80
การแก้ไข
(สร้างหน้าด้วย "ในการปลูกมันสำปะหลังในช่วงระยะเวลา 1 ปี มีศัตรูพืชเข้...") |
|||
บรรทัดที่ 4: | บรรทัดที่ 4: | ||
# การจำแนกตามชนิดของศัตรูพืชที่ต้องการควบคุม | # การจำแนกตามชนิดของศัตรูพืชที่ต้องการควบคุม | ||
##สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลง (Insecticides) เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุมแมลง หรือสัตว์ที่ใกล้เคียงกับแมลง เห็บ (ticks) และแมงมุม (spiders) | |||
##สารเคมีป้องกันและกำจัดไร (Acaricide หรือ Miticide) เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุมศัตรูพืช | |||
##สารเคมีป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอย (Insecticides) เป็นสารเคมีที่ใช้ฆ่าไส้เดือนฝอย | |||
##สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา (Fungicides) เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุม หรือยับยั้งการทพลายของเชื้อรา | |||
##สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อแบคทีเรีย (Bactericides) เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุม หรือยับยั้งการทำลายของเชื้อแบคทีเรีย | |||
##สารเคมีป้องกันและกำจัดวัชพืช (Herbicides) เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุม หรือทำลายของวัชพืชหรือพืชที่เราไม่ต้องการ | |||
#การจำแนกตามคุณสมบัติทางเคมี | |||
##สารอนินทรีย์ (Inorganic Pesticides) เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ได้มาจากแร่ธาตุต่างๆ เช่นสารหนู (arsenic) ทองแดง (copper) ตะกั่ว (lead) ดีบุก (tin) สังกะสี (zinc) เป็นต้น สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ในกลุ่มนี้ได้แก่ สารหนูตะกั่ว (Lead arsenate) สารหนูเขียว (Paris green) บอร์โด มิกซ์เจอร์ (Bordeaux mixture) เป็นต้น | |||
##สารอินทรีย์สังเคราะห์ (Sythetic Organic Pesticides) เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ได้มาจากมนุษย์สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีธาตุคาร์บอน และไฮโดรเจน เป็นองค์ประกอบหลัก และอาจมีธาตุอื่นๆอยู่ด้วยเช่น คลอรีน ฟอสฟอรัส ออกซิเจน หรือไนโตรเจน เป็นต้น สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ในกลุ่มนี้ได้แก่ มาลาไธออน แคปแทน เป็นต้น | |||
##สารอินทรีย์จากพืช (Derived Organic Pesticides) เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ได้มาจากมนุษย์สกัดมาจากส่วนต่างๆของพืช สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ในกลุ่มนี้ได้แก่ นิโคตินจากยาสูบ ไพรีธรัมจากพืชตระกูลเบญจมาศ เป็นต้น | |||
##เชื้อจุลินทรีย์ (Microbial Pesticides) เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ได้มาจากจุลินทรีย์ต่างๆ ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ในกลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อไวรัส Nuclear Polyhedriosis Virus (NPV) เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เชื้อราบิวเวอเรีย เป็นต้น | |||
== การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง == | |||
ในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในแปลงปลูกสิ่งที่ต้องคำนึงในระดับต้นคือความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในแปลง โดยสารเคมีที่ใช้ส่งผลต่อมนุษย์ได้หลายระดับ อาจส่งผลต่อสุขภาพในอนาคตได้ ดังนั้นควรมีข้อปฏิบัติดังนี้ | |||
# อ่านฉลากกำกับโดยตลอดให้เข้าใจก่อนใช้และต้องปฏิบัติตามคำเตือนและข้อควรระวังโดยเคร่งครัด | |||
# การผสมสารกำจัดศัตรูพืช อย่าใช้มือผสมให้ใช้ ไม้กวน หรือคลุกให้เข้ากัน | |||
# อย่าใช้ปากเปิดขวดสารกำจัดศัตรูพืชหรือเป่าดูดสิ่งอุดตันที่หัวฉีดควรเปลี่ยนหัวฉีดใหม่หรือใช้ลวดเขี่ย | |||
# การฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช ควรแต่งตัวให้มิดชิดเพื่อป้องกันมิให้ถูกละอองสาร | |||
# ขณะฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช ควรอยู่เหนือลมเสมอและ หยุดฉีด เมื่อลมแรง | |||
# อย่าสูบบุหรี่หรือรับประทานอาหารขณะใช้สารกำจัดศัตรูพืช | |||
# อย่าล้างภาชนะบรรจุหรืออุปกรณ์เครื่องพ่นลงไปในทางน้ำ บ่อ คลอง ฯลฯ | |||
# เมื่อเสร็จการใช้สารกำจัดศัตรูพืชแล้ว ให้ถอดเสื้อผ้าที่ใส่ออกซักแล้วอาบน้ำให้สะอาด | |||
# หยุดฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืชตามกำหนดก่อนเก็บเกี่ยวพืชตามที่ระบุในฉลาก | |||
# ถ้ารู้สึกไม่สบายให้หยุดฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช และรีบไปพบแพทย์พร้อมภาชนะบรรจุและฉลาก | |||
# เก็บสารกำจัดศัตรูพืชไว้ในภาชนะเติมเท่านั้น อย่าถ่ายภาชนะโดยเด็ดขาด | |||
# เก็บสารกำจัดศัตรูพืชไว้ในที่ปลอดภัย ห่างจากเด็ก สัตว์เลี้ยง อาหาร และเปลวไฟ | |||
# ภาชนะบรรจุสารกำจัดศัตรูพืชเมื่อใช้หมดแล้วให้ทำลาย (พฤทธิชาติ, ม.ป.พ.) | |||
== การใช้สารเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ == | |||
# ใช้ในอัตราส่วน ช่วงเวลาการใช้ และจำนวนครั้งตามคำแนะนำหน้าฉลาก | |||
# ใช้สารเคมีให้ตรงกับชนิดของศัตรูพืช ถูกประเภท และถูกวิธี |
การแก้ไข