โรคลำต้นไหม้ (stem blight disease)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:17, 1 กรกฎาคม 2564 โดย กนกพร ฉัตรไชยศิริ(คุย | ส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย "เชื้อสาเหตุเกิดจากเชื้อรา ''Phoma eupyrena'' มีการเริ่มระบาดในปี...")
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

เชื้อสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phoma eupyrena มีการเริ่มระบาดในปี 2557 ในหลายพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ ระยอง สระแก้ว สระบุรี นครราชสีมา กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี ส่งผลให้เกษตรกรเกิดการขาดแคลนท่อนพันธุ์  เนื่องจากโรคดังกล่าวมีการแพร่ระบาดไปกับท่อนพันธุ์ได้ ทำให้มันสำปะหลังแห้งตายตั้งแต่ระยะ 1 – 2 เดือน

ลักษณะอาการ

เชื้อรามีการเข้าทำลายตรงรอยตัดส่วนบนของท่อนพันธุ์ ทำให้ยอดด้านบนแห้งตาย และเชื้อลามลงมาสู่โคนต้น บริเวณเปลือกลำต้นจะมีรอยปริแตก เป็นกลุ่มสปอร์เป็นเม็ดกลมสีดำปรากฏอยู่จำนวนมาก เมื่อยอดถูกทำลายจะทำให้มันสำปะหลังแตกตาข้างมากกว่าปกติ หากอาการรุนแรงต้นกล้าจะแสดงอาการใบเหลือง แห้ง ร่วง และยืนต้นตายในที่สุด

การแพร่ระบาด

โรคนี้มีการแพร่ระบาดไปกับท่อนพันธุ์

การป้องกันกำจัด

ใช้ท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์และปลอดโรค หลีกเลี่ยงท่อนพันธุ์ที่อ่อนเกินไป ก่อนปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรานาน 15 – 20 นาที โดยเลือกใช้สารเคมีดังนี้

ตารางที่1 สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา Phoma eupyrena

ชื่อสามัญ อัตราต่อน้ำ20 ลิตร
โปรคลอราซ (prochloraz 45% EC) 10 ซีซี
แมนเซ็ป (mancozeb 80% WP) 60 กรัม
ไพราโคสโตรบิน (pyraclostrobim 25% EC) 20 ซีซี
เมทาแลคซิล+แมนโคเซ็ป (metalaxyl+mancozeb 4%+64% WP) 80 กรัม
ฟลูโอไพแรม+ทีบูโคลนาโซน

(fluopyram+tebuconazole 20%+20% W/V SC)

10 ซีซี

หากไม่ทำการแช่ท่อนพันธุ์ และพบว่ามีการแพร่ระบาดรุนแรงในระยะ 1-2 เดือนหลังปลูก ควรพ่นสารกำจัดโรคดังตารางที่ 1 ให้ทั่วทั้งต้น (สำนักงานวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, 2559)