อาการขาดธาตุอาหาร

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:51, 6 กรกฎาคม 2564 โดย กนกพร ฉัตรไชยศิริ(คุย | ส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย "พืชที่แสดงความผิดปกติต่างมีสาเหตุหลัก 2 สาเหตุคือการแ...")
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

พืชที่แสดงความผิดปกติต่างมีสาเหตุหลัก 2 สาเหตุคือการแสดงอาการโรคพืชที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเข้าทำลาย และการแสดงอาการของโรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งโรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิตจะมีสาเหตุดังเช่น การขาดปุ๋ย ขาดธาตุอาหารรอง สภาพดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่างมากเกินไป หรือดินเปรี้ยว สภาพอากาศที่ร้อนจัด หรือเย็นจัด ตลอดจนความร้อนหรือแสงมากหรือน้อยเกินไป รวมไปถึงการขาดออกซิเจน เกิดมลภาวะหรืออากาศเป็นพิษ ทั้งหมดล้วนส่งผลให้พืชเจริญเติบโตผิดปกติมีขนาดเล็กและโตช้า

การขาดธาตุอาหารในพืช ตามปกติขาดธาตุอาหารรอง (Secondary macronutrients) และธาตุอาหารเสริม (Micronutrients) ต่างๆ โดยส่วนใหญ่ไม่ใช่ธาตุอาหารหลัก (Primary macronutrients) ได้แก่ธาตุ N P K ซึ่งมีอยู่ในดินเพียงพอต่อความต้องการของพืชอยู่แล้ว แต่อยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยพืชที่ปลูกในดินที่เป็นด่างจัด มักมีปัญหาเรื่องการขาดธาตุแมงกานีส ในขณะที่ปลูกในดินที่มีความเป็นกรดจัด จะมีเกลือของแมงกานีสและอลูมิเนียมอยู่ในรูปที่พืชเอาไปใช้ประโยชน์ได้ แต่มากจนเกินไปซึ่งอาจทำให้เป็นพิษต่อพืชได้ (พิสุทธิ์. 2563)