โรคเน่าเปียก (Wet rot)

จาก Cassava
รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:14, 1 กรกฎาคม 2564 โดย กนกพร ฉัตรไชยศิริ(คุย | ส่วนร่วม)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
แสดงลักษณะอาการของโรคเน่าเปียกในมันสำปะหลัง

เชื้อสาเหตุเกิดจาก เชื้อรา Choanephora sp.

ลักษณะอาการ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เชื้อราเข้าทำลายส่วนของปลายยอด ขอบใบ หรือส่วนที่เป็นแผลเนื้อเยื่อยุบตัวลง จะสังเกตเห็นเส้นใยสีเทา ก้านชูสปอร์และมีสปอร์สีดำ ระบาดมากในฤดูฝนโดยเฉพาะ หากมีอากาศร้อนจัดแล้วฝนตกจะพบอาการลุกลามอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อสาเหตุมักเข้าทำลายซ้ำเติมร่วมกับโรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยพบเชื้อราเจริญอยู่บนใบที่มีอาการไหม้

การแพร่ระบาด[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

พบการแพร่ระบาดด้วยวิธีการสร้างสปอร์สามารถปลิวไปกับลมและฝนได้

การป้องกันกำจัด[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราในกลุ่ม Zygomycota หรือในกลุ่มราชั้นต่ำ เช่น ไทอะเบนดาโซล (thiabendazole) แมนโคแซบ (mancozeb) (อุดมศักดิ์, 2555)[1]

  1. อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช.  2555. โรคและแมลงศัตรูของมันสำปะหลัง. สุพรีมพริ้นท์ จำกัด, กรุงเทพฯ.