เพลี้ยหอย

จาก Cassava
รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:20, 25 สิงหาคม 2564 โดย Kanokphorn Chatchaisiri(คุย | ส่วนร่วม)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

พบมีการแพร่ระบาดในแหลงปลูกมันสำปะหลังรุนแรงทางภาคตะวันออก เช่น ระยอง ปราจีนบุรี สระแก้ว ในช่วงฤดูปลูกปี 2557-2558 โดยมีการแพร่กระจายไปกับท่อนพันธุ์

เพลี้ยหอยเกล็ด

มีชื่อวิทยาศาสตร์ Parasaissetia nigra (Nietner) ลักษณะเด่นตัวเต็มวัยเพศเมีย มีลำตัวรูปวงรี ยาว 5.0-5.5 มิลลิเมตร กว้าง 3.8-4.0 มิลลิเมตร ระยะตัวอ่อน ผนังลำตัวมีสีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน ผนังลำตัวมีสีดำถึงน้ำตาลเข้ม และในช่วงวางไข่ลำตัวมีลักษณะนูนขึ้นสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ทำความเสียหายกับมันสำปะหลังด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณลำต้น หรือใบของมันสำปะหลัง มีพืชอาหารหลากหลายกว่า 400 ชนิดวงจรชีวิตเวลาประมาณ 45-60 วัน (อุดมศักดิ์,  2555)[1]

เพลี้ยหอยขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ Aonidomytilus albus (Cockerell) ตัวเต็มวัยเพศเมียมีแผ่นคล้ายเปลือกหอยแมลงภู่สีขาวคลุมลำตัว แผ่นลำตัวยาวประมาณ 1.7-2.5 มิลลิเมตร กว่างประมาณ 0.9-1.2 มิลลิเมตร เมื่อเปิดแผ่นปกคลุมลำตัวขึ้นจะพบตัวเพลี้ยหอยเกล็ดซึ่งมีขนาดเล็ก ลำตัวมีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองเข้ม ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ลำต้น ก้านใบ และหลังใบมันสำปะหลัง มีพืชอาหารกว่า 21 ชนิด วงจรชีวิตเวลาประมาณ 24-29 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ (อุดมศักดิ์,  2555)[1]

ลักษณะของเพลี้ยหอยเข้าทำลายบริเวณลำต้นของมันสำปะหลัง

การป้องกันกำจัด

ทำการแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสาร เช่น ไทอะมีโธแซม 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาคลอพริด 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งเป็นสารที่แนะนำมาใช้ในการกำจัดเพลี้ยแป้งได้ เมื่อพบการแพร่ระบาดในแปลงควรใช้สารเคมีที่ได้มีการแนะนำข้างต้นผสมกับ ไวท์ออย (white oil) อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยผสมในน้ำปริมาณน้อย คนให้สารละลายเข้ากันได้ดีก่อนเติมน้ำจนได้ปริมาตรตามต้องการ (อุดมศักดิ์,  2555)[1]

  1. 1.0 1.1 1.2 อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช.  2555. โรคและแมลงศัตรูของมันสำปะหลัง. สุพรีมพริ้นท์ จำกัด, กรุงเทพฯ.