ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คุณภาพต้นพันธุ์"

ไม่มีคำอธิบายอย่างย่อ
บรรทัดที่ 35: บรรทัดที่ 35:


* '''วิธีการตรวจสอบพันธุ์ปนในแปลงก่อนตัดต้นพันธุ์'''
* '''วิธีการตรวจสอบพันธุ์ปนในแปลงก่อนตัดต้นพันธุ์'''
ควรดำเนินการในช่วงที่มันสำปะหลังมีอายุประมาณ 1 – 2 เดือนหลังปลูก เนื่องจากต้นยังเล็กและสามารถจำแนกพันธุ์ได้ง่ายกว่าช่วงอายุอื่น ๆ โดยใช้ลักษณะสียอดอ่อน และสีก้านใบในการจำแนกพันธุ์เป็นหลัก หรืออาจทำพร้อมกับการตรวจสอบความงอก โดยสุ่มตรวจเป็นจุด จุดละ 100 ต้น แปลงขนาด 25 ไร่ ควรสุ่มตรวจอย่างน้อย 5 จุด แล้วหาค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์พันธุ์ปนในแปลงนั้น ๆ การตรวจสอบพันธุ์ปนในช่วงนี้จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนจัดการด้านแรงงานที่ต้องใช้ในการคัดพันธุ์ปนทิ้งเพื่อให้ได้แปลงพันธุ์ที่บริสุทธิ์
กรณีการตรวจสอบพันธุ์ปนในแปลงขายต้นพันธุ์ควรดำเนินการในช่วงก่อนการตัดต้นออกจากแปลง โดยใช้ลักษณะทรงต้น สีลำต้น ความนูนของรอยแผลก้านใบในการจำแนกพันธุ์เป็นหลัก วิธีการคือควรสุ่มตรวจอย่างน้อย 5 จุด จุดละ 100 ต้น ถ้าแปลงมีขนาด 25 ไร่ แล้วหาค่าเฉลี่ย โดยให้มีพันธุ์ปนได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ หากมีเปอร์เซ็นต์พันธุ์ปนสูงกว่านี้จะทำให้การคัดพันธุ์ปนทั้งหมดทิ้งหลังซื้อทำได้ยาก และต้องสิ้นเปลืองค่าแรงงานในการคัดพันธุ์ปนในแปลงปลูกใหม่ จึงไม่ควรจัดซื้อต้นพันธุ์จากแปลงดังกล่าว
* '''วิธีการตรวจสอบพันธุ์ปนในกองต้นพันธุ์หรือหลังการตัดต้นพันธุ์'''
ในกรณีที่เป็นการซื้อต้นพันธุ์ที่ตัดไว้แล้ว สามารถตรวจสอบพันธุ์ปนในกองต้นพันธุ์ได้โดยใช้ลักษณะสีลำต้น และความนูนของรอยแผลก้านใบในการจำแนกพันธุ์เป็นหลัก โดยสุ่มจากมัดของต้นพันธุ์ที่อยู่ในกองมากองละ 4 มัด โดยปกติ 1 มัดจะมีต้นพันธุ์ 25 ลำ ดังนั้นจะได้ต้นพันธุ์ 100 ลำ แล้วตรวจสอบว่ามีจำนวนต้นพันธุ์ปนเท่าใด เพื่อคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์พันธุ์ปนของกองนั้น ๆ โดยไม่ควรมีพันธุ์ปนเกิน 2 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่ซื้อต้นพันธุ์ในปริมาณมากไม่สามารถตรวจสอบทุกกองได้ ควรสุ่มในปริมาณที่มากพอและทั่วถึงเพื่อให้เป็นตัวแทนของต้นพันธุ์ทั้งหมด
นอกจากการตรวจสอบพันธุ์ปนแล้ว ควรตรวจสอบคุณภาพต้นพันธุ์ไปพร้อมกันด้วย เช่น ขนาดและความยาวของต้นพันธุ์ อายุการเก็บรักษาต้นพันธุ์หลังการตัด ความสมบูรณ์ของตา โรคและแมลงที่ติดมากับท่อนพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจซื้อและการกำหนดราคาต้นพันธุ์
== อ้างอิง ==
71

การแก้ไข