สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช

จาก Cassava
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ในการปลูกมันสำปะหลังในช่วงระยะเวลา 1 ปี มีศัตรูพืชเข้าขัดขวางการเจริญของมันสำปะหลังหลากหลายชนิด ดังเช่นเชื้อโรค แมลง และวัชพืช เมื่อเข้าทำลายส่งผลให้มีปริมาณผลผลิตลดลงหรือพืชเกิดอาการผิดปกติ ดังนั้นในการควบคุมโรค แมลง และวัชพืช ดังกล่าวจึงมีด้วยกันหลายวิธีทั้งการใช้สารเคมีในการควบคุมหรือการควบคุมทางชีวภาพ โดยมีการจำแนกดังนี้

การจำแนกสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช

  1. การจำแนกตามชนิดของศัตรูพืชที่ต้องการควบคุม
    1. สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลง (Insecticides) เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุมแมลง หรือสัตว์ที่ใกล้เคียงกับแมลง เห็บ (ticks) และแมงมุม (spiders)
    2. สารเคมีป้องกันและกำจัดไร (Acaricide หรือ Miticide) เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุมศัตรูพืช
    3. สารเคมีป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอย (Insecticides) เป็นสารเคมีที่ใช้ฆ่าไส้เดือนฝอย
    4. สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา (Fungicides) เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุม หรือยับยั้งการทพลายของเชื้อรา
    5. สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อแบคทีเรีย (Bactericides) เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุม หรือยับยั้งการทำลายของเชื้อแบคทีเรีย
    6. สารเคมีป้องกันและกำจัดวัชพืช (Herbicides) เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุม หรือทำลายของวัชพืชหรือพืชที่เราไม่ต้องการ
  2. การจำแนกตามคุณสมบัติทางเคมี
    1. สารอนินทรีย์ (Inorganic Pesticides) เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ได้มาจากแร่ธาตุต่างๆ เช่นสารหนู (arsenic) ทองแดง (copper) ตะกั่ว (lead) ดีบุก (tin) สังกะสี (zinc) เป็นต้น สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ในกลุ่มนี้ได้แก่ สารหนูตะกั่ว (Lead arsenate) สารหนูเขียว (Paris green) บอร์โด มิกซ์เจอร์ (Bordeaux mixture) เป็นต้น
    2. สารอินทรีย์สังเคราะห์ (Sythetic Organic Pesticides) เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ได้มาจากมนุษย์สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีธาตุคาร์บอน และไฮโดรเจน เป็นองค์ประกอบหลัก และอาจมีธาตุอื่นๆอยู่ด้วยเช่น คลอรีน ฟอสฟอรัส ออกซิเจน หรือไนโตรเจน เป็นต้น สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ในกลุ่มนี้ได้แก่ มาลาไธออน แคปแทน เป็นต้น
    3. สารอินทรีย์จากพืช (Derived Organic Pesticides) เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ได้มาจากมนุษย์สกัดมาจากส่วนต่างๆของพืช สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ในกลุ่มนี้ได้แก่ นิโคตินจากยาสูบ ไพรีธรัมจากพืชตระกูลเบญจมาศ เป็นต้น
    4. เชื้อจุลินทรีย์ (Microbial Pesticides) เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ได้มาจากจุลินทรีย์ต่างๆ ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ในกลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อไวรัส Nuclear Polyhedriosis Virus (NPV) เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เชื้อราบิวเวอเรีย เป็นต้น

การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง

ในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในแปลงปลูกสิ่งที่ต้องคำนึงในระดับต้นคือความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในแปลง โดยสารเคมีที่ใช้ส่งผลต่อมนุษย์ได้หลายระดับ อาจส่งผลต่อสุขภาพในอนาคตได้ ดังนั้นควรมีข้อปฏิบัติดังนี้

  1. อ่านฉลากกำกับโดยตลอดให้เข้าใจก่อนใช้และต้องปฏิบัติตามคำเตือนและข้อควรระวังโดยเคร่งครัด
  2. การผสมสารกำจัดศัตรูพืช อย่าใช้มือผสมให้ใช้ ไม้กวน หรือคลุกให้เข้ากัน
  3. อย่าใช้ปากเปิดขวดสารกำจัดศัตรูพืชหรือเป่าดูดสิ่งอุดตันที่หัวฉีดควรเปลี่ยนหัวฉีดใหม่หรือใช้ลวดเขี่ย
  4. การฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช ควรแต่งตัวให้มิดชิดเพื่อป้องกันมิให้ถูกละอองสาร
  5. ขณะฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช ควรอยู่เหนือลมเสมอและ หยุดฉีด เมื่อลมแรง
  6. อย่าสูบบุหรี่หรือรับประทานอาหารขณะใช้สารกำจัดศัตรูพืช
  7. อย่าล้างภาชนะบรรจุหรืออุปกรณ์เครื่องพ่นลงไปในทางน้ำ บ่อ คลอง ฯลฯ
  8. เมื่อเสร็จการใช้สารกำจัดศัตรูพืชแล้ว ให้ถอดเสื้อผ้าที่ใส่ออกซักแล้วอาบน้ำให้สะอาด
  9. หยุดฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืชตามกำหนดก่อนเก็บเกี่ยวพืชตามที่ระบุในฉลาก
  10. ถ้ารู้สึกไม่สบายให้หยุดฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช และรีบไปพบแพทย์พร้อมภาชนะบรรจุและฉลาก
  11. เก็บสารกำจัดศัตรูพืชไว้ในภาชนะเติมเท่านั้น อย่าถ่ายภาชนะโดยเด็ดขาด
  12. เก็บสารกำจัดศัตรูพืชไว้ในที่ปลอดภัย ห่างจากเด็ก สัตว์เลี้ยง อาหาร และเปลวไฟ
  13. ภาชนะบรรจุสารกำจัดศัตรูพืชเมื่อใช้หมดแล้วให้ทำลาย (พฤทธิชาติ, ม.ป.พ.)

การใช้สารเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ใช้ในอัตราส่วน ช่วงเวลาการใช้ และจำนวนครั้งตามคำแนะนำหน้าฉลาก
  2. ใช้สารเคมีให้ตรงกับชนิดของศัตรูพืช ถูกประเภท และถูกวิธี