ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การจัดการโรค"
(สร้างหน้าด้วย "มันสำปะหลังจัดเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย และมีการดูแลรัก...") |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:59, 30 มิถุนายน 2564
มันสำปะหลังจัดเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย และมีการดูแลรักษาไม่ยุ่งยากเหมือนพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ยังสามารถปลูกได้ดีในสภาพอากาศของประเทศไทย สามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วง 8 - 12 เดือนหลังปลูก แต่พอว่าการศึกษาเกี่ยวกับโรคของมันสำปะหลังที่ผ่านมายังไม่ค่อยได้รับความสนใจมากนัก อาจเนื่องมาจากยังไม่มีการระบาดที่ทำความเสียหายได้อย่างชัดเจน เหมือนกับการทำลายของแมลง ประกอบกับการเข้าใจผิดที่ว่ามันสำปะหลังไม่มีโรครบกวน แต่ที่จริงแล้วมีโรคไม่น้อยที่เกิดขึ้นในมันสำปะหลัง (Hillocks et. al., 2002) โดยมีสาเหตุมาจากสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด ได้แก่ โรคใบไหม้ โรคแอนแทรคโนส โรคใบจุดสีน้ำตาล โรครากเน่าและหัวเน่า โรคเน่าเปียก โรครากปม (กลุ่มวิจัยโรคพืช, 2559; อุดมศักดิ์, 2555; ศานิต, 2557) และอาการขาดธาตุในมันสำปะหลัง ในปัจจุบันพบว่าโรคใบด่างมันสำปะหลังเกิดจากเชื้อไวรัส Cassava Mosaic Virus หากมีการระบาดรุนแรงสามารถส่งผลกระทบต่อผลผลิตมันสำปะหลังได้มากถึงร้อยละ 80 – 100 (ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ, 2563)
- โรคใบไหม้ (Cassava bacterial blight)
- โรคใบจุดสีน้ำตาล (brown leaf spot disease)
- โรคใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava mosaic disease)
- โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)
- โรครากเน่าและหัวเน่า (Root and tuber rot)
- โรครากปมมันสำปะหลัง (cassava Root-knot)
- โรคลำต้นไหม้ (stem blight disease)
- โรคพุ่มแจ้ (witches broom)
- โรคเน่าเปียก (Wet rot)