ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง"

บรรทัดที่ 563: บรรทัดที่ 563:
|}
|}
หมายเหตุ   ช่วงที่เหมาะสมที่แสดงข้างต้นเป็นการเก็บเกี่ยวเมื่อมันสำปะหลังมีอายุครบ 10-12 เดือนหลังปลูก ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงช่วงของฤดูฝนในแต่ละภูมิภาค หากจะเก็บเกี่ยวให้มีประสิทธิภาพต้องมีข้อมูลด้านภูมิอากาศมาใช้ประกอบการวางแผน
หมายเหตุ   ช่วงที่เหมาะสมที่แสดงข้างต้นเป็นการเก็บเกี่ยวเมื่อมันสำปะหลังมีอายุครบ 10-12 เดือนหลังปลูก ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงช่วงของฤดูฝนในแต่ละภูมิภาค หากจะเก็บเกี่ยวให้มีประสิทธิภาพต้องมีข้อมูลด้านภูมิอากาศมาใช้ประกอบการวางแผน
== '''ต้นทุนและการเก็บเกี่ยว''' ==
จากต้นทุนการผลิตมันสําปะหลังทั้งหมด มีค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวถึง 34.15 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็นค่าขนส่ง 24.39 เปอร์เซ็นต์ (สํานักงานเกษตรอําเภอลําสนธิจังหวัดลพบุรี, 2552) ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวเป็นค่าใช้จ่ายส่วนที่สําคัญที่สุดของต้นทุนการผลิตมันสําปะหลัง ทั้งนี้อาจเนื่องจากวิธีการเก็บเกี่ยวมันสําปะหลัง ส่วนใหญ่ใช้แรงงานคนในการขุดด้วยจอบ หรือใช้คานงัดถ้าหากดินมีความชื้นหรือพื้นที่ปลูกเป็นดินทรายมีความร่วนซุยมากก็อาจใช้วิธีการถอน และสําหรับพื้นที่ซึ่งเก็บเกี่ยวในหน้าแล้งดินแห้งหรือแข็งก็จะใช้จอบขุดแบบประยุกต์เพื่อช่วยทุ่นแรง หลังจากนั้นก็มีการสับหัวมันออกจากเหง้าแล้วขนส่งด้วยรถบรรทุกเข้าสู่โรงงานแปรสภาพต่อไป
         จากผลการศึกษาของ A. B. Sukra (1996) พบว่าขั้นตอนที่ต้องการแรงงานมากที่สุดเป็นขั้นตอนการเก็บเกี่ยวและรวบรวมหัวมันขึ้นรถบรรทุก โดยต้องการแรงงานเท่ากับ 54.5 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานทั้งหมดในการผลิตมันสําปะหลัง
         เนื่องจากการเก็บเกี่ยวมันสําปะหลัง ต้องใช้แรงงานจํานวนมากเช่น โรงงานผลิตแป้งมันขนาด 150 ตันแป้ง/วัน ต้องใช้หัวมันสําปะหลังสด 650–750 ตัน ซึ่งต้องใช้คนขุด 650–750 คนต่อวัน เป็นต้น (ศุภวัฒน์ปากเมย 2540) จากการศึกษาลักษณะของแรงงานที่ใช้ในการดําเนินงานภายหลังเก็บเกี่ยว (เชิดพงษ์, 2549) พบว่าโดยทั่วไปเป็นแรงงานภายในหมู่บ้านของเกษตรกรเอง และหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งมีทั้งแรงงานวัยทํางานทั้งเพศชายและหญิง และแรงงานเด็กการเก็บเกี่ยวในพื้นที่ของเกษตรกรรายย่อย โดยทั่วไปจะเก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลักในการดําเนินการจึงมีอัตราการเก็บเกี่ยวช้าและต้องรอรวบรวมผลผลิตหัวมันสดให้เต็มรถบรรทุกเพื่อประหยัดค่าขนส่งโดยทั่วไปใช้เวลารวบรวมประมาณ 1-3 วัน
== '''วิธีการขุดเก็บเกี่ยว''' ==
วิธีการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังของเกษตรกรไทยปัจจุบัน อาจจำแนกออกเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิมซึ่งขุดมันสำปะหลังด้วยแรงงานคนโดยใช้จอบ/อุปกรณ์ถอนต้น และตัดหัวมันออกจากเหง้าด้วยแรงงานคน และแบบที่เริ่มนิยมใช้งาน คือขุดด้วยเครื่องขุดมันสำปะหลัง และตัดหัวมันออกจากเหง้าด้วยแรงงานคน สำหรับวิธีการตัดหัวมันออกจากเหง้าภายหลังการเก็บเกี่ยวมีเพียงรูปแบบเดียว คือ ใช้แรงงานคนตัวหัวมันสำปะหลัง ก่อนลำเลียงขึ้นรถบรรทุก (ชัยยันต์, 2560)
เนื่องจากภายหลังการเก็บเกี่ยว จำเป็นต้องลำเลียงหัวมันสดออกจากแปลงเพื่อนำไปส่งยังโรงงานแปรรูปภายในวันเดียวกันให้หมด มิฉะนั้นหัวมันสดที่มีความชื้นสูงจะเกิดการเสื่อมสภาพและทำให้ปริมาณแป้งลดลงซึ่งมีผลต่อราคารับซื้อหัวมันสด ดังนั้นเพื่อประหยัดค่าขนส่ง เกษตรกรจึงพยายามเก็บเกี่ยวในแต่ละวันให้ได้ปริมาณหัวมันเต็มรถบรรทุก ซึ่งรถบรรทุกที่เกษตรกรจัดหาได้มักมีขนาด 6-9 ตัน ทำให้เกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวประมาณ 2-4 ไร่ต่อวัน ซึ่งหมายถึงเกษตรต้องจัดการให้มีการขุด 2-4 ไร่ต่อวัน จากนั้นจึงรวมกอง ตัดเหง้า และขนขึ้นรถบรรทุก ให้เสร็จสิ้นในช่วงบ่ายวันเดียวกัน (ชัยยันต์, 2560)
ดังนั้นการนำเครื่องจักรกลเกษตรเข้ามาใช้ทดแทนแรงงานคนในการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง จึงเป็นทางเลือกสำคัญที่จะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยวได้ ปัจจุบันพบว่ามีการนำเครื่องมือจักรกลเกษตรเข้ามาใช้ในกระบวนการปลูกและการเก็บเกี่ยว เนื่องจากปัญหาเรื่องต้นทุนในการจ้างแรงงานในภาคการเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้น (มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย, 2547)
[[ไฟล์:การขุดเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง.jpg|thumb|ภาพการขุดเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง]]
           เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้แรงงานคนทำการขุด ซึ่งนิยมการขุดโดยวิธีเหมาขุดและมีคนรับจ้างขุดมันเป็นกลุ่ม ๆ ส่วนราคาของการขุดนั้นขึ้นอยู่กับสภาพของดินแห้งหรือไม่ การขุดยากหรือง่าย และมันสำปะหลังนั้นมีหัวดีหรือไม่ดี หัวเล็กหรือหัวใหญ่ มีวัชพืชมากหรือน้อย ถ้าหากไม่ใช้วิธีเหมาขุดก็อาจใช้วิธีจ้างขุดรายวัน ซึ่งค่าจ้างแรงงานในการขุดวิธีนี้จะแพงกว่า แรงงานในการปลูกหรือกำจัดวัชพืช โดยวิธีการขุดนั้นจะทำการตัดต้นมันออกก่อนโดยเหลือเหง้าส่วนล่างของละต้นทิ้งไว้ประมาณ 30-50 เซนติเมตร จากนั้นก็ทำการขุดด้วยจอบ ถ้าหากดินมีความชื้นก็จะใช้วิธีถอนขึ้น หรือขุดตามหัวที่หักหลงเหลืออยู่ในดินอีกทีหนึ่ง ก็จะนำไปกอง ๆ จากนั้นจะทำการสับหัวมันออกจากเหง้า แล้วขนส่งสู่โรงงานแปรสภาพต่อไป โดยไม่ทิ้งไว้ในไร่ เพราะจะทำให้เน่าเสียได้ การทิ้งไว้นานเกิน 4 วัน จะเน่าเสียมาก (สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน, ม.ป.ป.) แต่ปัจจุบันเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ใหญ่ที่ไม่สามารถใช้แรงงานคนได้ ก็มักช้าเครื่องจักรกลทางการเกษตรซึ่งจะลดต้นทุนและเก็บเกี่ยวรวดเร็วกว่า
132

การแก้ไข