ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การจัดการน้ำในแปลงปลูก"
(สร้างหน้าด้วย "=== '''ความต้องการน้ำของมันสำปะหลัง''' === มันสำปะหลังเป็นพืช...") |
|||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
=== '''ความต้องการน้ำของมันสำปะหลัง''' === | === '''ความต้องการน้ำของมันสำปะหลัง''' === | ||
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้ง | มันสำปะหลังเป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้ง แบ่งระยะการเจริญเติบโตออกเป็น 5 ระยะ คือ | ||
# ระยะแตกตาอายุ 5-15 วัน | |||
# ระยะสร้างเนื้อเยื่อใบและรากอายุ 16-90 วัน | |||
# ระยะการเจริญทางต้นและใบอายุ 91-180 วัน | |||
# ระยะสะสมอาหารที่หัวอายุ 181-300 วัน | |||
# ะยะพักตัว อายุ 301-365 วัน | |||
แต่มีระยะเวลาที่ควรได้รับน้ำอย่างเพียงพอ 150 วันหลังปลูก ได้แก่ ระยะแตกตาถึงระยะการเจริญทางต้นและใบ (Alves, 2002) เพื่อให้ต้นมันสำปะหลังเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี ค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืช (Crop Coefficient; Kc) สำหรับมันสำปะหลังแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต เมื่อมันสำปะหลังมีอายุ 0-60 (ระยะแตกตาถึงระยะสร้างเนื้อเยื่อใบและราก), 61-150 (ระยะสร้างเนื้อเยื่อใบและรากถึงระยะสะสมอาหารที่หัว) และ 151-210 (ระยะสะสมอาหารที่หัว) วันหลังปลูก มีค่า Kc เท่ากับ 0.3, 0.8 และ 0.3 และมีความต้องการน้ำเท่ากับ 1.8, 5.0 และ 1.8 มิลลิเมตรต่อวันตามลำดับ หรือประมาณ 760 มิลลิเมตร หรือ 1,274 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตลอดระยะเวลาปลูก 365 วัน ทั้งนี้มันสำปะหลังควรได้รับน้ำไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตรต่อเดือน หรือ 500-600 มิลลิเมตรต่อปี เพื่อป้องกันไม่ให้หัวมันสำปะหลังหยุดการเจริญเติบโต | |||
=== สิ่งที่ต้อง'''คำนึงถึงในการจัดการน้ำสำหรับมันสำปะหลัง''' === | === สิ่งที่ต้อง'''คำนึงถึงในการจัดการน้ำสำหรับมันสำปะหลัง''' === | ||
บรรทัดที่ 19: | บรรทัดที่ 27: | ||
=== รูปแบบการให้น้ำ === | === รูปแบบการให้น้ำ === | ||
# '''การให้น้ำแบบเหนือผิวดิน''' | # '''การให้น้ำแบบเหนือผิวดิน''' | ||
# '''การให้น้ำทางผิวดิน (surface)''' | # '''การให้น้ำทางผิวดิน (surface)''' | ||
# '''การให้น้ำใต้ดิน (Subirrigation)''' | # '''การให้น้ำใต้ดิน (Subirrigation)''' |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:42, 2 กรกฎาคม 2564
ความต้องการน้ำของมันสำปะหลัง
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้ง แบ่งระยะการเจริญเติบโตออกเป็น 5 ระยะ คือ
- ระยะแตกตาอายุ 5-15 วัน
- ระยะสร้างเนื้อเยื่อใบและรากอายุ 16-90 วัน
- ระยะการเจริญทางต้นและใบอายุ 91-180 วัน
- ระยะสะสมอาหารที่หัวอายุ 181-300 วัน
- ะยะพักตัว อายุ 301-365 วัน
แต่มีระยะเวลาที่ควรได้รับน้ำอย่างเพียงพอ 150 วันหลังปลูก ได้แก่ ระยะแตกตาถึงระยะการเจริญทางต้นและใบ (Alves, 2002) เพื่อให้ต้นมันสำปะหลังเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี ค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืช (Crop Coefficient; Kc) สำหรับมันสำปะหลังแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต เมื่อมันสำปะหลังมีอายุ 0-60 (ระยะแตกตาถึงระยะสร้างเนื้อเยื่อใบและราก), 61-150 (ระยะสร้างเนื้อเยื่อใบและรากถึงระยะสะสมอาหารที่หัว) และ 151-210 (ระยะสะสมอาหารที่หัว) วันหลังปลูก มีค่า Kc เท่ากับ 0.3, 0.8 และ 0.3 และมีความต้องการน้ำเท่ากับ 1.8, 5.0 และ 1.8 มิลลิเมตรต่อวันตามลำดับ หรือประมาณ 760 มิลลิเมตร หรือ 1,274 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตลอดระยะเวลาปลูก 365 วัน ทั้งนี้มันสำปะหลังควรได้รับน้ำไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตรต่อเดือน หรือ 500-600 มิลลิเมตรต่อปี เพื่อป้องกันไม่ให้หัวมันสำปะหลังหยุดการเจริญเติบโต
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดการน้ำสำหรับมันสำปะหลัง
โดยทั่วไปในการพิจารณาการให้น้ำแก่พืชเพื่อให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี จะต้องคำนึงถึง 5 ปัจจัย ได้แก่
- สภาพแวดล้อมบริเวณที่ปลูก เช่น อุณหภูมิ เมื่ออุณภูมิสูงขึ้นจะเกิดการถ่ายเทความร้อนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ดินมีการระเหยน้ำจากดินขึ้นสู่บรรยากาศ สำหรับพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังควรมีอุณภูมิอากาศ 25-29 องศาเซลเซียส
- ชนิดของดินที่ต่างกันจะมีผลต่อความดูดซับน้ำของเนื้อดินได้ต่างกัน ทำให้รากพืชดูดน้ำไปใช้ได้ต่างกัน สำหรับมันสำปะหลังเหมาะสำหรับดินที่มีลักษณะเป็นดินร่วนถึงร่วนปนทราย มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศ
- ระยะการเจริญเติบโตของมันสำประหลังจะมีความต้องการน้ำมากในช่วง 5 เดือนแรกหลังปลูก หรือประมาณ 150 วันหลังปลูก โดยต้องการน้ำประมาณ 1,274 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ต่อปี
- แหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตมันสำปะหลัง ซึ่งโดยทั่วไป 80 เปอร์เซ็นต์เป็นการผลิตโดยอาศัยน้ำฝน ส่วน 60 เปอร์เซ็นต์ เป็นการผลิตโดยอาศัยน้ำฝนร่วมกับการจัดการน้ำระบบชลประทานรูปแบบต่าง ๆ เช่น ระบบน้ำหยด
- วิธีการสังเกตเมื่อมันสำปะหลังขาดน้ำ เมื่อมันสำปะหลังไม่สามารถดูดน้ำได้เพียงพอต่ออัตราการคายน้ำ จะทำให้พืชเริ่มแสดงอาการเหี่ยวเฉาอย่างถาวร
การจัดการน้ำสำหรับมันสำปะหลัง
สำหรับการปลูกมันสำปะหลังทั่วโลกประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นการปลูกโดยอาศัยน้ำฝน และส่วน 60 เปอร์เซ็นต์ เป็นการปลูกโดยอาศัยน้ำฝนร่วมกับการจัดการน้ำชลประทาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการให้น้ำแบบน้ำหยด โดยเป็นการให้น้ำแก่มันสำปะหลังในช่วงที่ฝนไม่ตกเพื่อให้มันสำปะหลังได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ผลผลิตของมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นจากไม่ให้น้ำถึง 2 เท่า
- การปลูกในเขตน้ำฝน มันสำปะหลังสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีหากปริมาณน้ำฝนสม่ำเสมอ หรือมีความชื้นที่เพียงพอต่อการงอกในระยะแรก สำหรับประเทศไทยมีการปลูกมันสำปะหลังเกือบร้อยละ 50 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งหมด พบว่า ปลูกมันสำปะหลังในช่วงเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงสำหรับการปลูกมันสำปะหลังที่อาศัยน้ำฝน คือ ปริมาณน้ำที่จะได้รับจากฝนว่าเพียงพอหรือไม่ หรือหากได้รับน้ำฝนในปริมาณที่มากเกินไปมีการจัดการพื้นที่เพื่อระบายน้ำได้ดีไหม เพื่อลดอาการเน่าของผลผลิต แต่สำหรับประเทศไทยยังเจอปัญหาในช่วงแล้งที่ฝนไม่ตก คือ ส่งผลต่อการแตกตาและการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังกระทบไปยังผลผลิต อีกด้วย (Fao, 2013)
- การปลูกในเขตชลประทาน การจัดการน้ำชลประทานเพื่อการปลูกมันสำปะหลังสามารถจัดการได้หลายรูปแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ลักษณะภูมิประเทศ สมบัติของดิน ลักษณะพื้นที่ หรือการเตรียมดินเพื่อปลูก ตลอดจนแหล่งน้ำมีปริมาณมากน้อยเพียงใดที่จะนำมาให้แก่พืช (ธรรมนูญ, 2549) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบหลัก ๆ คือ การให้น้ำแบบเหนือผิวดิน การให้น้ำทางผิวดิน และการให้น้ำใต้ผิวดิน
รูปแบบการให้น้ำ
- การให้น้ำแบบเหนือผิวดิน
- การให้น้ำทางผิวดิน (surface)
- การให้น้ำใต้ดิน (Subirrigation)