132
การแก้ไข
บรรทัดที่ 643: | บรรทัดที่ 643: | ||
ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งในระบบการผลิตที่มีผลกระทบโดยตรงต่อความสูญเสีย ความเสียหาย คุณภาพของผลผลิตโดยหัวมันที่ทำการขุดแล้วหากไม่ได้รับการแปรรูปภายใน 2 วัน คุณภาพจะลดอย่างมาก (Thant, 1997 และ พร้อมพรรณ, 2549) และต้นทุนการผลิตมันสำาปะหลัง โดยพบว่าต้นทุนในการผลิตมันสำปะหลังนั้น ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวมีสัดส่วนการลงทุนสูงสุด (27%) รองลงมาได้แก่ค่าปุ๋ย ค่าเตรียมดิน ค่ากำจัดวัชพืช ค่าขนส่ง และค่าท่อนพันธุ์และแรงงานปลูกในสัดส่วนร้อยละ 18 17 16 13 และ 7 ตามลำดับ (สุรพงษ์ และคณะ, 2550) โดยค่าจ้างแรงงานเป็นสัดส่วน ค่าใช้จ่ายสูงสุดในขั้นตอนการเก็บเกี่ยว เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายในการผลิตพืชเศรษฐกิจหลักอื่นๆ ยกเว้นในการผลิตข้าว (Anuchit, 2007) ทั้งนี้เนื่องจากใช้แรงงานคนเป็นหลัก เพื่อการขุดหรือถอน การตัดส่วนที่เป็นหัวออกจากโคนต้น และรวบรวมขึ้นรถบรรทุกเพื่อการขนย้ายไปจำหน่าย และประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานเช่นเดียวกับการผลิตพืชอื่นในภาคเกษตร เนื่องจากแรงงานเคลื่อนย้ายสู่นอกภาคเกษตร ทั้งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และทำให้ค่าจ้างแรงงานในภาคเกษตรสูงขึ้นเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต | ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งในระบบการผลิตที่มีผลกระทบโดยตรงต่อความสูญเสีย ความเสียหาย คุณภาพของผลผลิตโดยหัวมันที่ทำการขุดแล้วหากไม่ได้รับการแปรรูปภายใน 2 วัน คุณภาพจะลดอย่างมาก (Thant, 1997 และ พร้อมพรรณ, 2549) และต้นทุนการผลิตมันสำาปะหลัง โดยพบว่าต้นทุนในการผลิตมันสำปะหลังนั้น ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวมีสัดส่วนการลงทุนสูงสุด (27%) รองลงมาได้แก่ค่าปุ๋ย ค่าเตรียมดิน ค่ากำจัดวัชพืช ค่าขนส่ง และค่าท่อนพันธุ์และแรงงานปลูกในสัดส่วนร้อยละ 18 17 16 13 และ 7 ตามลำดับ (สุรพงษ์ และคณะ, 2550) โดยค่าจ้างแรงงานเป็นสัดส่วน ค่าใช้จ่ายสูงสุดในขั้นตอนการเก็บเกี่ยว เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายในการผลิตพืชเศรษฐกิจหลักอื่นๆ ยกเว้นในการผลิตข้าว (Anuchit, 2007) ทั้งนี้เนื่องจากใช้แรงงานคนเป็นหลัก เพื่อการขุดหรือถอน การตัดส่วนที่เป็นหัวออกจากโคนต้น และรวบรวมขึ้นรถบรรทุกเพื่อการขนย้ายไปจำหน่าย และประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานเช่นเดียวกับการผลิตพืชอื่นในภาคเกษตร เนื่องจากแรงงานเคลื่อนย้ายสู่นอกภาคเกษตร ทั้งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และทำให้ค่าจ้างแรงงานในภาคเกษตรสูงขึ้นเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต | ||
* '''รถแทรกเตอร์ต้นกำลังในกระบวนการผลิตมันสำปะหลัง''' ต้นกำลังที่ใช้ในกระบวนการปลูกมันสำปะหลัง ทำหน้าที่ตั้งแต่กระบวนการเตรียมดิน การปลูก ดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวเป็นรถแทรกเตอร์นั่งขับแบบ 4 ล้อ ขนาด 35-90 แรงม้าเป็นต้น (ชัยยันต์, 2560) | |||
* '''เครื่องขุดมันสำปะหลัง''' กระบวนการปลูกมันสำปะหลังในปัจจุบัน ใช้รถแทรกเตอร์เป็นต้นกำลังในการเตรียมดินและมีลักษณะการปลูกแบบยกร่องและปักท่อนพันธ์เป็นเส้นตรงตามความยาวของแถว เครื่องขุดมันสำปะหลังส่วนใหญ่จึงออกแบบมาให้ใช้ในการขุดแบบเปิดหรือระเบิดดินออกด้านข้างเพื่อให้หัวมันและเหง้ามันสำปะหลังขึ้นมาอยู่ด้านบนผิวดิน ซึ่งการออกแบบหัวขุดในปัจจุบันมีหลากหลายรูปทรง เช่น ทรงเหลี่ยม ครึ่งวงกลม แบบหัวหมู และทำมุมการขุดอยู่ระหว่าง 30-33 องศา (สามารถ, 2543) การพัฒนาเครื่องมือในการเก็บเกี่ยวหรือที่เรียกว่า”เครื่องขุดมันสำปะหลัง”ในปัจจุบันมีความหลากหลายทั้งในด้านการออกแบบ วัสดุ รูปทรง และเครื่องต้นกำลัง โดยทั้งหมดนั้นมีเป้าหมายเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรจะยึดกับเครื่องต้นกำลังนั่นคือรถแทรกเตอร์ โดยรถแทรกเตอร์มีบทบาทในกระบวนการปลูกมันสำปะหลังหลายกระบวนการ ดังนั้นจึงพบว่าเครื่องขุดมันสำปะหลังส่วนใหญ่จึงเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งในรถแทรกเตอร์ชนิดของการต่อเชื่อมกับรถแทรกเตอร์แบบลากจูงเป็นหลัก (ชัยยันต์, 2560) อนุชิต (2553) รายงานว่าปัญหาระบบการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่มีสัดส่วนการลงทุนสูงสุดในระบบการผลิตมันสำปะหลัง อันเนื่องมากจากต้องใช้แรงงานคนเป็นหลักและประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 กิจกรรม คือ พัฒนาเครื่องขุดและเก็บหัวมันสำปะหลังแบบพ่วงติดท้ายรถแทรกเตอร์ ขนาด 50 แรงม้า เพื่อให้สามารถทำการขุดและเก็บรวมกองเหง้ามันสำปะหลังในคราวเดียวกัน ดำเนินการโดยสร้างชุดทดสอบ ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ออกแบบ สร้างและปรับปรุงแก้ไขเครื่องต้นแบบ มีส่วนประกอบหลักคือส่วนผาลขุด ส่วนการหนีบลำเลียง และกระบะบรรทุกชนิดลากพ่วง ทำงานโดยเหง้ามันสำปะหลังจะถูกขุดด้วยส่วนผาลขุด แล้วจะถูกหนีบจับและลำเลียงส่งมายังส่วนกระบะบรรทุก เพื่อนำมาเทรวมกองสำหรับการตัดหัวออกจากเหง้า และลำเลียงขึ้นรถบรรทุกต่อไป ผลการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ซึ่งมีผลผลิตเฉลี่ย 5.76 ตัน/ไร่ พบว่า เครื่องต้นแบบมีประสิทธิภาพการหนีบจับเฉลี่ยร้อยละ 88.38 ประสิทธิภาพการทำงาน ร้อยละ 67.13 อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมัน 4.31 ลิตร/ไร่ และมีการสูญเสียหัวมันรวมร้อยละ 3.47 โดยสูญเสียอยู่ในดิน และใต้ดินคิดเป็นร้อยละ 1.53 และ 1.94 ตามลำดับ ทั้งระบบการเก็บเกี่ยวมีอัตราการทำงาน 0.39 ไร่/ชั่วโมง สามารถลดแรงงานได้ 4.5 เท่า ของระบบการเก็บเกี่ยวเดิมที่ใช้แรงงานคนทุกขั้นตอน ผลการวิเคราะห์การลงทุนที่อายุการใช้งาน 7 ปี เพื่อทดแทนระบบการเก็บเกี่ยวแบบใช้แรงงานคนทั้งหมด แบบใช้เครื่องขุดมันสำปะหลังร่วมกับการใช้แรงงานคน และการจ้างเหมาขุด มีจุดคุ้มทุนหรือที่ 83.75, 121.39 และ 95.07 ไร่/ปี ตามลำดับ วิจัยและพัฒนาเครื่องมือตัดหัวมันสำปะหลังออกจากเหง้า เพื่อลดการใช้แรงงาน และเพิ่มความสามารถในการตัดตัดหัวมันสำปะหลังออกจากเหง้าภายหลังการขุดหัวและเหง้ามันสำปะหลังขึ้นมาจากดิน ซึ่งเป็นปัญหาลักษณะคอขวดที่สำคัญในระบบการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ดำเนินการโดยศึกษา เลือกใช้ และพัฒนาส่วนการตัดและส่วนการขับใบตัด ผลการศึกษาและพัฒนาได้เครื่องมือตัดแบบใบเลื่อยชักระบบนิวแมติกส์ มีความสามารถในการตัด 615 กิโลกรัม/ชั่วโมง ใกล้เคียงกับการตัดด้วยแรงงานหญิงในระบบการตัดหัวมันสำปะหลังออกจากเหง้าของระบบปฏิบัติเดิม ช่วยลดความเหนื่อยยากของแรงงาน แต่ต้นทุนสูงกว่า มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาต่อเพื่อเพิ่มความสมารถในการทำงานและมีความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้นต่อไป | |||
* '''การพัฒนาเครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังแบบเบ็ดเสร็จของไทย''' การพัฒนาเครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในปัจจุบัน เป็นการนำเอาขั้นตอนของการขุด การลำเลียง และขนย้ายเหง้ามันสำปะหลัง ติดตั้งและทำงานพร้อมกันในเครื่องเดียวกัน เริ่มต้นด้วยระบบการขุดเป็นการนำหัวขุดหรือผาลขุดติดตั้งในโครงไถที่สร้างขึ้นและเชื่อมต่อกับรถแทรกเตอร์ในระบบการต่อพ่วงแบบ 3 จุด Three-Point Hitch ทำหน้าที่ในการขุดเปิดร่องแยกมวลดินและเหง้ามันสำปะหลังออกจากกัน ระบบลำเลียงออกแบบเป็นลักษณะโซ่ปีกทำงานร่วมกับสายพานหรือแผ่นยางป้องกันการลื่นและช่วยสร้างแรงยึดเกาะ โดยใช้โซ่ปีกจำนวน 2 ชุด ทำงานโดยการหมุนในทิศทางตรงข้ามกัน (วิชา, 2552) ด้วยชุดเฟืองขับจากปั้มไฮดรอลิกส์ต่อผ่านระบบเพลาอำนวยกำลัง PTO เรียกลักษณะการลำเลียงแบบนี้ว่าการคีบ ซึ่งจะใช้ส่วนของลำต้นเหนือพื้นดินหลังการตัดต้นเป็นตำแหน่งในการคีบ ชุดโซ่ลำเลียงนี้จะต่อร่วมกับระบบการขุด เพื่อลำเลียงเหง้าพร้อมหัวมันสำปะหลังไปยังอุปกรณ์ขนย้ายที่มีลักษณะเป็นกระบะบรรทุกแบบมีล้อ ต่อพ่วงแบบกึ่งลากจูงกับชุดโครงขุดและลำเลียง เมื่อทำการเก็บเกี่ยวจนเต็มกระบะบรรทุกจะทำการเทรวมกองกันไว้เป็นจุดๆ เพื่อใช้แรงงานคนในการสับแยกเหง้าและลำเลียงขึ้นรถบรรทุกต่อไป จึงสรุปได้ว่ายังไม่สามารถช่วยลดการใช้แรงงานในกระบวนการขนย้ายรวมกอง และสับแยกเหง้าได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ระบบการลำเลียงที่กล่าวมานั้นมีชิ้นส่วนทางกลที่ต้องการการปรับตั้ง การหล่อลื่น การบำรุงรักษาเป็นพิเศษ ซึ่งในการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังจะมีฝุ่นละออง เศษวัสดุจำนวนมากส่งผลต่ออายุการใช้งานของระบบโซ่ลำเลียง รวมถึงความยาวของรถแทรกเตอร์ต้นกำลังรวมกับอุปกรณ์การขุด ระบบลำเลียงเหง้าและอุปกรณ์การขนย้ายเหง้ามันสำปะหลังที่มีการใช้งานแบบต่อพ่วงกึ่งลากจูง เมื่อทำการเก็บเกี่ยวจริงจะต้องใช้พื้นที่ในการเลี้ยวหัวงานมากเป็นพิเศษ ซึ่งไม่สะดวกในการทำการเก็บเกี่ยวในพื้นที่ที่หน้ากว้างของแปลงปลูกไม่สม่ำเสมอ และระบบการตัดแยกเหง้า ถือเป็นกลไกที่มีความสำคัญประการสุดท้ายของเครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังเนื่องจากเครื่องเก็บเกี่ยวที่กล่าวมาข้างต้นยังคงต้องใช้แรงงานคนในการตัดแยกเหง้า หากเครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังมีกระบวนการครบถ้วนและสามารถลดการใช้แรงงานคนได้จริง ต้องทำงานได้ครบบริบทในการขุด ลำเลียง และแยกเหง้า ไปในกระบวนการเดียวกัน แต่ในปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการแยกเหง้าเพียงในระดับห้องปฏิบัติการเท่านั้น (ชัยยันต์, 2560) | |||
* '''เครื่องลำเลียงมันสำปะหลังขึ้นรถบรรทุก''' เครื่องลำเลียงหัวมันสำปะหลังขึ้นรถบรรทุก เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อลดการใช้แรงงานคน เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวนั้นจะต้องใช้แรงงานพิเศษคือต้องเป็นแรงงานที่มีร่างกายแข็งแรงมาก ดังนั้นจึงทำให้ค่าจ้างแรงงานในส่วนนี้สูงกว่ากระบวนการรวบรวม หรือกระบวนการสับเหง้า ดังนั้นการใช้เครื่องมือดังกล่าว นอกจากจะช่วยในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายหรือการใช้แรงงานแล้วยังทำให้สามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานเรื่องการยกสิ่งของหนักได้อีกด้วย (ชัยยันต์ และเสรี, 2556) |
การแก้ไข