ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทำแปลงขยายพันธุ์"

ไม่มีคำอธิบายอย่างย่อ
บรรทัดที่ 27: บรรทัดที่ 27:
* '''การปลูกแบบปัก''' การปลูกแบบปักจะให้ผลดีกว่าการปลูกแนวนอน เนื่องจากมันสำปะหลังงอกได้เร็วกว่า สม่ำเสมอกว่า สะดวกต่อการปลูกซ่อม และกำจัดวัชพืช ในฤดูฝน ถ้าพื้นที่แฉะควรยกร่องและปลูกบนสันร่อง ถ้าดินระบายน้ำดีปลูกบนพื้นที่ราบก็ได้ การปักท่อนพันธุ์ตั้งตรงหรือเอียงให้ลึกประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร สำหรับการปลูกในฤดูแล้งไม่จำเป็นต้องยกร่องแต่ควรปักตั้งตรงหรือเอียง ให้ลึกกว่าการปลูกในฤดูฝน 10 – 15 เซนติเมตร จะช่วยให้ท่อนพันธุ์มีความงอกและมีความอยู่รอดสูง ส่วนการปลูกในพื้นที่ที่มีความเอียง ควรปลูกโดยการยกร่องขวางแนวลาดเอียง  
* '''การปลูกแบบปัก''' การปลูกแบบปักจะให้ผลดีกว่าการปลูกแนวนอน เนื่องจากมันสำปะหลังงอกได้เร็วกว่า สม่ำเสมอกว่า สะดวกต่อการปลูกซ่อม และกำจัดวัชพืช ในฤดูฝน ถ้าพื้นที่แฉะควรยกร่องและปลูกบนสันร่อง ถ้าดินระบายน้ำดีปลูกบนพื้นที่ราบก็ได้ การปักท่อนพันธุ์ตั้งตรงหรือเอียงให้ลึกประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร สำหรับการปลูกในฤดูแล้งไม่จำเป็นต้องยกร่องแต่ควรปักตั้งตรงหรือเอียง ให้ลึกกว่าการปลูกในฤดูฝน 10 – 15 เซนติเมตร จะช่วยให้ท่อนพันธุ์มีความงอกและมีความอยู่รอดสูง ส่วนการปลูกในพื้นที่ที่มีความเอียง ควรปลูกโดยการยกร่องขวางแนวลาดเอียง  


สำหรับมันสำปะหลังพันธุ์ที่ไม่แตกกิ่งอาจเพิ่มจำนวนท่อนพันธุ์ต่อไร่โดยการตัดยอดระดับที่ตัดวัดจากยอดลงมาประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร เมื่อต้นมันสำปะหลังอายุประมาณ 2 – 3 เดือน จะทำให้ต้นพันธุ์เพิ่มขึ้นจากปกติประมาณ 1 เท่าตัว ตัวอย่างเช่น ต้นมันสำปะหลังเดิมที่ปลูกมีจำนวนลำต้นต่อหลุม 2 ลำ หลังจากตัดยอดทั้ง 2 ลำจะมีการแตกยอดใหม่ได้จำนวนลำต้นประมาณ 4 – 5 ลำต่อหลุม                '''ดังภาพที่ 1'''
สำหรับมันสำปะหลังพันธุ์ที่ไม่แตกกิ่งอาจเพิ่มจำนวนท่อนพันธุ์ต่อไร่โดยการตัดยอดระดับที่ตัดวัดจากยอดลงมาประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร เมื่อต้นมันสำปะหลังอายุประมาณ 2 – 3 เดือน จะทำให้ต้นพันธุ์เพิ่มขึ้นจากปกติประมาณ 1 เท่าตัว ตัวอย่างเช่น ต้นมันสำปะหลังเดิมที่ปลูกมีจำนวนลำต้นต่อหลุม 2 ลำ หลังจากตัดยอดทั้ง 2 ลำจะมีการแตกยอดใหม่ได้จำนวนลำต้นประมาณ 4 – 5 ลำต่อหลุม                 
 
[[ไฟล์:Image s6.png|center|thumb|352x352px|'''ภาพที่ 1''' แสดงการตัดยอดต้นพันธุ์เมื่ออายุ 2 เดือนเพื่อให้แตกลำเพิ่ม]]


== '''การทำแปลงขยายต้นพันธุ์แบบเร่งรัด''' ==
== '''การทำแปลงขยายต้นพันธุ์แบบเร่งรัด''' ==
วิธีการขยายพันธุ์แบบเร่งรัด เป็นการตัดท่อนพันธุ์สั้นกว่าปกติหรือตัดต้นอ่อนไปปลูกโดยไม่ต้องรอให้มันสำปะหลังอายุครบ 8 – 12 เดือนตามวิธีการปกติ เพื่อให้ได้ปริมาณท่อนพันธุ์จำนวนมากภายในเวลาอันสั้น สามารถปฏิบัติได้หลายวิธี ดังนี้
วิธีการขยายพันธุ์แบบเร่งรัด เป็นการตัดท่อนพันธุ์สั้นกว่าปกติหรือตัดต้นอ่อนไปปลูกโดยไม่ต้องรอให้มันสำปะหลังอายุครบ 8 – 12 เดือนตามวิธีการปกติ เพื่อให้ได้ปริมาณท่อนพันธุ์จำนวนมากภายในเวลาอันสั้น สามารถปฏิบัติได้หลายวิธี ดังนี้
=== '''การขยายพันธุ์โดยการตัดยอดอ่อน''' ===
มันสำปะหลังที่ปลูกโดยท่อนพันธุ์ปกติ ส่วนใหญ่จะแตกตาและเจริญเป็นลำต้นหลักที่สมบูรณ์ประมาณ 1 – 3 ลำต่อต้น ขึ้นอยู่กับพันธุ์ คุณภาพท่อนพันธุ์ และสภาพแวดล้อมขณะปลูก ซึ่งโดยเฉลี่ยจะเท่ากับ 2 ลำต่อต้น แต่หากตัดส่วนยอดทิ้งในขณะที่ต้นยังเล็กอายุประมาณ 2 เดือนหลังปลูก มันสำปะหลังจะแตกตาใหม่ขึ้นมาจากต้นเดิม ทำให้ได้ลำต่อต้นมากขึ้น 2 – 3 เท่า โดยมีวิธีการ ดังนี้
# ปลูกมันสำปะหลังโดยใช้ท่อนพันธุ์ขนาดและความยาวปกติ จัดการด้านเขตกรรมตามวิธีปฏิบัติทั่วไป แต่ในขั้นตอนการกำจัดวัชพืชไม่ควรใช้สารเคมีตั้งแต่ต้นยังเล็กเนื่องจากอาจทำให้ต้นอ่อนเสียหายจากการถูกสารเคมีทำลาย
# ตัดยอดอ่อนเมื่อมันสำปะหลังมีอายุประมาณ 2 เดือนหลังปลูก โดยใช้กรรไกรตัดแต่งกิ่งตัดที่ระดับความสูงประมาณ 30 เซนติเมตรจากพื้นดิน
# ภายหลังตัดยอดอ่อน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยวิธีขุดหลุมใส่ข้างต้นแล้วกลบและให้น้ำตามทันที เพื่อให้มันสำปะหลังสามารถดึงปุ๋ยไปใช้และแตกยอดอ่อนสร้างลำต้นใหม่ได้เร็วและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
# เมื่อมันสำปะหลังแตกยอดใหม่และมีจำนวนมากเกินไป ให้เด็ดยอดทิ้งเหลือลำต้นหลักเพียง 4 ลำต่อต้น เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง มีขนาดพอเหมาะสำหรับปลูก
# เก็บเกี่ยวต้นพันธุ์ภายหลังการตัดยอดประมาณ 10 เดือน หรือเมื่อมันสำปะหลังมีอายุประมาณ 12 เดือนหลังปลูก
=== '''การขยายพันธุ์โดยใช้ท่อนพันธุ์สั้น และตัดยอดต้นอ่อน''' ===
เป็นวิธีผสมผสานระหว่างการใช้ท่อนพันธุ์สั้นและการตัดยอดต้นอ่อนมาปลูก เพื่อให้ได้อัตราการขยายพันธุ์ที่สูงขึ้น สามารถลดข้อจำกัดหรืออุปสรรคในขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีอยู่ของ 2 วิธีการข้างต้น ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอน ดังนี้
# การปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์สั้น (ความยาว 10 เซนติเมตร) ตัดต้นพันธุ์ให้มีความยาวท่อนละ 10 เซนติเมตร ถือว่าเป็นขนาดสั้นปานกลาง ซึ่งสั้นกว่าท่อนพันธุ์ปลูกปกติ 0.5 เท่า ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำไปปลูกในแปลงได้โดยไม่ต้องเพาะชำในถุงก่อนซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนและไม่สะดวกในทางปฏิบัติ ต้นพันธุ์ขนาดดังกล่าวสามารถงอกได้ในสภาพแปลงปกติ หากฝนตกหรือมีการให้น้ำหลังปลูกให้ดินมีความชื้นพอเหมาะจะช่วยเพิ่มอัตราความงอกให้สูงขึ้นได้เช่นเดียวกับท่อนพันธุ์ยาวปกติ
# การตัดยอดต้นอ่อน (อายุ 4 เดือนหลังปลูก) เมื่อมันสำปะหลังอายุได้ 4 เดือนหลังปลูก ซึ่งเป็นช่วงที่มันสำปะหลังเริ่มทิ้งใบล่าง มีความสูงต้นประมาณ 80 – 120 เซนติเมตร ให้ตัดต้นออกที่ระดับความสูงจากพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร และเด็ดใบที่ติดอยู่ตามลำต้นออกให้หมด จะได้ลำต้นที่ยังอ่อนและมีสีเขียวอยู่ซึ่งสามารถนำไปตัดเป็นท่อนเพื่อปลูกในสภาพแปลงได้เช่นเดียวกับท่อนพันธุ์ปกติหากดินมีความชื้นเหมาะสม ท่อนพันธุ์จะงอกได้ดีเมื่อมีการเด็ดยอดของต้นพันธุ์ 3 วันก่อนที่จะตัดต้นไปขยายพันธุ์ และเมื่อปลูกขยายพันธุ์ในแปลงแล้วต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
# การปลูกขยายต้นอ่อน และบำรุงต้นตอเดิม หลังจากได้ต้นพันธุ์จากขั้นตอนที่ 2 แล้วนำมาตัดเป็นท่อน ให้ได้ความยาวท่อนพันธุ์ประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร นำไปแช่ในสารเคมีป้องกันเชื้อราตามอัตราแนะนำ จากนั้นนำขึ้นมาผึ่งลมไว้ให้แห้งก่อนนำไปปลูกในแปลงปกติซึ่งควรเป็นแปลงที่มีการเตรียมดินที่ดี และสามารถให้น้ำได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 1 – 2 เดือนหลังปลูก ส่วนแปลงต้นพันธุ์เดิมที่ตัดไว้ตอต้องให้น้ำเพื่อให้แตกลำต้นขึ้นมาใหม่ และตัดแต่งให้มีจำนวนลำไม่เกิน 4 ลำต่อต้น จะทำให้ได้ต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ขึ้น การจัดการด้านเขตกรรมอื่น ๆ ทำเช่นเดียวกับการปลูกทั่วไป
# การเก็บเกี่ยวต้นพันธุ์ ต้นพันธุ์ที่ได้จากการปลูกทั้งสองวิธีการสามารถเก็บเกี่ยวต้นพันธุ์พร้อมกันได้ คือ แปลงที่ปลูกโดยใช้ต้นพันธุ์อ่อนเก็บเกี่ยวต้นพันธุ์ที่อายุ 10 เดือนหลังปลูก และแปลงที่ไว้ตอสามารถเก็บเกี่ยวต้นพันธุ์ที่อายุ 10 เดือนหลังการตัดต้นไว้ตอ ซึ่งต้นพันธุ์ที่ได้จากทั้งสองแปลงจะมีคุณภาพต้นพันธุ์ใกล้เคียงกัน
== '''เทคนิคการตัดต้นไว้ตอมันสำปะหลัง''' ==
การไว้ตอมันสำปะหลังเป็นวิธีการตัดต้นพันธุ์ออกไปปลูกก่อน โดยยังไม่ขุดเก็บเกี่ยวผลผลิตหัวสดออกจากแปลง หลังตัดต้นพันธุ์ออกไปแล้วมันสำปะหลังจะแตกตาใหม่ขึ้นมาและสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นปกติ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างอาหารและนำไปสะสมที่รากทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อีกในภายหลัง การไว้ตอมันสำปะหลังมีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้
# การตัดต้นไว้ตอแนะนำให้ทำในฤดูปลูกต้นฝน เนื่องจากดินมีความชื้นเพียงพอสำหรับแตกตาใหม่ขึ้นมาภายหลังการตัดต้น ไม่แนะนำให้ทำในช่วงฤดูปลายฝน เนื่องจากหลังการตัดต้นจะกระทบแล้งยาวนาน ความชื้นในดินต่ำทำให้การแตกตาใหม่และการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ส่งผลให้ได้ต้นพันธุ์สั้น และไม่สมบูรณ์ ยกเว้นแปลงที่สามารถให้น้ำชลประทานในช่วงฤดูแล้งได้
# การตัดต้นพันธุ์ครั้งแรกควรทำที่อายุ 8 – 10 เดือน และขุดเก็บเกี่ยวหลังการตัดต้นครั้งแรกไปแล้ว 6 เดือนขึ้นไป หรือเมื่อมันสำปะหลังมีอายุประมาณ 16 – 18 เดือนหลังปลูก
# หลังการตัดต้นพันธุ์ครั้งแรกจะมีการสร้างลำต้นและใบขึ้นมาใหม่จำนวนมาก ควรตัดแต่งให้แต่ละต้นเหลือลำต้นหลักเพียง 2 – 3 ลำต่อต้น เพื่อให้ลำต้นมีความสมบูรณ์และมีจำนวนใบพอเหมาะสำหรับการเจริญเติบโต สร้างผลผลิต และปริมาณแป้งในหัว
# หลังการตัดต้นพันธุ์จะมีการแตกตาใหม่ขึ้นมาทำให้ต้องดึงอาหารที่สะสมไว้ในหัวมาใช้สร้างลำต้นและใบ ส่งผลให้ปริมาณแป้งในหัวต่ำลงในช่วง 1 – 3 เดือนแรก หลังจากนั้นผลผลิตหัวสดและปริมาณแป้งจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มอย่างเด่นชัดเมื่ออายุ 6 เดือนหลังการตัดต้น ดังนั้นจึงควรเก็บเกี่ยวที่อายุ 6 เดือนขึ้นไปหลังการตัดต้นครั้งแรก
71

การแก้ไข