบบเหนือผิวดินแก้ไข

เป็นการให้น้ำในแปลงปลูกพืชที่มีพื้นที่มีความลาดเทมากและไม่สามารถปรับพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น การให้น้ำระบบฝนโปรย (sprinkler) หรือรูปแบบน้ำหยด เป็นต้น

  1. การให้น้ำระบบฝนโปรย (sprinkler) เป็นการใช้ปั้มน้ำส่งน้ำผ่านท่อไปยังหัวสปริงเกอร์เพื่อฉีดพ่นขึ้นสู่อากาศ เหมาะสำหรับพื้นที่ที่พื้นที่มีความลาดเทมากและไม่สามารถปรับพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอได้ วิธีนี้จะทำให้น้ำกระจายสม่ำเสมอและเป็นไปอย่างช้า ๆ และใช้ได้กับทุกอัตราการซึมน้ำจากผิวดิน มีประสิทธิภาพการใช้น้ำ 70-85 เปอร์เซ็นต์ ช่วยลดการไหลบ่าของน้ำที่ชะล้างหน้าดิน แต่การให้น้ำวิธีนี้ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีลมแรงมาก เพราะลมจะพัดพาละอองน้ำบางส่วนออกไปจากพื้นที่ที่จะให้น้ำ
  2. การให้น้ำรูปบน้ำหยด (Drip หรือ Trickle) เป็นการใช้ปั้มน้ำส่งน้ำผ่านท่อไปยังหัวน้ำหยดซึ่งน้ำจะหยดลงดิน ทำให้ดินบางส่วนภายใต้รัศมีทรงพุ่มของพืชได้รับน้ำ ซึ่งเหมาะสำหรับให้น้ำในแปลงมันสำปะหลังที่ปลูกในฤดูแล้งปลายฝน[2] เป็นวิธีที่ประหยัดแรงงานในการให้น้ำ สามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีพร้อม ๆ กับการให้น้ำได้ ลดปัญหาของโรคที่เกี่ยวเนื่องกับความเปียกชื้นและปัญหาวัชพืชในแปลง รวมทั้งมีประสิทธิภาพการใช้น้ำ 95-100 เปอร์เซ็นต์[3] นอกจากนี้ ข้อดีของการให้น้ำแบบหยด คือ ให้น้ำปริมาณน้อย ให้ได้บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นการช่วยประหยัดน้ำและช่วยรักษาความชื้นในดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
ภาพ แสดงการให้น้ำแบบน้ำหยดในมันสำปะหลัง

การให้น้ำทางผิวดิน (surface)แก้ไข

เป็นรูปแบบการให้น้ำที่ขังไว้ หรือปล่อยไหลไปตามผิวดิน และซึมลงไปในดินตรงจุดที่น้ำนั้นขัง หรือตรงบริเวณที่น้ำไหลผ่าน การให้น้ำรูปแบบนี้มีประสิทธิภาพ 60-80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการให้น้ำผิวดินแบ่งได้ 2 ลักษณะด้วยกันคือ

  1. การให้น้ำท่วมผิวดินเป็นผืนใหญ่ (Flooding) เหมาะสำหรับพืชปลูกชิดกันโดยไม่ต้องการการไถพรวนหรือพืชที่ปลูกโดยการหว่านเมล็ด เช่น ข้าว ส่วนมันสำปะหลังไม่เหมาะกับการให้น้ำรูปแบบนี้เนื่องจากช่วงแรกของการปลูกกระแสของน้ำอาจพัดพาท่อนพันธุ์ออกจากบริเวณที่ปลูกได้ สามารถทำได้ในดินเกือบทุกชนิดที่ไม่สูงหรือไม่ต่ำเกินไป มีความลาดเทของพื้นที่ไม่เกิน 0.5% ในพืชทั่วไปและพื้นที่ลาดเทไม่เกิน 4% ในพืชลำต้นเตี้ยใกล้ดิน แต่ไม่ควรใช้วิธีนี้สำหรับพืชต้นเล็ก ซึ่งระยะสะสมอาหารที่หัวอายุ อาจจะได้รับความเสียหายระยะสะสมอาหารที่หัวอายุ ในขณะให้น้ำ และไม่เหมาะสมกับดินทรายเพราะว่าจะทำให้สูญเสียน้ำเนื่องจากการซึมในเขตรากพืชมาก นอกจากนี้ดินบางชนิดอาจแตกระแหงหลังจากการท่วมน้ำบนผิวดินแล้ว[4]
  2. การให้น้ำตามร่อง (Contour Furrow) เหมาะสำหรับการปลูกพืชที่มีระยะห่าง มีการไถยกร่องและปลูกส่วนขยายพันธุ์ของพืชบนสันร่องเป็นแถว เช่น มันสำปะหลัง พื้นที่ปลูกควรมีความลาดเท 1 - 8% จะช่วยให้พืชได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอ ข้อควรระวังคือ ร่องปลูกจะต้องไม่ยาวมากและมีการป้องกันร่องระบายน้ำอย่างดีเพื่อให้ระบายน้ำที่เหลือออกได้โดยไม่เกิดการกัดเซาะที่รุนแรง นอกจากนี้การใช้เครื่องจักรกลและอุปกรณ์การเกษตรในพื้นที่ปลูกอาจทำได้ลำบาก[4]

การให้น้ำใต้ดิน (Subirrigation)แก้ไข

เป็นการให้น้ำโดยการยกระดับน้ำใต้ดินให้ขึ้นมาอยู่ในระดับที่น้ำจะไหลซึมขึ้นมาสู่เขตรากพืชได้ จะทำให้น้ำบริเวณเขตรากพืชเกิดการเคลื่อนที่โดยแรงดึงดูดของช่องว่างภายในอนุภาคดิน จากที่ที่มีความชื้นไปยังบริเวณที่แห้ง[4] สามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ การให้น้ำในคูและการฝั่งท่อน้ำไว้ใต้ดิน โดยความลึกของระดับน้ำใต้ดินขณะให้น้ำจะอยู่ระหว่าง 30-60 ซม. การให้น้ำรูปแบบนี้มีประสิทธิภาพ 30-50 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสมที่จะใช้กับดินที่มีเนื้อดินชนิดเดียวกัน แต่จำกัดใช้ได้กับพืชเพียงบางชนิดที่มีรากลึก หากพืชยืนต้นไม่เหมาะที่จะให้น้ำรูปแบบนี้ [5]

อ้างอิงแก้ไข

  1. Alves, A., Panis, Y., Trancart, D., Regimbeau, J. M., Pocard, M., & Valleur, P. (2002). Factors associated with clinically significant anastomotic leakage after large bowel resection: multivariate analysis of 707 patients. World journal of surgery, 26(4), 499-502.
  2. 2.0 2.1 ธรรมนูญ แก้วคงคา. (2549). การให้น้ำชลประทานกับพืช: เอกสารวิชาการ.  [ม.ป.ท.]: กรมวิชาการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา
  3. มนตรี ค้ำชู. (2538). ระบบให้น้ำในการเกษตรแบบทันสมัย. เมืองเกษตร, 7(82), 75-77.
  4. 4.0 4.1 4.2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556) เทคโนโลยี 52 สัปดาห์ มันสำปะหลัง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์:กรุงเทพฯ.
  5. วิบูลย์ บุญยธโรกุล. (2526). หลักการชลประทาน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน.