132
การแก้ไข
(สร้างหน้าด้วย "การแปรรูปมันสำปะหลังที่นิยมมากที่สุดคือการทำมันเส้น...") |
|||
บรรทัดที่ 18: | บรรทัดที่ 18: | ||
4. สามารถใช้ทดแทนวัตถุดิบธัญพืช เช่น ข้าวโพดเมล็ด ข้าวฟ่างเมล็ด ปลายข้าว ซึ่งเป็นวัตถุดิบประเภทพลังงาน หรือแป้งเช่นเดียวกันได้อย่างเต็มที่ในสูตรอาหารสัตว์ทุกชนิด | 4. สามารถใช้ทดแทนวัตถุดิบธัญพืช เช่น ข้าวโพดเมล็ด ข้าวฟ่างเมล็ด ปลายข้าว ซึ่งเป็นวัตถุดิบประเภทพลังงาน หรือแป้งเช่นเดียวกันได้อย่างเต็มที่ในสูตรอาหารสัตว์ทุกชนิด | ||
=== '''เครื่องจักรกลผลิตมันเส้น''' === | |||
เครื่องหั่นชิ้นมันเส้นมีหลักการทำงานโดยป้อนหัวมันสำปะหลังเข้าสู่ส่วนทำความสะอาด ซึ่งใช้หลักการขัดสีของวัสดุกับผิววัตถุดิบในน้ำ ขัดผิวและล้างให้สะอาด แล้วลำเลียงส่งเข้าชุดใบมีดที่ใช้หลักการเฉือนได้เป็นชิ้นมันเส้นสะอาด เครื่องหั่นใช้ต้นกำลังขับในเพลาเดียวกันทำให้ทุกส่วนทำงานต่อเนื่องพร้อมกัน (วิรัตน์, 2555) | |||
''' ''' เครื่องสับมันแบบจานนอนและเครื่องสับมันที่พัฒนาขึ้นสามารถสับมันเป็นแผ่นแต่ยังไม่สม่ำเสมอเท่าที่ควร ซึ่งถ้าเป็นลักษณะของมันเส้นที่ผ่าน การสับด้วยเครื่องสับแบบจานรูของลานมันสำปะหลังทั่วไปจะมีลักษณะเป็นก้อนไม่สม่ำเสมอเช่นกัน (อนุชิต และคณะ, 2558) | |||
จานตัดของเครื่องตัดแบบจานหมุน โดยดัดแปลงจานตัดแบบเดิมที่ทำให้ชิ้นมันมีขนาดไม่แน่นอน และมีขนาดใหญ่ ทำให้การตากใช้เวลานาน เนื่องจากต้องการให้ชิ้นมันมีขนาดเล็กลง และมีรูปแบบของชิ้นมันที่เป็นรูปแบบเดียวกันมากขึ้น ซึ่งหลังการออกแบบพบว่าสมรรถนะการตัดลดลงจาก 9-11 ตันต่อชั่วโมง เป็น 6-8 ตันต่อชั่วโมง และขนาดชิ้นเล็กลง โดยชิ้นมันมีขนาดเฉลี่ย 5×2.4×0.6 เซนติเมตร (Thanh ''et al''., 1979) | |||
เครื่องสับมันสำปะหลังแบบใบมีดโยก สำหรับผลิตชิ้นมันเส้นสะอาดเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารสำหรับโคนม เครื่องต้นแบบมีส่วนประกอบหลักคือ ชุดทำความสะอาดหัวมันสำปะหลังที่มีลักษณะเป็นตะแกรงหมุนเพื่อแยกสิ่งเจือปน ชุดป้อนหัวมันเข้าสู่ชุดใบมีดสับ ชุดใบมีดสับสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นรูปแบบการสับตามขวาง และตัดแยกชิ้นมันเป็นรูปทรงแท่งยาว (ธวัชชัย และวิรัตน, 2548) | |||
==== '''ข้อดีข้อเสียของเครื่องสับหัวมัน''' ==== | |||
เครื่องสับหัวมันที่พัฒนาขึ้นสามารถสับมันเป็นแผ่น ซึ่งถ้าเป็นลักษณะของมันเส้นที่ผ่านการสับด้วยเครื่องสับแบบจานรูของลานมันสำปะหลังทั่วไปจะมีลักษณะเป็นก้อนไม่สม่ำเสมอ ซึ่งไม่มีความเหมาะสมต่อการอบแห้งเนื่องจากการอบแห้งจะแห้งไม่พร้อมกัน ทำให้สูญเสียพลังงานในการลดความชื้นมากขึ้น ทั้งนี้ต้องมีการศึกษาการตัดหัวมันสำปะหลังสดด้วยเครื่องตัดชนิดอื่นเพื่อให้ได้ชิ้นมันที่มีขนาดสม่ำเสมอมากขึ้นสอดคล้องกับระยะเวลาที่เหมาะสมในการตากแห้งเพื่่อลดความชื้น และลดการเกิดชิ้นมันขนาดเล็กซึ่งเป็นต้นเหตุของฝุ่นผง จะเป็นการปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการผลิตมันสำปะหลังเส้นของประเทศให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นผลดีกับเกษตรกรผู้ผลิตหัวมันสำปะหลังสด และผู้ประกอบการโรงงานมันเส้นรวมทั้งทำให้การส่งออกผลิตภัณฑ์มันเส้นไปต่างประเทศมีความยั่งยืน และเป็นที่น่าเชื่อถือในระยะยาวต่อไป (อนุชิต และคณะ, 2558) |
การแก้ไข