การเลือกพันธุ์ปลูก
การเลือกพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ที่สำคัญ ได้แก่ การเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับลักษณะดิน พื้นที่ปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ฤดูปลูก อายุเก็บเกี่ยว และระยะปลูก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีส่วนช่วยในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง และลดต้นทุนการผลิต ดังนี้
พันธุ์กับชนิดของเนื้อดิน
ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ที่ปลูกกันโดยทั่วไปมักเป็นดินที่มีปฏิกิริยาเป็นกรด เนื้อหยาบ และมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เป็นดินทรายและดินร่วนปนทราย ที่มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่ำถึงต่ำมาก จึงมีการเลือกพันธุ์มันสำปะหลังให้เหมาะสมกับชนิดของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่ออัตราการรอดหลังปลูกและผลผลิตที่สูงขึ้น ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 พันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับชนิดของเนื้อดินแต่ละชนิด
ชนิดของเนื้อดิน | ลักษณะของเนื้อดิน | พันธุ์ที่เหมาะสม |
ดินทราย |
|
|
ดินร่วนปนทราย |
|
|
ดินร่วนปนเหนียว |
|
|
ดินด่างหรือดินที่มีปูนปะปน |
|
|
พันธุ์กับโซนพื้นที่ปลูก
การเลือกพันธุ์มันสำปะหลังให้เหมาะกับพื้นที่ปลูกเป็นการลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงและดูแลรักษาเพื่อปรับสภาพพื้นที่ปลูกให้เหมาะกับชนิดของพันธุ์นั้นๆ โดยการวางแผนผลิตมันสำปะหลังตามการแบ่งเขตการผลิตนิเวศน์เกษตรของกรมพัฒนาที่ดินได้แบ่งเขตการผลิตเป็น 7 เขต ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 สายพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับโซนพื้นที่ต่างๆ
โซน | ภูมิภาค | จังหวัด | สายพันธุ์ที่เหมาะสม |
โซน1 | ภาคตะวันออก | ปราจีนบุรี, ฉะเชิงเทรา, สระแก้ว, จันทบุรี, ระยอง และตราด |
|
โซน2 | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนล่างเขตอับฝน |
บุรีรัมย์, ชัยภูมิ และนครราชสีมา |
|
โซน3 | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนล่างและชายแม่น้ำโขง |
นครพนม, มุกดาหาร, ยโสธร, อำนาจเจริญ, อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ และสุรินทร์ |
|
โซน4 | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนกลาง |
มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, กาฬสินธุ์ และขอนแก่น |
|
โซน5 | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนบน |
เลย, หนองบัวลำภู, อุดรธานี, หนองคาย และสกลนคร |
|
โซน6 | ภาคเหนือ | เชียงราย, อุดรดิตถ์, พิษณุโลก, นครสวรรค์, อุทัยธานี, กำแพงเพชร, เพชรบูรณ์, ตาก, สุโขทัย, แพร่, น่าน, ลำปาง, พะเยา และพิจิตร |
|
โซน7 | ภาคกลาง | สระบุรี, ลพบุรี, ชัยนาท, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, ราชบุรี และเพชรบุรี |
|