132
การแก้ไข
บรรทัดที่ 637: | บรรทัดที่ 637: | ||
== '''การปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว''' == | == '''การปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว''' == | ||
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวนําผลผลิตหัวมันสดส่งโรงงานทันที ไม่ควรเก็บไว้เกิน 2 วัน เพราะจะเน่าเสีย การขนส่งรถบรรทุกหัวมันสําปะหลังต้องสะอาดและเหมาะสมกับปริมาณ หัวมันสด ไม่ควรเป็นรถที่ใช้บรรทุกดิน สัตว์ หรือมูลสัตว์ เพราะอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคปาก และเท้าเปื้อย และไม่ควรเป็นรถที่บรรทุกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หรือถั่วลิสง เพราะอาจมีการปนเปื้อน ของสารพิษอะฟลาทอกซิน ยกเว้นจะมีการทําความสะอาดอย่างเหมาะสมก่อนนํามาบรรทุกหัวมันสําปะหลัง และไม่ควรเป็นรถที่ใช้บรรทุกปุ๋ยเคมีและสารป้องกันกําจัดศัตรูพืช (บัณฑิต และคณะ, 2552) | |||
== '''เครื่องจักรกลเกษตรด้านการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง''' == | == '''เครื่องจักรกลเกษตรด้านการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง''' == | ||
เนื่องจากแรงงานปัจจุบันไม่นิยมการทํางานในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะงานหนักเช่นการขุดมันสําปะหลังจึงมีความพยายามในการพัฒนาอุปกรณ์หรือเครื่องจักรกลเกษตร มาทดแทนแรงงานคนในการเก็บเกี่ยวมันสําปะหลังหลากหลายรูปแบบ ทั้งโดยโรงงานเครื่องจักรกลเกษตรและโดยหน่วยงานวิจัยของรัฐ (เสรี, 2551) | |||
ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งในระบบการผลิตที่มีผลกระทบโดยตรงต่อความสูญเสีย ความเสียหาย คุณภาพของผลผลิตโดยหัวมันที่ทำการขุดแล้วหากไม่ได้รับการแปรรูปภายใน 2 วัน คุณภาพจะลดอย่างมาก (Thant, 1997 และ พร้อมพรรณ, 2549) และต้นทุนการผลิตมันสำาปะหลัง โดยพบว่าต้นทุนในการผลิตมันสำปะหลังนั้น ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวมีสัดส่วนการลงทุนสูงสุด (27%) รองลงมาได้แก่ค่าปุ๋ย ค่าเตรียมดิน ค่ากำจัดวัชพืช ค่าขนส่ง และค่าท่อนพันธุ์และแรงงานปลูกในสัดส่วนร้อยละ 18 17 16 13 และ 7 ตามลำดับ (สุรพงษ์ และคณะ, 2550) โดยค่าจ้างแรงงานเป็นสัดส่วน ค่าใช้จ่ายสูงสุดในขั้นตอนการเก็บเกี่ยว เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายในการผลิตพืชเศรษฐกิจหลักอื่นๆ ยกเว้นในการผลิตข้าว (Anuchit, 2007) ทั้งนี้เนื่องจากใช้แรงงานคนเป็นหลัก เพื่อการขุดหรือถอน การตัดส่วนที่เป็นหัวออกจากโคนต้น และรวบรวมขึ้นรถบรรทุกเพื่อการขนย้ายไปจำหน่าย และประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานเช่นเดียวกับการผลิตพืชอื่นในภาคเกษตร เนื่องจากแรงงานเคลื่อนย้ายสู่นอกภาคเกษตร ทั้งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และทำให้ค่าจ้างแรงงานในภาคเกษตรสูงขึ้นเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต |
การแก้ไข