ประเทศไทยมีการปลูกมันสำปะหลังเป็นจำนวนมากถึง 25.57 ล้านตัน ในปี 2520-2551 (สำนักงานเศษฐกิจการเกษตร, 2551ก) และมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นทุก ๆ ปี โดยในปี 2563 พบว่าประเทศไทยมีเนื้อที่เพาะปลูกรวมทั้งประเทศ 9.44 ล้านไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 8.92 ล้านไร่ ผลผลิต 28.10 ล้านตัน (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, http://www.oae.go.th, 10/04/2563) มีการส่งออกในรูปแบบต่าง ๆ และนำมาแปรรูปในอุตสาหกรรมแป้งและอาหารสัตว์ อีกทั้งนี้ยังนำมารับประทานในรูปของอาหารชนิดต่าง ๆ มันสำปะหลังเป็นพืชที่สามารถนำทุกส่วนมาใช้ประโยชน์ได้ ตั้งแต่ใบ ลำต้น ตลอดจนส่วนของราก อย่างไรก็ตามการใช้ประโยชน์มันสำปะหลังภายในประเทศส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่เพียงอุตสาหรรมแป้งและอาหารสัตว์ ส่วนที่นำมารับประทานก็เพียงเป็นอาหารว่าง ประเภทขนมหวานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วมันสำปะหลังถูกนำไปใช้เป็นอาหารหลักของมนุษย์มาเป็นเวลานานมาแล้ว โดยเฉพาะประเทศทางแถบทวีปแอฟริกา และอเมริกาใต้ ตลอดจนบางประเทศในทวีปเอเชีย ดังนั้นการใช้ประโยชน์ของมันสำปะหลังจึงมีมากมายดังต่อไปนี้ (สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน, ม.ป.ป.)


ประโยชน์ของมันสำปะหลังแยกตามส่วนต่าง ๆ

มันสำปะหลังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ใบ ลำต้น ตลอดจนส่วนของราก โดยใช้เป็นอาหาร นำมาแปรรูปในอุตสาหกรรมแป้งและอาหารสัตว์ สำหรับประเทศไทยส่วนใหญ่มักใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมแป้งและอาหารสัตว์ และเป็นสินค้าส่งออกในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง แป้งดัดแปร และมันสำปะหลังอัดเม็ด/มันเส้น (ตารางการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของประเทศไทย) ยังมีเพียงส่วนน้อยที่นำมาใช้เป็นอาหารโดยตรง เช่น ขนมมันสำปะหลังเชื่อม ขนมมันทิพย์ ขนมมันนึ่ง เป็นต้น

 
ภาพหัวสด

หัวสด

ส่วนหัวของมันสำปะหลัง เป็นส่วนรากที่ขยายใหญ่เพื่อสะสมอาหารที่เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต ที่สะสมอาหารมีปริมาณแป้งประมาณ 15 – 40 % มีกรดไฮโดรไซยานิก ( HCN )ซึ่งมีพิษ จะมีอยู่มากในส่วนของเปลือกมากกว่าเนื้อของหัว

1. ใช้เป็นอาหาร โดย ต้ม นึ่ง ย่าง อบ เชื่อม ตลอดถึงการนำมาหมักคลุกน้ำมันผสมเครื่องเทศ ถั่วลิสง หรือนำมาทำเป็นแป้งแล้วแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ ตลอดจนนำมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆ แล้วทอด

2. ใช้เป็นอาหารสัตว์ ทั้งที่เป็นหัวสด กากที่เหลือจากการทำแป้ง เปลือกของหัว

3. ส่งโรงงานอุตสาหกรรมทำแป้ง มันเส้น มันอัดเม็ด แอลกอฮอล์ ฯลฯ


 
ภาพใบมันสำปะหลัง

ใบ

ลักษณะใบมันสำปะหลัง เป็นแบบใบเดี่ยว การเกิดของใบจะหมุนเวียนรอบลำต้นก้านใบอาจมีสีเขียวหรือสีแดง ตัวใบหรือแผ่นใบ จะเว้าเป็นหยักลึกเป็นแฉกจำนวนหยักมีตั้งแต่ 3-9 หยัก 

ใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยใช้ใบสด หรือ ใบตากแห้งป่นผสมกับอาหารข้นเลี้ยงสัตว์


 
ภาพลำต้นมันสำปะหลัง

ลำต้น

ลำต้นของมันสำปะหลังเป็นลำต้นตั้งตรง สีของลำต้นแตกต่างกันไปตามพันธุ์ ส่วนที่อยู่ใกล้ยอดมีสีเขียว ส่วนแก่ที่ต่ำลงมาอาจมีสีน้ำเงิน สีเหลือง หรือสีน้ำตาล

1. เป็นท่อนพันธุ์สำหรับขยายพันธุ์

2. เป็นอาหารสัตว์ โดยใช้ส่วนยอดสำหรับเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยนำมาตากแห้งเป็นอาหารหยาบ


 
ภาพเมล็ดมันสำปะหลัง

เมล็ด

เมล็ดมันสำปะหลัง มีรูปร่างยาวรี มีสีน้ำตาล และมีลายดำ เมื่อแก่จะแตกดีดจากผลทำให้เมล็ดกระเด็นออกไป

1. ใช้สกัดน้ำมันที่มีคุณภาพดีสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยาได้

2. สำหรับนักปรับปรุงพืชอาจนำมาใช้สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ดีต่อไป


การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของประเทศไทย

การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของประเทศไทย
ปี 1 2 3 รวมส่งออก

 (1-3)

4 5 6 รวมมันสำปะหลัง

ส่งออกทั้งหมด (1-6)

แป้งมัน

 (Native Starch)

แป้งดัดแปร

(Modeified Starch)

ไข่มุก

(Pearl)

มันเส้น

(Chip)

มันอัเม็ด

(Pellet)

กาก

(Pulp)

ปริมาณ

(ตัน)

มูลค่า

(M.Bath)

ปริมาณ

(ตัน)

มูลค่า

(M.Bath)

ปริมาณ

(ตัน)

มูลค่า

(M.Bath)

ปริมาณ

(ตัน)

มูลค่า

(M.Bath)

ปริมาณ

(ตัน)

มูลค่า

(M.Bath)

ปริมาณ

(ตัน)

มูลค่า

(M.Bath)

ปริมาณ

(ตัน)

มูลค่า

(M.Bath)

ปริมาณ

(ตัน)

มูลค่า

(M.Bath)

2012 2,235,574 30,796 845,815 18,930 23,540 581 3,104,929 50,307 4,611,976 33,239 82,178 566 610,102 2,741 8,409,185 86,853
2013 2,445,612 34,880 897,351 20,038 27,005 636 3,369,968 55,554 5,755,376 39,515 58,866 407 521,171 2,531 9,705,381 98,007
2014 3,011,941 41,053 947,192 21,633 28,061 715 3,987,194 63,401 6,777,097 48,873 21,852 142 405,834 1,940 11,191,977 114,356
2015 2,923,441 41,167 905,028 21,447 29,658 771 3,858,127 63,385 7,259,774 51,869 38,861 291 525,551 1,780 11,682,313 117,325
2016 3,275,985 39,981 947,120 21,227 35,425 847 4,258,530 62,055 6,406,148 39,037 1,174 79 573,555 1,744 11,239,407 102,915
2017 3,133,778 35,059 1,010,734 20,757 31,757 737 4,176,269 56,553 6,445,350 36,524 35,685 200 515,020 1,795 11,172,324 95,072
2018 2,936,309 44,590 1,032,504 24,335 36,317 944 4,005,130 69,869 3,989,681 28,440 11,387 886 270,958 1,176 8,277,156 100,371
2019 2,835,484 38,500 1,038,610 23,740 40,759 1,030 3,914,853 63,271 2,402,555 16,278 12,328 100 265,434 1,127 6,595,170 80,776
2020 2,781,681 36,103 1,034,574 23,392 45,550 1,153 3,861,805 60,648 3,063,671 21,389 12,241 110 180,744 795 7,118,460 82,941
2021 256,086 3,378 85,695 1,896 2,578 63 344,359 5,337 495,069 3,771 4,640 36 28,258 139 872,325 9,282

(ที่มา: สมาคมแป้งมันสำปะหลัง website: http://www.thaitapiocastarch.org/th/information/statistics/export_tapioca_products, 25/03/2564)

ผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง

ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังหลักในประเทศไทย ประกอบไปด้วย มันเส้น มันอัดเม็ด แป้งมันสำปะหลังทั้งในรูปของแป้งดิบและแป้งดัดแปร และเอทอนอล ซึ่งทั้งหมดมีการนำไปใช้เป็นวัถตุดิบต่อเนื่องในหลายอุตสาหกรรม ตลาดส่งออกหลักของผลิตภัณฑ์มันเส้น คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งนำเข้ามันเส้นจากไทยมากกว่าร้อยละ 90 ของปริมาณทั้งหมดที่ส่งออก ส่วนผลิตภัณฑ์มันอัดเม็ดส่วนใหญ่จำหน่ายให้แก่โรงงานอาหารสัตว์หรือผู้ส่งออก โดยมีตลาดหลักคือ สหภาพยุโรป สำหรับแป้งมันสำปะหลังมีการจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ ตลาดส่งออกแป้งมันสำปะหลังหลักของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน และอินโดนีเซีย (ปรารถ และคณะ, 2552) ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมากเป็นอับดับหนึ่งของโลก (FAOSTAT, 2009) ในปีเพาะปลูก 2550-2551 ประเทศไทยมีปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังสูงถึง 25.57 ล้านตัน (สำนักงานเศษฐกิจการเกษตร, 2551ก) ซึ่งปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังยังมีแนวโนมจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากความต้องการมันสำปะหลังเพื่อใช้ในประเทศและเพื่อส่งออกยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ปรารถ และคณะ, 2552)

เนื่องจากหัวสำปะหลังมันสดไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน เน่าเสียหายได้ง่าย จึงมักจะมีการแปรรูปเพื่อให้สามารถเก็บไว้บริโภคได้นานวัน มักนำไปหมักก่อนแล้วจึงนำไปปรุงเป็นอาหาร เช่น นึ่ง ทอด ย่าง หรือ นำหัวสดไปบดใส่ถุงทับให้แห้งทิ้งไว้ 4 วัน ระหว่างนั้นจะเกิดการหมัก จากนั้นจึงนำไปทอด หรือ นำไปแช่ในน้ำไหลหลาย ๆ วัน แล้วนำไปนึ่งเพื่อเป็นอาหาร นอกจากใช้เป็นอาหารหลักแล้ว ยังทำอาหารได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็นแป้งมันเพื่อนำไปประกอบอาหาร หัวสดยังนำมาเป็นมันทอดได้โดยปอกเปลือกแล้วฝานเป็นแผ่นบาง ๆ ก่อนนำไปทอด คนไทยนิยมนำมาเชื่อมและย่าง ทำเป็นขนมมันนึ่งมะพร้าวและน้ำตาล (สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน, ม.ป.ป.)

มันเส้นสะอาด (cassava chip)

แป้ง (starch)

การใช้ประโยชน์จากกากมันสำปะหลังเพื่อผลิตเป็นน้ำตาล

สวลี และคณะ (2555) รายงานว่าประเทศไทยมีผลผลิตมันสำปะหลังเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยคิดเป็นประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณผลผลิตรวมทั้งโลก รองจากประเทศไนจีเรีย และบราซิล และมีผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของทั่วโลก จากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังมีส่วนเหลือเป็นกากมันสำปะหลัง 1.11 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตมันสำปะหลังที่เข้าโรงงานอุตสาหกรรม หรือ ประมาณสองล้านตันต่อปี หากสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จะเป็นการสร้างประโยชน์จากของเหลือทิ้งและลดปัญหาทางมลภาวะกับสิ่งแวดล้อมได้

จากการที่เชื้อจุลินทรีย์ในธรรมชาติจะย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ในกากมันสำปะหลัง โดยกากมันสำปะหลังสามารถนำมาผลิตสารตั้งต้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น สารตั้งต้นประเภทน้ำตาลนำไปใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม สารให้ความหวาน และผลิตเป็นเอทานอลได้

ลัดดาวัลย์ (2556) รายงานภาพรวมแล้วกากมันสำปะหลังมีโปรตีนอยู่ในช่วง 1.55–3.42 เปอร์เซนต์ ไขมัน 0.12–0.53 เปอร์เซนต์ เถ้า 1.70–5.73 เปอร์เซนต์ เยื่อใย 10.38 – 15.26 เปอร์เซ็นต์ และแป้ง 47.97–68.89 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามองค์ประกอบทางโภชนาการมีความแปรผันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น คุณภาพของมันสำปะหลังที่นำมาใช้ในกรรมวิธีการสกัดแป้ง สายพันธุ์มันสำปะหลัง อายุการเก็บเกี่ยว ความสมบูรณ์ของดิน และสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูก รวมทั้งกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันของแต่ละโรงงาน

Flour

เป็นแป้งที่ไม่ได้สกัดเยื่อใยออก ผลิตโดยนำหัวมันสดมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแห้งแล้วป่นให้ละเอียด จากนั้นร่อนด้วยตะแกรงร่อนแป้ง จะได้แป้งดิบที่สามารถนำมาใช้ทำขนมอบชนิดต่าง ๆ ได้คล้ายแป้งสาลี เช่น นำมาทำเค้ก แพนเค้ก ขนมปัง คุกกี้ พาย ใช้ทดแทนแป้งสาลีหรือแป้งข้าวเจ้าได้บางส่วนในอาหารบางชนิด (สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน, ม.ป.ป.)

การใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์

การใช้มันสำปะหลังในอุตสาหกรรม

นอกจากประโยชน์ด้านอาหารมนุษย์และสัตว์ มันสำปะหลังยังมีการใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมอีกหลายประการ เช่น การผลิตสารที่มีคุณสมบัติเป็นกาว การใช้ในอุตสาหกรรมไม้อัด กล่อง กระดาษ ผลิตอะซีโตน กลูโคส ผงชูรส เบียร์ วุ้นเส้น ใช้ในวงการแพทย์ เช่น เป็นส่วนผสมของยา ใช้ผลิตแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ได้ ปัจจุบันประเทศบราซิลใช้แอลกอฮอล์ที่ผลิตจากมันสำปะหลังในปริมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับน้ำมันเบนซินใช้กับรถยนต์ ส่วนในประเทศไทยมีโรงงานต้นแบบในการผลิตแอลกอฮอล์จากมันสำปะหลังเพื่อเป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ (สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน, ม.ป.ป.)

อ้างอิง