ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การจัดการโรค"

จาก Cassava
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
บรรทัดที่ 12: บรรทัดที่ 12:


เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ''Xanthomonas axonopodis'' pv. ''Manihotis'' (ชื่อเดิม ''X. campestris'' pv. ''manihotis'') พบว่ามีรายงานการแพร่ระบาดมาจากลาตินอเมริกาตั้งแต่ก่อนปี 1900 ต่อมาได้แพร่ระบาดไปยังทวีปแอฟริกา และแพร่ระบาดเข้ามาในทวีปเอเชียในปี 1970 รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ในทวีปแอฟริกาโรคนี้มีความสำคัญรองลงมาจากโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยทำให้ผลผลิตเสียหาย 7.5 ล้านตันต่อปี  
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ''Xanthomonas axonopodis'' pv. ''Manihotis'' (ชื่อเดิม ''X. campestris'' pv. ''manihotis'') พบว่ามีรายงานการแพร่ระบาดมาจากลาตินอเมริกาตั้งแต่ก่อนปี 1900 ต่อมาได้แพร่ระบาดไปยังทวีปแอฟริกา และแพร่ระบาดเข้ามาในทวีปเอเชียในปี 1970 รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ในทวีปแอฟริกาโรคนี้มีความสำคัญรองลงมาจากโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยทำให้ผลผลิตเสียหาย 7.5 ล้านตันต่อปี  
== '''โรคใบไหม้ (Cassava bacterial blight)''' ==


== ลักษณะอาการ ==
== ลักษณะอาการ ==
บรรทัดที่ 25: บรรทัดที่ 27:


โรคนี้อาจเรียกว่าโรค BLS เกิดจากเชื้อรา ''Cercosporidium henningsii'' หรือ ''Cercospora henningsii'' เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราที่ทำความเสียหายให้แก่มันสำปะหลังที่สำคัญโรคหนึ่ง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้มันสำปะหลังที่เป็นโรคมีจุดสีเหลืองกระจายอยู่ทั่วทั้งใบ เป็นการลดพื้นที่ใบในการสังเคราะห์แสง (เจริญศักดิ์, 2532<ref>เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์. 2532.  มันสำปะหลัง การปลูก อุตสาหกรรมแปรรูป และการใช้ประโยชน์. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.</ref>) ส่วนทางอ้อมพบว่าโรคใบจุดสีน้ำตาลทำให้ใบมันสำปะหลังร่วงหลังจากปลูก และร่วงมากขึ้นเมื่อปลูกไปแล้ว 5 เดือน (เจริญศักดิ์, 2529<ref>เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ ปิยะวุฒิ พูลสงวน สมยศ พุทธเจริญ จำลอง เจียมจำนรรจา             ลมัย ศรีจันทร์ดี และวิทยา แสงแก้วสุข.  2529.  ความสำคัญทางเศรษฐกิจของโรคใบจุดสีน้ำตาลของมันสำปะหลังในประเทศไทย.  ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 24. </ref>) โรคนี้ทำให้ใบของมันสำปะหลังร่วงก่อนกำหนดเป็นผลให้วัชพืชขึ้นแก่งแย่งแข่งขันได้ดี ทำให้มันสำปะหลังสร้างหัวใต้ดินน้อย และผลผลิตลดลงในที่สุด โรคใบจุดสีน้ำตาลแสดงอาการผิดปกติเฉพาะส่วนใบเท่านั้น พบอาการใบจุดในตำแหน่งของใบที่อยู่ด้านล่างมากกว่าใบที่อยู่ด้านบน โดยแสดงอาการผิดปกติใน 2 ระยะ คือ ระยะแรกด้านใบมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลค่อนข้างเหลี่ยมตามเส้นใบ มีขอบชัดเจน และเมื่อสังเกตด้านหลังใบพบจุดแผลมีสีเทา เนื่องจากเส้นใยของเชื้อขึ้นปกคลุมส่วนใน ระยะที่สองปรากฏขอบแผลสีเหลืองรอบจุดสีน้ำตาลและ ถ้ารุนแรงขึ้นตรงกลางแผลมีอาการแห้งและหลุดออกเป็นรูกลวง (ศานิต, 2557<ref>ศานิต สวัสดิกาญจน์.  2557.  พืชอุตสาหกรรม(Industrial Field crops).  โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร.</ref>)  
โรคนี้อาจเรียกว่าโรค BLS เกิดจากเชื้อรา ''Cercosporidium henningsii'' หรือ ''Cercospora henningsii'' เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราที่ทำความเสียหายให้แก่มันสำปะหลังที่สำคัญโรคหนึ่ง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้มันสำปะหลังที่เป็นโรคมีจุดสีเหลืองกระจายอยู่ทั่วทั้งใบ เป็นการลดพื้นที่ใบในการสังเคราะห์แสง (เจริญศักดิ์, 2532<ref>เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์. 2532.  มันสำปะหลัง การปลูก อุตสาหกรรมแปรรูป และการใช้ประโยชน์. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.</ref>) ส่วนทางอ้อมพบว่าโรคใบจุดสีน้ำตาลทำให้ใบมันสำปะหลังร่วงหลังจากปลูก และร่วงมากขึ้นเมื่อปลูกไปแล้ว 5 เดือน (เจริญศักดิ์, 2529<ref>เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ ปิยะวุฒิ พูลสงวน สมยศ พุทธเจริญ จำลอง เจียมจำนรรจา             ลมัย ศรีจันทร์ดี และวิทยา แสงแก้วสุข.  2529.  ความสำคัญทางเศรษฐกิจของโรคใบจุดสีน้ำตาลของมันสำปะหลังในประเทศไทย.  ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 24. </ref>) โรคนี้ทำให้ใบของมันสำปะหลังร่วงก่อนกำหนดเป็นผลให้วัชพืชขึ้นแก่งแย่งแข่งขันได้ดี ทำให้มันสำปะหลังสร้างหัวใต้ดินน้อย และผลผลิตลดลงในที่สุด โรคใบจุดสีน้ำตาลแสดงอาการผิดปกติเฉพาะส่วนใบเท่านั้น พบอาการใบจุดในตำแหน่งของใบที่อยู่ด้านล่างมากกว่าใบที่อยู่ด้านบน โดยแสดงอาการผิดปกติใน 2 ระยะ คือ ระยะแรกด้านใบมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลค่อนข้างเหลี่ยมตามเส้นใบ มีขอบชัดเจน และเมื่อสังเกตด้านหลังใบพบจุดแผลมีสีเทา เนื่องจากเส้นใยของเชื้อขึ้นปกคลุมส่วนใน ระยะที่สองปรากฏขอบแผลสีเหลืองรอบจุดสีน้ำตาลและ ถ้ารุนแรงขึ้นตรงกลางแผลมีอาการแห้งและหลุดออกเป็นรูกลวง (ศานิต, 2557<ref>ศานิต สวัสดิกาญจน์.  2557.  พืชอุตสาหกรรม(Industrial Field crops).  โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร.</ref>)  
== '''โรคใบจุดสีน้ำตาล (brown leaf spot disease)''' ==
[[ไฟล์:Image4.png|thumb|ลักษณะอาการของโรคใบจุดสีน้ำตาลบริเวณใบมันสำปะหลัง]]  
[[ไฟล์:Image4.png|thumb|ลักษณะอาการของโรคใบจุดสีน้ำตาลบริเวณใบมันสำปะหลัง]]  



รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:09, 22 พฤศจิกายน 2564

มันสำปะหลังจัดเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย และมีการดูแลรักษาไม่ยุ่งยากเหมือนพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ยังสามารถปลูกได้ดีในสภาพอากาศของประเทศไทย สามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วง 8 - 12 เดือนหลังปลูก แต่พอว่าการศึกษาเกี่ยวกับโรคของมันสำปะหลังที่ผ่านมายังไม่ค่อยได้รับความสนใจมากนัก อาจเนื่องมาจากยังไม่มีการระบาดที่ทำความเสียหายได้อย่างชัดเจน เหมือนกับการทำลายของแมลง ประกอบกับการเข้าใจผิดที่ว่ามันสำปะหลังไม่มีโรครบกวน แต่ที่จริงแล้วมีโรคไม่น้อยที่เกิดขึ้นในมันสำปะหลัง (Hillocks et. al., 2002)[1] โดยมีสาเหตุมาจากสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด ได้แก่ โรคใบไหม้ โรคแอนแทรคโนส โรคใบจุดสีน้ำตาล โรครากเน่าและหัวเน่า โรคเน่าเปียก โรครากปม (กลุ่มวิจัยโรคพืช, 2559[2]; อุดมศักดิ์, 2555[3]; ศานิต, 2557)[4] และอาการขาดธาตุในมันสำปะหลัง ในปัจจุบันพบว่าโรคใบด่างมันสำปะหลังเกิดจากเชื้อไวรัส Cassava Mosaic Virus หากมีการระบาดรุนแรงสามารถส่งผลกระทบต่อผลผลิตมันสำปะหลังได้มากถึงร้อยละ 80 – 100 (ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ, 2563)[5]

  1. โรคใบไหม้ (Cassava bacterial blight)
  2. โรคใบจุดสีน้ำตาล (brown leaf spot disease)
  3. โรคใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava mosaic disease)
  4. โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)
  5. โรครากเน่าและหัวเน่า (Root and tuber rot)
  6. โรครากปมมันสำปะหลัง (cassava Root-knot)
  7. โรคลำต้นไหม้ (stem blight disease)
  8. โรคพุ่มแจ้ (witches broom)
  9. โรคเน่าเปียก (Wet rot)

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. Manihotis (ชื่อเดิม X. campestris pv. manihotis) พบว่ามีรายงานการแพร่ระบาดมาจากลาตินอเมริกาตั้งแต่ก่อนปี 1900 ต่อมาได้แพร่ระบาดไปยังทวีปแอฟริกา และแพร่ระบาดเข้ามาในทวีปเอเชียในปี 1970 รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ในทวีปแอฟริกาโรคนี้มีความสำคัญรองลงมาจากโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยทำให้ผลผลิตเสียหาย 7.5 ล้านตันต่อปี

โรคใบไหม้ (Cassava bacterial blight)

ลักษณะอาการ

อาการของใบที่เป็นโรคใบไหม้ (ภาพเอื้อเฟื้อจาก ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช)

โรคใบไหม้ (Cassava bacterial blight) อาการเริ่มแรกใบจะมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำอยู่ระหว่างเส้นใบ จุดหรือแผลใบจึงมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม เมื่ออาการพัฒนามากขึ้นจึงทำให้ใบไหม้และมีหยดเชื้อสีขาวขุ่นอยู่ใต้ใบซึ่งเป็นกลุ่มของแบคทีเรีย (bacterial ooze) อาการของโรคส่วนมากเกิดกับใบที่อยู่ส่วนกลางของทรงพุ่มใกล้ระดับดินก่อน เมื่อเชื้อลุกลามเข้าสู่ก้านใบทำให้ใบเหี่ยว หลุดร่วง และทำให้แห้งตายได้ เมื่อผ่าดูระบบท่อน้ำท่ออาหารของลำต้นจะมีสีคล้ำ เนื่องจากเนื้อเยื่อถูกทำลาย ในต้นที่มีอาการรุนแรงจะพบอาการยางไหลบนก้านใบหรือลำต้นที่ยังอ่อนได้อีกด้วย

อาการของต้นที่เป็นโรคใบไหม้ (ภาพเอื้อเฟื้อจาก ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช)

การแพร่ระบาด

เชื้อแบคทีเรียสามารถติดไปกับท่อนพันธุ์และเมล็ดพันธุ์จากต้นที่เป็นโรค โดยส่วนมากจะพบโรคในฤดูฝน และแพร่ระบาดมากในช่วงนี้ เชื้อสาเหตุสามารถอยู่ในดินที่มีเศษซากมันสำปะหลังได้นาน 21-49 วัน จากการสำรวจพบว่ามันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 มีความอ่อนแอต่อโรคใบไหม้มากกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50  ห้วยบง 60 และห้วยบง 80

การป้องกันกำจัด

เลือกใช้ท่อนพันธุ์ที่ปราศจากโรคใบไหม้ เตรียมแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี วางระยะปลูกให้เหมาะสมไม่ควรปลูกหนาแน่นเกินไป กำจัดชิ้นส่วนมันสำปะหลังที่เป็นโรคออกจากแปลง และอาจใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ฉีดป้องกันโรคก่อนถึงฤดูฝน (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)[6]

โรคนี้อาจเรียกว่าโรค BLS เกิดจากเชื้อรา Cercosporidium henningsii หรือ Cercospora henningsii เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราที่ทำความเสียหายให้แก่มันสำปะหลังที่สำคัญโรคหนึ่ง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้มันสำปะหลังที่เป็นโรคมีจุดสีเหลืองกระจายอยู่ทั่วทั้งใบ เป็นการลดพื้นที่ใบในการสังเคราะห์แสง (เจริญศักดิ์, 2532[7]) ส่วนทางอ้อมพบว่าโรคใบจุดสีน้ำตาลทำให้ใบมันสำปะหลังร่วงหลังจากปลูก และร่วงมากขึ้นเมื่อปลูกไปแล้ว 5 เดือน (เจริญศักดิ์, 2529[8]) โรคนี้ทำให้ใบของมันสำปะหลังร่วงก่อนกำหนดเป็นผลให้วัชพืชขึ้นแก่งแย่งแข่งขันได้ดี ทำให้มันสำปะหลังสร้างหัวใต้ดินน้อย และผลผลิตลดลงในที่สุด โรคใบจุดสีน้ำตาลแสดงอาการผิดปกติเฉพาะส่วนใบเท่านั้น พบอาการใบจุดในตำแหน่งของใบที่อยู่ด้านล่างมากกว่าใบที่อยู่ด้านบน โดยแสดงอาการผิดปกติใน 2 ระยะ คือ ระยะแรกด้านใบมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลค่อนข้างเหลี่ยมตามเส้นใบ มีขอบชัดเจน และเมื่อสังเกตด้านหลังใบพบจุดแผลมีสีเทา เนื่องจากเส้นใยของเชื้อขึ้นปกคลุมส่วนใน ระยะที่สองปรากฏขอบแผลสีเหลืองรอบจุดสีน้ำตาลและ ถ้ารุนแรงขึ้นตรงกลางแผลมีอาการแห้งและหลุดออกเป็นรูกลวง (ศานิต, 2557[9])

โรคใบจุดสีน้ำตาล (brown leaf spot disease)

ลักษณะอาการของโรคใบจุดสีน้ำตาลบริเวณใบมันสำปะหลัง

ลักษณะอาการ

โดยทั่วไปต้นที่เป็นโรคมีการเจริญเติบโตเป็นปกติ จะพบอาการของโรคบนใบล่างๆ มากกว่าใบบนซึ่งมีอายุน้อยกว่า มีรายงานว่าใบมันสำปะหลังอายุ 5 - 15 วัน จะทนทานต่อการเกิดโรค และจะอ่อนแอ พบเป็นโรคเมื่ออายุ 25 วันขึ้นไป โดยเกิดอาการใบจุดค่อนข้างเหลี่ยมตามเส้นใบมีความสม่ำเสมอ สีน้ำตาล ขนาด 3 - 15 มิลลิเมตร มีขอบชัดเจนจุดแผลด้านหลังใบมีสีเทา เนื่องจากมีเส้นใยและส่วนขยายพันธุ์ (fruiting bodies) ของเชื้อสาเหตุในพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค แผลจะล้อมรอบด้วยวงสีเหลือง (yellow halo) และตรงกลางแผลอาจจะแห้งและหลุดเป็นรู (รัตติกาล และณัฐวุฒิ, 2555[10])

เชื้อรา C. henningsii มี perfect stage ที่ชื่อว่า Mycosphaerella henningsii ลักษณะสำคัญของเชื้อรานี้ สร้างก้านชูสปอร์ (conidiophores) เกิดเป็นกลุ่มเกาะกันอยู่ ก้านสปอร์มีลักษณะรูปร่างเรียวยาว ปลายของก้านชูสปอร์โค้งเล็กน้อย หรือบางครั้งก้านชูสปอร์สามารถแตกแขนงได้ มีสีซีดจางไปจนถึง สีน้ำตาล มีผนังกั้น (septate) ซึ่งมีรอยของ scar เห็นได้ชัด โคนิเดีย (conidia) มีสีซีดจนถึงน้ำตาลอ่อน โคนิเดียมีขนาด 3.5 - 5 x 14 - 18 ไมครอน มี 3 - 7 เซลล์ (Charles, 1953[11]; Pattana et al., 1980[12]; Vasudeva, 1963[13])

การแพร่ระบาด

เชื้อราสาเหตุของโรคสามารถอาศัยอยู่ได้บนใบมันสำปะหลังที่ร่วงอยู่ในไร่ และจะขยายพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ เมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สปอร์เหล่านี้จะแพร่กระจายโดยลม หรือน้ำฝนไปตกบนใบปกติ ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคได้ต่อไป สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการแพร่ระบาดของโรค ได้แก่ ความชื้น อุณหภูมิ และอายุของพืช การสร้างสปอร์หรือโคนิเดีย (spores of conidia) จะเกิดขึ้นเมื่อมีความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 50-90 เปอร์เซ็นต์ และอุณหภูมิที่ทำให้สปอร์งอกได้ดีที่สุดอยู่ระหว่าง 39-43 องศาเซลเซียส ดังนั้นเราจึงสามารถพบโรคใบจุดสีน้ำตาลในพื้นที่ที่มีสภาพความชื้นต่ำและแห้งแล้งได้ โดยปกติโรคจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตไม่มาก แต่กรณีที่เกิดโรครุนแรงอาจมีผลกระทบต่อพันธุ์อ่อนแอ การศึกษาความต้านทานของมันสำปะหลังต่อโรคใบจุดสีน้ำตาลพบว่า พันธุ์ ระยอง 90 และ ห้วยบง 60 มีความต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาลมากกว่าพันธุ์ เกษตรศาสตร์ 50, ห้วยบง 80, MCKU 34-114-235, MCKU 34-114-245, ระยอง 1, ระยอง 5, ระยอง 60 และระยอง 72 ซึ่งมีความต้านทานโรคในระดับปานกลาง และมีรายงานว่าโรคนี้ทำให้ผลผลิตลดลง 14-20 เปอร์เซ็นต์ในพันธุ์ระยอง 1 เนื่องจากทำให้ใบมันสำปะหลังร่วงเร็วกว่าปกติ นอกเหนือจากมันสำปะหลังแล้ว เชื้อโรคนี้ยังสามารถอาศัยในพืชอื่นได้ เช่น M. glaziovii M. piauhynsis และ มันเทศ (Ipomoea batatas) (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556[14])

การป้องกันกำจัด

ใช้สารเคมี เช่น สารประกอบทองแดง (copper compound) หรือสารเบโนมิล (benomyl) พ่นให้ทั่วบริเวณที่เป็นโรคอย่างน้อย 1-2 ครั้ง เพื่อลดการระบาดของโรค การใช้พันธุ์ต้านทาน และควรกำจัดใบที่เป็นโรคออกจากแปลง

อ้างอิง

  1. Hillocks, R.J., M.J. Thresh and C.A. Bellotti. 2002.  Cassava: Biology, Production and Utilization. CABI Publishing. London, UK.
  2. กลุ่มวิจัยโรคพืช.  2559. ดรรชนีโรคพืชในประเทศไทย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
  3. อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช.  2555. โรคและแมลงศัตรูของมันสำปะหลัง. สุพรีมพริ้นท์ จำกัด, กรุงเทพฯ.
  4. ศานิต สวัสดิกาญจน์.  2557.  พืชอุตสาหกรรม(Industrial Field crops).  โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร.
  5. ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ.  2563. วิเคราะห์สถานการณ์โรคใบด่างมันสำปะหลัง. สำนักงานเศรษฐกิจเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. ที่มา: https://www.nabc.go.th/disaster/baidang. 8 กุมภาพันธ์ 2564.
  6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556) เทคโนโลยี 52 สัปดาห์ มันสำปะหลัง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์:กรุงเทพฯ.
  7. เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์. 2532.  มันสำปะหลัง การปลูก อุตสาหกรรมแปรรูป และการใช้ประโยชน์. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
  8. เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ ปิยะวุฒิ พูลสงวน สมยศ พุทธเจริญ จำลอง เจียมจำนรรจา             ลมัย ศรีจันทร์ดี และวิทยา แสงแก้วสุข.  2529.  ความสำคัญทางเศรษฐกิจของโรคใบจุดสีน้ำตาลของมันสำปะหลังในประเทศไทย.  ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 24.
  9. ศานิต สวัสดิกาญจน์.  2557.  พืชอุตสาหกรรม(Industrial Field crops).  โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร.
  10. รัตติกาล สู้ภัยพาล และ ณัฐวุฒิ ศิริมานะ.  2555.  การประเมินระดับความรุนแรงของโรคพืชด้วยการวิเคราะห์ภาพ. โครงงานวิศวกรรมเกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม
  11. Charles, C.  1953.  A monograph of the fungi genus Cercospora. Plant pathology. 667 p.
  12. Pattana, S., P Prapaisri, C. Wirat and G. Piya.  1980. Plant Pathogenic Cercosporae in Thailand. Plant pathology and Microbiology Division Department of Agriculture.  Ministry of agriculture and Cooperatives, Bangkok
  13. Vasudeva, R.S.  1963.  Indian Cercosporae. Indian Council of Agricultural Research, New Deli.
  14. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556) เทคโนโลยี 52 สัปดาห์ มันสำปะหลัง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์:กรุงเทพฯ.