การใส่ปุ๋ยและปรับปรุงดินตามค่าวิเคราะห์ดิน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:28, 12 กรกฎาคม 2564 โดย กนกพร ฉัตรไชยศิริ(คุย | ส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย "== พีเอช (pH) == * '''ระดับปานกลาง (4.5-7.0)''' ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จ...")
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

พีเอช (pH)แก้ไข

  • ระดับปานกลาง (4.5-7.0) ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องมีการปรับปรุงเนื่องจากเป็นพิสัยที่ มันสำปะหลังเจริญเติบโตได้ดี
  • ระดับต่ำถึงต่ำมาก (3.5-4.5) ดินมีความเป็นกรดสูง ควรมีการยกระดับพีเอชโดยการใส่ปูน เช่น หินปูนบด โดโลไมต์ หรือวัสดุปรับปรุงดินที่มีฤทธิ์เป็นด่างอื่น ๆ รวมถึงมูลไก่ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีผลตกค้างเป็นกรด เช่น ปุ๋ยไนโตรเจนที่อยู่ในรูปแอมโมเนียมไนโตรเจน เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต และฟอสฟอรัสอาจใช้ในรูปของหินฟอสเฟต
  • สูงถึงสูงมาก (7.0-8.0) ดินมีความเป็นด่างสูง ควรใช้ปุ๋ยที่มีผลตกค้างเป็นกรด เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุปรับปรุงดินที่เป็นด่าง ควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยธาตุอาหารเสริมทางใบโดยเฉพาะสังกะสี หรือชุบท่อนพันธุ์ก่อนปลูกเพื่อลดปัญหาการขาดธาตุอาหารเสริมของมันสำปะหลัง

ปริมาณอินทรียวัตถุแก้ไข

  •  
    การปลูกถั่วพร้าเป็นพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ (ภาพได้รับอนุญาตจาก ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
    ระดับต่ำมาก (<1.0%) ควรมีการจัดการเพิ่มเติมอินทรียวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกโดยเฉพาะมูลไก่แกลบในอัตรา 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ควรพิจารณาเรื่องการปรับลดปุ๋ยไนโตรเจนลงบ้างเพื่อลดอาการเฝือใบ การใส่กากแป้งจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังในระยะยาวอาจส่งผลต่อการลดลงของค่าพีเอชดิน ซึ่งต้องมีการทดลองว่ามีผลต่อมันสำปะหลังอย่างไร การใช้กากแป้งที่มี C:N Ratio กว้างในปริมาณมาก ต้องระวังการเกิด N-immobilization และอาจทำให้พืชขาด N ได้ โดยเฉพาะในระยะแรก ๆ ของการเติบโตของมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นช่วงที่จะมีผลต่อการให้ผลผลิตที่สำคัญมาก และการไถกลบเศษเหลือของพืชลงไปในดินอย่างสม่ำเสมอ หรือการไถกลบพืชปุ๋ยสดจะช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน

ค่าความเค็มแก้ไข

มันสำปะหลังส่วนใหญ่จะปลูกในที่ดอน ดังนั้น จึงไม่ค่อยพบปัญหา ยกเว้นในบางบริเวณที่ปลูกอยู่ระหว่างรอยต่อของที่นาที่เป็นดินเค็มกับที่ดอน ซึ่งแก้ไขได้โดยการเพิ่มเติมวัสดุอินทรีย์ เช่น แกลบสด หรือเศษเหลือของพืชแล้วไถกลบ ควรหลีกเลี่ยงการใช้มูลไก่สด หรือมูลไก่แกลบ เนื่องจากเป็นวัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์ที่มีค่าความเค็มค่อนข้างสูง

ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์แก้ไข

  • ระดับต่ำมากถึงค่อนข้างต่ำ (<10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ควรใช้ปุ๋ยหลักที่เป็นสูตรเสมอ เช่น ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 หรือในเรโช 1:1:1 ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่
  • ปานกลางถึงระดับค่อนข้างสูง (10-25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ควรใช้ปุ๋ยหลักที่มีเรโชปุ๋ยประมาณ 2:1:2 หรือ 2:1:3 เช่นปุ๋ยสูตร 15-7-18 ฯลฯ
  • ระดับสูงถึงสูงมาก (>25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ใช้ปุ๋ยเคมีที่ไม่มีฟอสฟอรัสในรูปปุ๋ยเดี่ยวไนโตรเจน โพแทสเซียม หรือปุ๋ยผสม

โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้แก้ไข

  • ระดับต่ำมาก (<30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในกรณีของดินเนื้อหยาบ ประเภท ดินทรายจัด ควรใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น สูตร 15-15-15 ฯลฯ
  • ระดับต่ำ (30-60 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ควรใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น สูตร 15-15-15 หรือใส่ปุ๋ยสูตรดังกล่าวผสมกับปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในสัดส่วน 1:1
  • ระดับปานกลาง (60-90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ควรใส่ปุ๋ยที่มีเรโชปุ๋ย ประมาณ 2:1:2 หรือ 2:1:3 เช่น ปุ๋ยสูตร 15-7-18 ฯลฯ
  • ระดับสูง (>90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) เนื่องจากมีโพแทสเซียมสูงอยู่แล้ว แนะนำให้ใส่ปุ๋ยสูตรที่มีเรโช ประมาณ 1:1:0 เช่นสูตร 16-20-0 หรือปุ๋ยที่มีเรโช 2:2:1 เช่นปุ๋ยสูตร 16-16-8 ฯลฯ

ธาตุอาหารรองแก้ไข

(แคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ แมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ และกำมะถันที่เป็นประโยชน์)

   ทั้ง 3 ธาตุจะส่งผลต่อผลผลิตมันสำปะหลังเมื่อพบในดินที่ระดับต่ำถึงต่ำมาก อย่างไรตาม หากมีการปรับปรุงดินโดยใช้หินปูนบด หรือสารปูนไลม์อื่น ๆ ก็จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลเซียม ยิปซัมแก้ปัญหาการขาดแคลเซียม และกำมะถัน โดโลไมต์แก้ปัญหาการขาดแคลเซียม และแมกนีเซียม ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกหลาย ๆ ชนิด แก้ปัญหาการขาดแมกนีเซียม และกำมะถัน ทั้งนี้ไม่มีความจำเป็นต้องใส่ธาตุทั้ง 3 เพิ่มเติม โอกาสที่พืชจะขาดแคลเซียมและแมกนีเซียมได้จะเป็นกรณีของดินกรดจัด และดินทราย

ในกรณีที่ดินขาดธาตุอาหารรอง (Ca, Mg และ S) แนะนำให้ใช้ปุ๋ยธาตุอาหารรอง (Ca, Mg, S) เช่น ฟอสโฟยิปซัม (CaSO4.2H2O+P) ยิปซัม (CaSO4.2H2O) โดโลไมต์(CaCO3.MgCO3) ซัล-โป-แม๊กซ์ (MgSO4.K2SO4) โดยการใช้ฟอสโฟยิปซัม ยิปซัม และ โดโลไมต์ จะช่วยปรับปรุงสมบัติของดินที่มีปัญหาทางฟิสิกส์ไปด้วย เช่น ดินที่มีอัตราการแทรกซึมน้ำต่ำ ดินที่เกิดแผ่นแข็งปิดผิว กล่าวคือ มีคุณสมบัติเป็นทั้งปุ๋ยธาตุอาหารรอง และสารปรับปรุงดินไปพร้อม ๆ กัน ฯลฯ

ธาตุอาหารเสริมแก้ไข

 
สภาพของต้นมันสำปะหลังที่ขาดธาตุสังกะสี(ภาพได้รับอนุญาตจาก ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
 
สภาพแปลงมันสำปะหลังที่ขาดธาตุสังกะสี (ภาพได้รับอนุญาตจาก ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

โบรอนเป็นธาตุอาหารเสริมที่มันสำปะหลังต้องการในปริมาณน้อยมาก และไม่ค่อยพบรายงานว่ามีอาการขาดเกิดขึ้นในแปลงปลูกมันสำปะหลัง สำหรับธาตุทองแดง แมงกานีส และเหล็ก โดยทั่วไปไม่ค่อยพบอาการขาดในประเทศไทยโดยเฉพาะในดินที่มีพีเอชเป็นกรด ปัญหาที่พบมากที่สุดสำหรับมันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทยก็คือ การขาดธาตุสังกะสีโดยเฉพาะเมื่อปลูกในดินทรายจัด ดินด่าง หรือพื้นที่ดินที่ปลูกมันสำปะหลังต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนาน หรือมีการใช้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง การขาดสังกะสีมีผลทำให้มันสำปะหลังยืดต้นช้า พบแถบสีขาว หรือเหลืองบนใบอ่อน ใบอาจย่นหรือเปลี่ยนรูปร่าง อาจพบจุดแผลเซลล์ตายในใบล่าง และอาจรุนแรงทำให้ต้นตาย ส่งผลถึงความอยู่รอดและผลผลิตมันสำปะหลัง แก้ไขโดยการฉีดพ่นปุ๋ยซิงค์ซัลเฟตเฮปตะไฮเดรต หรือซิงค์ซัลเฟตโมโนไฮเดรตทางใบที่อัตรา 0.8 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบเมื่อมันสำปะหลังอายุ 1, 2 และ 3 เดือนหลังปลูก หรือชุบท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยธาตุสังกะสี (ซิงค์ซัลเฟตเฮปตะไฮเดรต หรือซิงค์ซัลเฟตโมโนไฮเดรต) ที่ละลายน้ำในอัตรา 0.4 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 15 นาที (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)[1]






การปรับปรุงดินโดยชีววิธีแก้ไข

การปรับปรุงดินเป็นการรักษาคุณภาพดิน เพื่อให้คงสภาพความอุดมสมบูรณ์ เพื่อใช้สำหรับเพาะปลูกได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงอย่างถูกวิธี ซึ่งการปรับปรุงดินนั้นมีหลายวิธี ได้แก่ การปลูกพืชแซม การคลุมดิน การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชคลุมดิน การใช้ปุ๋ยพืชสด การปลูกพืชบนพื้นที่ระหว่างแถวไม้ยืนต้น และการใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก วิธีการเหล่านี้ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ปรับปรุงโครงสร้างดิน ซึ่งสามารถใช้ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้

  • การปลูกพืชแซม เป็นการปลูกพืชหลากหลายชนิดในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ธาตุอาหารที่อยู่ในดินที่เกิดการชะล้างน้อยลง การปลูกพืชแซมจะช่วยดึงธาตุอาหาออกจากดินได้สูงขึ้นกว่าการปลูกมันสำปะหลังเพียงอย่างเดียว ในการทดลองการปลูกพืชแซมในประเทศไทย (Reinhardt Howeler and Tin Maung Aye, 2015 หน้า 108) พบว่าการ หลังจากการปลูกถั่วเหลือง หรือถั่วลิสงแซมกับมันสำปะหลังมานาน 24 ปี อินทรีวัตถุในดินมีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 1.0 % เป็น 1.2 หรือ 1.3 % ในขณะที่ปลูกมันสำปะหลังเพียงอย่างเดียวปริมาณอินทรียวัตถุจะลดลงเล็กน้อยเป็น 0.9 % เมื่อมีการบริหารจัดการที่ดีจากการปลูกพืชแซม จะลดการเสียหายของหน้าดิน การไถกลบเศษซากพืชแซมจะช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน
  • การคลุมดิน คือการปล่อยให้เศษซากพืชทิ้งไว้ที่ผิวดิน จะช่วยลดการเจริญเติบโตของวัชพืช ควบคุมอุณหภูมิ และรักษาความชื้นในดิน ช่วยป้องกันการเกิดการชะล้างของดิน ซึ่งถ้าดินโปร่งจะช่วยให้ต้นพันธุ์มันสำปะหลังลงปลูกได้โดยตรง วิธีการนี้เป็นการปลูกพืชโดยไม่ไถพรวน หรือพรวนดินน้อย เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน
  • การปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ธัญพืช หรือหญ้าต่างๆ ช่วยลดการเจริญเติบโตของเชื้อรา (Phytophthora spp.) และโรคพุ่มแจ้ ช่วยเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร นอกจากนี้ยังป้องกันการกระจายของเชื้อโรคจากซากมันสำปะหลังในฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา
  • การปลูกพืชคลุมดิน
  • การใช้ปุ๋ยพืชสด
  • การปลูกพืชบนพื้นที่ระหว่างแถวไม้ยืนต้น
  • การใส่ปุ๋ยคอก
  • ปุ๋ยหมัก

อ้างอิงแก้ไข

  1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556) เทคโนโลยี 52 สัปดาห์ มันสำปะหลัง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์:กรุงเทพฯ.