ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การใส่ปุ๋ยและปรับปรุงดิน"

ไม่มีคำอธิบายอย่างย่อ
(สร้างหน้าด้วย "พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีความอ...")
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื่องจากอินทรียวัตถุ และธาตุอาหรภายในดินต่ำ จึงส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังต่ำตามไปด้วย จึงจำเป็นต้องมีปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์พร้อมสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง และใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารช่วยในกรเจริญเติบโตแก่มันสำปะหลัง องค์การอาหารและเกษตรแห่งประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) ได้มีกรทดลองเรื่องปุ๋ยเคมีสำหรับมันสำปะหลังเมื่อปี พ.ศ.2523 – 2533 พบว่ามันสำปหลังตอบสนองกับปุ๋ยไนโตรเจน (N) เป็นส่วนใหญ่ ตามด้วยโพแทสเซียม (K) และฟอสฟอรัส (F) (Reinhardt Howeler and Tin Maung Aye, 2015)
พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื่องจากอินทรียวัตถุ และธาตุอาหรภายในดินต่ำ จึงส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังต่ำตามไปด้วย จึงจำเป็นต้องมีปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์พร้อมสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง และใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารช่วยในกรเจริญเติบโตแก่มันสำปะหลัง องค์การอาหารและเกษตรแห่งประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) ได้มีกรทดลองเรื่องปุ๋ยเคมีสำหรับมันสำปะหลังเมื่อปี พ.ศ.2523 – 2533 พบว่ามันสำปหลังตอบสนองกับปุ๋ยไนโตรเจน (N) เป็นส่วนใหญ่ ตามด้วยโพแทสเซียม (K) และฟอสฟอรัส (F) (Reinhardt Howeler and Tin Maung Aye, 2015)


# [[หลักการพิจารณาการใส่ปุ๋ยมันสำปะหลัง]]
== '''หลักการพิจารณาการใส่ปุ๋ยมันสำปะหลัง''' ==
# [[การวิเคราะห์เนื้อดินอย่างง่าย]]
 
# [[การใส่ปุ๋ยตามเนื้อดินจากการประเมินอย่างง่าย]]
=== '''1. ชนิดปุ๋ย''' ===
# [[การใส่ปุ๋ยและปรับปรุงดินตามค่าวิเคราะห์ดิน]]
โดยทั่วไปมันสำปะหลังต้องการธาตุปุ๋ยทั้ง 3 ชนิด ซึ่งได้แก่
 
==== '''ไนโตรเจน (N)''' ====
 
* ในสภาพดินเกือบทุกชนิด การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนปริมาณ 12.8 – 19.2 กก./ไร่ ช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่มันสำปะหลังได้ สามารถใส่ปุ๋ยครั้งเดียวตอนปลูก หรือ 30 วันหลังจากการปลูก
* ในสภาพดินที่เป็นดินทราย ระบายน้ำได้ดี ควรมีการแบ่งการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเป็น 2 ครั้ง คือ ใส่ครั้งแรกครึ่งหนึ่งพร้อมการปลูก ครั้งที่ 2 เมื่อมันสำปะหลังมีอายุครบ 1 – 2 เดือน หรือ แบ่งใส่ 3 ครั้ง โดยครั้งแรกใช้ 1/3 ของจำนวนปุ๋ยไนโตรเจนทั้งหมดที่ใช้สำหรับการปลูก ครั้งที่ 2 ใช้ 1/3 เมื่อมันสำปะหลังอายุครบ 30 วัน และครั้งที่ 3 ใช้อีก 1/3 เมื่ออายุครบ 60 วัน
 
===== '''ข้อควรระวัง''' =====
 
* ปุ๋ยไนโตรเจนละลายได้ดีในสารละลายในดิน ควรใช้จอบขุดร่องข้างๆ สำหรับใส่ปุ๋ยจากนั้นใช้ดินกลบ ไม่ควรปล่อยให้ปุ๋ยไนโตรเจนทิ้งค้างอยู่บนผิวดิน เนื่องจากปุ๋ยส่วนหนึ่งจะระเหย หรือถูกน้ำชะล้างไป
 
==== ฟอสฟอรัส (P) ====
มันสำปะหลังสามารถเติบโตได้ดีในสภาพดินที่มีปริมาณฟอสฟอรัสต่ำ ซึ่งการขาดฟอสฟอรัสไม่ใช่ปัญหาหลักของการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง ซึ่งการตอบสนองต่อปุ๋ยฟอสฟอรัสไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน ยังขึ้นอยู่กับปริมาณไมโคไรซาในดิน และพันธุ์มันสำปะหลังด้วย
 
===== การใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัส (P) =====
 
* มันสำปะหลังสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีฟอสฟอรัสต่ำ
* ในดินที่ขาดปริมาณฟอสฟอรัสอย่างรุนแรง มีปริมาณฟอสฟอรัสที่พืชสามารถนำไปใช้ได้น้อยกว่า 4 พีพีเอ็ม (ppm) ซึ่งมันสำปะหลังจะตอบสนองต่อปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ใส่ประมาณ 16-32 กก. P<sub>2</sub>O<sub>2</sub>/ไร่ ในช่วงแรก แต่หลังจาก 1 – 2 ปีแรกควรลดอัตราลงเป็น 6.4 – 8 กก. P<sub>2</sub>O<sub>2</sub>/ไร่ เนื่องจากจะมีปริมาณฟอสฟอรัสค้างอยู่ในดิน
* ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ดีจะละลายน้ำได้ดี เช่น ซิงเกิ้ล - หรือ ทริปเปิ้ล – ซุปเปอร์ฟอสเฟต และโมโน – หรือ ได – แอมโมเนียมฟอสเฟต (ซึ่งมี N ประกอบด้วย) ควรใส่โรยเป็นแถบใกล้ๆ ท่อนพันธุ์ หรือต้นมันสำปะหลัง จากนั้นพรวนดินกลบ
* ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ละลายได้น้อยเรียกว่า เบสิคสะแลค วิธีใช้จะต้องหว่านบนแปลงให้ถั่ว จากนั้นไถคลุกเคล้าลงไปในดินก่อนปลูกมันสำปะหลัง แหล่งปุ๋ยชนิดนี้จะมีแคลเซียม (Ca) ปริมาณมาก จะช่วยลดความเป็นกรดของดินลง (เพิ่มค่า pH)
* ควรใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสทั้งหมดครั้งเดียวในขณะที่ปลูก หรือหลังจากปลูกมันสำปะหลังแล้ว 30 วัน เนื่องจากการแบ่งใส่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
 
==== โพแทสเซียม (K) ====
การใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิต และปริมาณการสะสมของแป้งในหัวมันสำปะหลัง โดยทั่วไปปริมาณแป้งจะสะสมเพิ่มขึ้นเมื่อใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมจนถึงระดับ 12.8 กก. K<sub>2</sub>O/ไร่ จากนั้นปริมาณแป้งจะลดลงเมื่อใช้อัตราสูงขึ้นไปกว่านี้
 
การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมจะลดปริมาณไซยาไนด์หัวมันสำปะหลัง อีกทั้งช่วยเพิ่มต้านทานโรค และแมลง ปริมาณโพแทสเซียมที่เพียงพอ ยังช่วยในการเจริญเติบโตของลำต้น และคุณภาพของท่อนพันธุ์ด้วย อาการขาดแคลนปุ๋ยโพแทสเซียมมักจะเกิดในดินที่มีเนื้อโปร่งบาง เช่นดินร่วนทราย ดินทราย
 
===== การใช้ปุ๋ยโพแทสเซียม (K) =====
 
* ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใส่โพแทสเซียมที่เหมาะสมที่สุดคือใส่ในขั้นตอนการปลูก หรือหลังจากนั้น 30 วัน โดยโรยเป็นแถบข้างท่อนพันธุ์ หรือต้นมันสำปะหลัง จากนั้นพรวนดินกลบ
* การป้องกันไม่ให้ปุ๋ยโพแทสเซียมหมดไป แนะนำให้ใส่ในปริมาณ 12.8 – 19.2 กก. K<sub>2</sub>O/ไร่ เพื่อชดเชยปุ๋ยโพแทสเซียมที่มันสำปะหลังนำไปผลิตเป็นหัว
 
ธาตุอาหารที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นธาตุอาหารหลักที่สำคัญของมันสำปะหลัง สัดส่วนของธาตุปุ๋ยหลักจะขึ้นอยู่กับสมบัติดินและผลวิเคราะห์ดิน ชนิดปุ๋ยที่แนะนำประกอบด้วย
 
* ปุ๋ยสูตร 15-7-18 หรือ 16-8-16 (เรโช 2:1:2 หรือ 2:1:3 หรือ 3:1:2) ขึ้นอยู่กับราคาต่อหน่วยของเนื้อปุ๋ย ใช้กับดินทั่วไปที่มีปริมาณธาตุปุ๋ยต่ำ หรือดินที่มีการปลูกมันสำปะหลังอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนาน เหมาะสำหรับดินทราย ดินร่วนทราย ดินร่วนเหนียว ฯลฯ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 แนะนำให้ใช้ในดินเหนียวปนกรวด เพราะมีสมบัติตรึงธาตุฟอสฟอรัส (P-fixation) สูง ทำให้ดึงธาตุฟอสฟอรัสไว้กับดิน พืชดึงไปใช้ได้ยาก จึงต้องใส่ธาตุฟอสฟอรัสมาก (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)
 
=== '''2. อัตราปุ๋ย''' ===
อัตราปุ๋ยที่แนะนำโดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับสมบัติดิน และพันธุ์มันสำปะหลัง พันธุ์ที่ตอบสนองต่อปุ๋ยในอัตราสูงได้ดี ได้แก่ พันธุ์ห้วยบง 80  ระยอง 5  ระยอง 7 ระยอง 9 และระยอง 11 อัตราที่แนะนำส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 30-100 กิโลกรัมต่อไร่ หากเป็นการใส่ในอัตราสูงเช่น 100 กิโลกรัมต่อไร่ ควรมีการแบ่งใส่เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียปุ๋ยโดยการชะละลายออกจากเขตรากมันสำปะหลังเมื่อมีฝนตกหนัก โดยปกติหากมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วย ในอัตรา 1-2 ตันต่อไร่ ควรลดปริมาณปุ๋ยเคมีลงมาครึ่งหนึ่งของอัตราที่ใส่ปุ๋ยเคมีชนิดเดียว รายละเอียดอัตราปุ๋ยตามลักษณะดิน มีดังนี้
 
* ดินเหนียว ใส่ในอัตรา 30-40 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ครั้งเดียว
* ดินร่วนเหนียว ใส่ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ครั้งเดียว
* ดินทราย ดินร่วน ดินร่วนปนทราย และดินทรายปนดินร่วน ใส่ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)
 
=== '''3. รูปแบบของปุ๋ยและวิธีการที่ใช้''' ===
การใส่ปุ๋ยมันสำปะหลังมีระยะเวลาการใส่ดังนี้
 
* กลุ่มดินเนื้อปานกลางและเนื้อละเอียด ควรใส่ครั้งเดียว เมื่อมันสำปะหลังอายุประมาณ 1-2 เดือนหลังปลูก ให้พิจารณาจากขนาดของทรงพุ่ม โดยควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มประมาณ 25-30 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความชื้น และการเตรียมดินว่ามีผลทำให้การเจริญเติบโตรวดเร็วเพียงใด
* กลุ่มดินเนื้อหยาบ ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อมันสำปะหลังอายุได้ 1-2 เดือน และครั้งที่สองควรทิ้งระยะห่างจากครั้งแรกอย่างน้อย 2 เดือน แต่ไม่ควรใส่ปุ๋ยหลังจากมันสำปะหลังอายุเกิน 4 เดือน เนื่องจากรากมันสำปะหลังจะเปลี่ยนจากรากหาอาหารไปเป็นรากสะสมอาหารทำให้ประสิทธิภาพการดูดใช้ปุ๋ยลดน้อยลง
 
         ข้อควรระวังในการใส่ปุ๋ยคือ จะต้องมีการกำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ยเสมอเพื่อไม่ให้วัชพืชแก่งแย่งปุ๋ยที่ใส่ลงไปจากมันสำปะหลัง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดการระบาดของวัชพืช (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)
 
=== '''4. วิธีการใส่ปุ๋ย''' ===
วิธีการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม ควรใส่ปุ๋ยตรงสันร่อง 2 ข้างลำต้นบริเวณขอบทรงพุ่ม (ขึ้นอยู่กับอายุพืชและขนาดของทรงพุ่ม) โดยการใช้จอบขุดเป็นหลุมขนาดเล็กลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตร แล้วใช้ดินกลบ หากไม่กลบอาจทำให้เกิดการสูญเสียปุ๋ยมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์การใส่ปุ๋ยเคมีต้องดำเนินการในขณะที่ดินมีความชื้น และต้องกลบปุ๋ยด้วย การใส่ปุ๋ยรองพื้นมันสำปะหลังไม่ควรทำเพราะรากมันสำปะหลังยังมีปริมาณไม่มากพอที่จะดูดใช้ได้ทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีฝนตกค่อนข้างมากหลังจากการเสียบท่อนพันธุ์ ส่วนการใส่ปุ๋ยด้านข้างร่องอาจจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน โดยการโรยและไถกลบ แต่ไม่เหมาะสมกับมันสำปะหลังพันธุ์แนะนำที่มีระยะปลูกระหว่างต้นประมาณ 80-100 เซนติเมตร เพราะปลายรากพืชไม่สามารถดูดใช้ปุ๋ยได้ทั่วถึง และหากฝนตกแล้วมีการไหลของน้ำในร่องมันสำปะหลังก็จะทำให้เกิดการสูญเสีย สำหรับการหว่านปุ๋ยไม่แนะนำโดยสิ้นเชิงสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)
 
==== 4.1 วิธีการใช้ปุ๋ยแต่ละชนิดให้กับพืช ====
มีด้วยกัน 2 ช่องทาง
 
* การใส่ปุ๋ยทางดิน มีปุ๋ยที่ใส่ทางดินเป็นแบบเม็ดใช้หว่างเป็นธาตุอาหารหลักของพืชและธาตุอาหารรองของพืช หรือแบบน้ำใช้ผสมรดให้แก่พืช เช่นปุ๋ยเคมีกระสอบ ปุ๋ยอินทรีย์กระสอบ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ
* การใส่ปุ๋ยน้ำทางใบ พืชสามารถดูดซับธาตุอาหารได้ทางราก เซลล์เนื้อเยื่อของลำต้น และทางใบ การใส่ปุ๋ยกับพืชทางใบเป็นการให้ธาตุอาหารแก่พืชที่เป็นอาหารแบบเร่งด่วนหรือลัดวงจร ดังนั้นปุ๋ยที่สามารถให้ทางใบหรือเซลล์เนื้อเยื่อได้จะต้องสามารถทำให้พืชดูดซับได้โดยง่าย เป็นระบบอะตอมขนาดเล็ก หรืออะตอมมิคนาโน ประโยชน์ของการให้ปุ๋ยทางใบช่วยลดการเสื่อมของดินได้อีกทางหนึ่ง ปุ๋ยน้ำทางใบมีทั้งแบบปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีสกัดเข้มข้น เป็นขบวนการผลิตปุ๋ยทางใบที่เป็นอะตอมมิคนาโน (แยกโมเลกุลของธาตุให้เป็นอะตอมเฉพาะธาตุ) เช่น น้ำ แยกโมเลกุลน้ำได้เป็น ไฮโรเยน และอ๊อกไซน์
 
==== 4.2 เทคโนโลยีการให้ปุ๋ยในมันสำปะหลัง ====
 
* ถังหยอดปุ๋ยชนิดมอเตอร์ไฟฟ้า ใช้พ่วงกับแบตเตอรี่รถไถ มีสวิทปิดเปิด ใช้วางบนหางไถ มีเกลียวหมุน หยอดปุ๋ยลงร่องที่ปลูกมันสำปะหลังจากนั้นใบไถจะตามกลบปุ๋ย ทำให้ปุ๋ยอยู่ในร่องที่เป๋นแนวปลูกและอยู่ใต้ผิวดิน เป็นการประหยัดปุ๋ย และทำให้ปุ๋ยไม่ระเหิดจากการโดนแดดเผาจึงทำให้มันสำปะหลังได้รับปุ๋ยมากยิ่งขึ้น เกิดการสูญเสียน้อย เพราะปุ๋ยอยู่ใต้ผิวดิน
* ถังหยอดปุ๋ยแบบอนาล็อค คือไม้ใช้ไฟฟ้า จะมีโซ่โยงมถึงลูกกลิ้งเวลารถไถวิ่งลูกกลิ้งจะหมุนลากโซ่ ส่งกำลังไปหมุนเกลียวเฟืองที่อยู่ใต้ถังปุ๋ย ปุ๋ยเม็ดจะหยอดลงมาตามร่องที่รถไถวิ่ง สามารถปรับปริมาณได้มากน้อย ที่ตัวปรับใต้ถัง หลังจากปุ๋ยลงดินจะโดนใบไถกลบปุ๋ยตามหลังเหมือนกัน ทำให้ปุ๋ยอยู่ใต้ดิน
* ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำทางใบโดยใช้แรงงานคนเดินพ่นตามร่องมันสำปะหลัง ช่วยให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตได้เร็วคลุมหญ้าได้ไว มีใบกว้างสามารถสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น และวิธีการพ่นปุ๋ยโดยใช้โดรนฉีดพ่นตามพื้นที่ต่างๆในแปลงมันสำปะหลัง (ฟาร์มเกษตร ชีวิตเกษตร ครบวงจร, 2554)
 
=== 5. วิธีการเลือกซื้อปุ๋ย ===
การเลือกซื้อปุ๋ยให้ได้คุณภาพมีวิธีการเลือกซื้อดังนี้
134

การแก้ไข