100
การแก้ไข
บรรทัดที่ 5: | บรรทัดที่ 5: | ||
=== วิธีการแก้ปัญหา === | === วิธีการแก้ปัญหา === | ||
# ไถระเบิดชั้นดานทำได้โดยการไถด้วยไถที่มีลักษณะพิเศษที่สามารถเจาะและทำให้ดินชั้นดานแตกกระจายได้ คือ ไถลึก (deep plowing) หรือไถทำลายดินดาน (subsoiling) ควรไถที่ระดับความลึกประมาณ 75 เซนติเมตร โดยระยะห่างรอยละ 50 เซนติเมตร การไถตัดดานจะให้ผลเต็มที่ก็ต่อเมื่อทำการไถขณะที่ดินมีชั้นดานค่อนข้างแห้ง ซึ่งจะทำให้ชั้นดานถูกทำลายโดยการเกิดรอยแตกแยกได้ง่าย | |||
# ใส่วัสดุปรับปรุงดินเพื่อทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้นไม่เกิดการอัดตัวแน่นได้ง่าย และรวมทั้งการป้องกันการสลายตัวของเม็ดดินที่มีอยู่แล้ว เช่น การใส่หินปูนบด หรือยิปซัม ฟอสโฟยิปซัมอัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ หรือการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก เช่น มูลไก่แกลบ หรือแกลบดิบในอัตรา 1 ตันต่อไร่ โดยไถกลบวัสดุปรับปรุงดินเหล่านี้ให้ลึกกว่าปกติ | |||
# ปลูกพืชทำลายชั้นดาน พืชหลายชนิดมีระบบรากที่แข็งแรง สามารถเติบโตไชชอนผ่านชั้นดานที่พืชทั่วไปไม่สามารถทำได้ พืชเหล่านี้ได้แก่ หญ้าบาเฮีย (bahiagrass) หญ้าแฝก (vetiver Grass) | |||
# ควบคุมความชื้นดิน ชั้นดานในดินล่างจะแข็งจนกระทั่งเป็นอุปสรรคต่อการแพร่กระจายของรากพืชก็ต่อเมื่อแห้งถึงระดับหนึ่งเท่านั้น เมื่อมีความชื้นพอเหมาะรากพืชทั่วไปก็สามารถไชชอนเข้าไปในชั้นดานได้มากขึ้น ดังนั้น การรักษาความชื้นในดินชั้นดานให้พอเหมาะจึงสามารถลดผลกระทบของชั้นดานต่อการแพร่กระจายของรากพืชได้ระดับหนึ่ง การควบคุมความชื้นให้พอเหมาะนี้กระทำได้เฉพาะในพื้นที่ที่มีระบบชลประทานที่ดีเท่านั้น ซึ่งในกรณีเช่นนี้ปัญหาที่พืชจะขาดแคลนน้ำ โดยเหตุที่รากพืชถูกจำกัดด้วยชั้นดานก็มีปัญหาอยู่แล้ว การส่งเสริมให้รากพืชแพร่กระจายลงในชั้นดานโดยการควบคุมความชื้นของชั้นดานให้เหมาะสมจึงเป็นการส่งเสริมให้พืชได้ใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารพืชในดินชั้นดานและใต้ดาน | |||
การแก้ไข