มันเส้นสะอาด (cassava chip)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:36, 1 กรกฎาคม 2564 โดย Salilthip(คุย | ส่วนร่วม)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

การแปรรูปมันสำปะหลังที่นิยมมากที่สุดคือการทำมันเส้น เมื่อเก็บเกี่ยวหัวมันสดแล้วนำมาตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ด้วยเครื่องตัด แล้วตากแห้งเพื่อส่งขายเป็นวัตถุดิบให้อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ หรืออุตสาหกรรมมันอัดเม็ด หรือใช้ทดแทนธัญพืชอื่นที่ให้พลังงาน เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี เพราะมีราคาต่ำกว่า โดยหัวมันสำปะหลังสดปริมาณ 2.5 กิโลกรัม จะผลิตเป็นมันเส้นได้ 1 กิโลกรัม[1] มันเส้น ประกอบไปด้วย แป้ง (polarimetric) 70-75 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 2 เปอร์เซ็นต์ ความชื้น 11 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 2 เปอร์เซ็นต์ และดินทราย 1 เปอร์เซ็นต์

ขั้นตอนการทำมันเส้นะอาด มีดังนี้แก้ไข

    1. ทำความสะอาดสิ่งเจือปนที่ติดมากับหัวมัน

    2. นำหัวมันที่สะอาดแล้วใส่เครื่องป้อน (กรณีที่ใช้เครื่องป้อน) หรือ ใส่เครื่องตัด หรือ ใช้มีดหั่นเป็นชิ้น ๆ

    3. นำชิ้นหัวมันที่หั่นแล้วไปตากแดดบนลานคอนกรีต (ลานตาก) หรือพื้นที่ปูด้วยวัสดุ เช่น เสื่อ ตะแกรงไม้ไผ่

    4. ระหว่างการตากแดดจะต้องใช้คราดพลิกด้าน มันเส้นทุก ๆ 1 - 2 ชั่วโมง อาจใช้คนงาน หรือรถ แทรกเตอร์ก็ได้ เมื่อมันเส้นแห้งดีแล้วก็ส่งขายต่อไป

ข้อดีของการใช้มันเส้นเป็นอาหารสัตว์แก้ไข

1. ประกอบด้วยแป้งเป็นหลัก สัตว์กระเพาะเดี่ยวและสัตว์ปีกย่อยได้ง่ายกว่าข้าวโพดเมล็ดและข้าวฟ่างเมล็ด และเป็นแหล่งแป้งและน้ำตาลที่ดีในการเร่งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในกระเพาะหมักของโค-กระบือ

2. มีการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อราโดยเฉพาะอะฟลาทอกซินน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวโพดเมล็ด

3. มักพบจุลินทรีย์กลุ่มแลคโตบาซิลลัสและยีสต์ที่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์ ช่วยให้สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพดี

4. สามารถใช้ทดแทนวัตถุดิบธัญพืช เช่น ข้าวโพดเมล็ด ข้าวฟ่างเมล็ด ปลายข้าว ซึ่งเป็นวัตถุดิบประเภทพลังงาน หรือแป้งเช่นเดียวกันได้อย่างเต็มที่ในสูตรอาหารสัตว์ทุกชนิด

เครื่องจักรกลผลิตมันเส้นแก้ไข

เครื่องหั่นชิ้นมันเส้นมีหลักการทำงานโดยป้อนหัวมันสำปะหลังเข้าสู่ส่วนทำความสะอาด ซึ่งใช้หลักการขัดสีของวัสดุกับผิววัตถุดิบในน้ำ ขัดผิวและล้างให้สะอาด แล้วลำเลียงส่งเข้าชุดใบมีดที่ใช้หลักการเฉือนได้เป็นชิ้นมันเส้นสะอาด เครื่องหั่นใช้ต้นกำลังขับในเพลาเดียวกันทำให้ทุกส่วนทำงานต่อเนื่องพร้อมกัน[2]

         เครื่องสับมันแบบจานนอนและเครื่องสับมันที่พัฒนาขึ้นสามารถสับมันเป็นแผ่นแต่ยังไม่สม่ำเสมอเท่าที่ควร ซึ่งถ้าเป็นลักษณะของมันเส้นที่ผ่าน การสับด้วยเครื่องสับแบบจานรูของลานมันสำปะหลังทั่วไปจะมีลักษณะเป็นก้อนไม่สม่ำเสมอเช่นกัน[3]

         จานตัดของเครื่องตัดแบบจานหมุน โดยดัดแปลงจานตัดแบบเดิมที่ทำให้ชิ้นมันมีขนาดไม่แน่นอน และมีขนาดใหญ่ ทำให้การตากใช้เวลานาน เนื่องจากต้องการให้ชิ้นมันมีขนาดเล็กลง และมีรูปแบบของชิ้นมันที่เป็นรูปแบบเดียวกันมากขึ้น ซึ่งหลังการออกแบบพบว่าสมรรถนะการตัดลดลงจาก 9-11 ตันต่อชั่วโมง เป็น 6-8 ตันต่อชั่วโมง และขนาดชิ้นเล็กลง โดยชิ้นมันมีขนาดเฉลี่ย 5×2.4×0.6 เซนติเมตร[4]

         เครื่องสับมันสำปะหลังแบบใบมีดโยก สำหรับผลิตชิ้นมันเส้นสะอาดเพื่อเป็นส่วนผสมอาหารสำหรับโคนม เครื่องต้นแบบมีส่วนประกอบหลักคือ ชุดทำความสะอาดหัวมันสำปะหลังที่มีลักษณะเป็นตะแกรงหมุนเพื่อแยกสิ่งเจือปน ชุดป้อนหัวมันเข้าสู่ชุดใบมีดสับ ชุดใบมีดสับสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นรูปแบบการสับตามขวาง และตัดแยกชิ้นมันเป็นรูปทรงแท่งยาว[5]

ข้อดีข้อเสียของเครื่องสับหัวมันแก้ไข

เครื่องสับหัวมันที่พัฒนาขึ้นสามารถสับมันเป็นแผ่น ซึ่งถ้าเป็นลักษณะของมันเส้นที่ผ่านการสับด้วยเครื่องสับแบบจานรูของลานมันสำปะหลังทั่วไปจะมีลักษณะเป็นก้อนไม่สม่ำเสมอ ซึ่งไม่มีความเหมาะสมต่อการอบแห้งเนื่องจากการอบแห้งจะแห้งไม่พร้อมกัน ทำให้สูญเสียพลังงานในการลดความชื้นมากขึ้น ทั้งนี้ต้องมีการศึกษาการตัดหัวมันสำปะหลังสดด้วยเครื่องตัดชนิดอื่นเพื่อให้ได้ชิ้นมันที่มีขนาดสม่ำเสมอมากขึ้นสอดคล้องกับระยะเวลาที่เหมาะสมในการตากแห้งเพื่่อลดความชื้น และลดการเกิดชิ้นมันขนาดเล็กซึ่งเป็นต้นเหตุของฝุ่นผง จะเป็นการปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการผลิตมันสำปะหลังเส้นของประเทศให้สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นผลดีกับเกษตรกรผู้ผลิตหัวมันสำปะหลังสด และผู้ประกอบการโรงงานมันเส้นรวมทั้งทำให้การส่งออกผลิตภัณฑ์มันเส้นไปต่างประเทศมีความยั่งยืน และเป็นที่น่าเชื่อถือในระยะยาวต่อไป[3]

อ้างอิงแก้ไข

  1. มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย. สืบค้น 10 มีนาคม 2564. https://www.tapiocathai.org/Mainpage.html.
  2. วิรัตน์ หวังเขื่อนกลาง. 2555. เครื่องหั่นชิ้นมันเส้น. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13. หน้า 148-155.
  3. 3.0 3.1 อนุชิต ฉ่ำสิงห์, ปรีดาวรรณ ไชยศรีชลธาร, ปรีชา อานันท์รัตนกุล, นิทัศน์ ตั้งพินิจกุล, จิราวัสส์ เจียตระกูล, ประสาท แสงพันธุ์ตา, วุฒิพล จันทร์สระคู, ศักดิ์ชัย อาษาวัง และกอบชัย ไกรเทพ. 2558. วิจัยและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับทำมันเส้นสะอาด. กรมวิชาการเกษตร: 28 หน้า.
  4. Thanh, N.C., S. Muttamara, B.N. Lohani, B.V.P.C. Raoand and S. Burintaratiku. 1979. Optimization of drying and pelleting techniques for tapioca roots. Environmental Engineering division Asian Institute of technology Thailand.
  5. ธวัชชัย ทิวาวรรณวงศ์ และ วิรัตน์ หวังเขื่อนกลาง. 2548. การศึกษาเครื่องสับมันสำปะหลังแบบใบมีดโยกสำหรับผลิตชิ้นมันเส้น. การประชุมวิชาการครั้งที่ 6 ประจำปี 2548 สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย.