ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระยอง 7"
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
บรรทัดที่ 60: | บรรทัดที่ 60: | ||
== อ้างอิง == | == อ้างอิง == | ||
[[หมวดหมู่:พันธุ์]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 12:09, 1 ธันวาคม 2564
มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 7 ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์ CMR 30-71-25 กับพันธุ์ OMR 29-20-118 ในปี 2535 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ผ่านการคัดเลือกและทำการประเมินพันธุ์เป็นระยะเวลาการทดลอง 12 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 – 2547[1]
ลักษณะประจำพันธุ์[2][3][แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
ลักษณะ | ระยอง 7 |
สียอดอ่อน | สีเขียว |
การมีขนที่ยอดอ่อน | ไม่มีขน |
สีก้านใบ | สีเขียวอ่อนอมชมพู |
ลักษณะใบ | ใบหอก |
ลักษณะหูใบ | หูใบสีเขียว ปลายยาวงอน |
ลักษณะทรงต้น/ระดับการแตกกิ่ง | ลำต้นโค้ง แตกกิ่งทำมุมแคบ 0 – 1 ระดับ |
สีลำต้น | สีน้ำตาลอ่อน |
สีของเปลือกหัว | สีขาวนวล |
ลักษณะหัว | กรวย |
สีเนื้อหัว | สีขาว |
ลักษณะเด่น | ความงอกสูง เจริญเติบโตเร็วในช่วง 1 – 2 เดือนแรก ไม่ค่อยแตกกิ่ง ผลผลิตสูง ทนแล้ง |
ข้อจำกัด | ไม่ต้านทานโรคใบไหม้และไรแดง |
เปอร์เซ็นต์แป้งในฤดูฝน (%) | 23 |
เปอร์เซ็นต์แป้งในฤดูแล้ง (%) | 27 – 29 |
ผลผลิตหัวสด (ตัน/ไร่) | 6.1 |
อ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
- ↑ มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2552. เอกสารวิชาการการปลูกมันสำปะหลังที่ดี
- ↑ กรมวิชาการเกษตร. 2552. การจำแนกพันธุ์มันสำปะหลัง. โรงพิมพ์สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ.
- ↑ กรมส่งเสริมการเกษตร. 2558. คู่มือการจำแนกพันธุ์มันสำปะหลัง. บริษัท ซัน แพคเกจจิ้ง (2014) จำกัด.