ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคใบด่างมันสำปะหลัง"
บรรทัดที่ 12: | บรรทัดที่ 12: | ||
โรคใบด่างมันสำปะหลังที่เกิดจากเชื้อไวรัสวงศ์ (Family) Geminiviridae สกุล (Genus) Begomovirus ซึ่งเป็นไวรัสที่มีอนุภาคเป็นทรงกลมคู่ (Geminate particle) มีขนาดเฉลี่ยโดยประมาณ 18x30 นาโนเมตร ลักษณะจีโนมมีจำนวน 2 โมเลกุล (Bipartite genomes) ประกอบด้วย DNA-A และ DNA-B โดยแต่ละจีโนมมีลำดับนิวคลีโอไทด์ขนาดประมาณ 2,700 เบส เป็นสายพันธุกรรมเป็นแบบดีเอ็นเอสายเดี่ยววงปิด (single stranded DNA, ssDNA) ไวรัสในวงศ์ Geminiviridae เป็นไวรัสสาเหตุโรคพืชที่สร้างความเสียหายแก่พืชทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น พืชตระกูลแตง มันสำปะหลัง มะเขือเทศ และฝ้ายเป็นต้น (Yadava ''et al''., 2010) นอกจากนี้ไวรัสใบด่างมันสำปะหลังยังมีพืชอาศัยที่สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมได้ เช่น พืชในวงศ์ Euphorbiacease (สบู่ดำ และละหุ่ง) และวงศ์ Solanaceae (ยาสูบ) (<ref>Alabi, O.J., F.O. Ogbe, R. Bandyopadhyay, P.L. Kumar, A.G. Dixon, J.D. Hughes and R.A. Naidu. 2008. Alternate hosts of African cassava mosaic virus and East African cassava mosaic Cameroon virus in Nigeria. Arch Virol. 153: 1743–1747.</ref>) | โรคใบด่างมันสำปะหลังที่เกิดจากเชื้อไวรัสวงศ์ (Family) Geminiviridae สกุล (Genus) Begomovirus ซึ่งเป็นไวรัสที่มีอนุภาคเป็นทรงกลมคู่ (Geminate particle) มีขนาดเฉลี่ยโดยประมาณ 18x30 นาโนเมตร ลักษณะจีโนมมีจำนวน 2 โมเลกุล (Bipartite genomes) ประกอบด้วย DNA-A และ DNA-B โดยแต่ละจีโนมมีลำดับนิวคลีโอไทด์ขนาดประมาณ 2,700 เบส เป็นสายพันธุกรรมเป็นแบบดีเอ็นเอสายเดี่ยววงปิด (single stranded DNA, ssDNA) ไวรัสในวงศ์ Geminiviridae เป็นไวรัสสาเหตุโรคพืชที่สร้างความเสียหายแก่พืชทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น พืชตระกูลแตง มันสำปะหลัง มะเขือเทศ และฝ้ายเป็นต้น (Yadava ''et al''., 2010) นอกจากนี้ไวรัสใบด่างมันสำปะหลังยังมีพืชอาศัยที่สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมได้ เช่น พืชในวงศ์ Euphorbiacease (สบู่ดำ และละหุ่ง) และวงศ์ Solanaceae (ยาสูบ) (<ref>Alabi, O.J., F.O. Ogbe, R. Bandyopadhyay, P.L. Kumar, A.G. Dixon, J.D. Hughes and R.A. Naidu. 2008. Alternate hosts of African cassava mosaic virus and East African cassava mosaic Cameroon virus in Nigeria. Arch Virol. 153: 1743–1747.</ref>) | ||
[[ไฟล์:Image1.png|thumb|ลักษณะของเชื้อไวรัสเป็นอนุภาคทรงกลมคู่ (Geminate particle) (Zhang ''et al.,'' 2001<ref>Zhang, W., N.H. Olson, T.S. Baker, L. Faulkner, M. Agbandje-McKenna, M.I. Boulton, J.W. Davies, R. McKenna. 2001. Structure of the Maize streak virus geminate particle. Sciencedirect. 279(2): 471-477.</ref>)|center]] | [[ไฟล์:Image1.png|thumb|ลักษณะของเชื้อไวรัสเป็นอนุภาคทรงกลมคู่ (Geminate particle) (Zhang ''et al.,'' 2001<ref>Zhang, W., N.H. Olson, T.S. Baker, L. Faulkner, M. Agbandje-McKenna, M.I. Boulton, J.W. Davies, R. McKenna. 2001. Structure of the Maize streak virus geminate particle. Sciencedirect. 279(2): 471-477.</ref>)|center|574x574px]] | ||
== '''ลักษณะอาการ''' == | == '''ลักษณะอาการ''' == | ||
ต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคจะแสดงอาการ ใบด่างเหลืองและบิดงอเสียรูปทรง อาการด่างมีหลายแบบ เช่น ด่างเขียวซีดสลับเขียวเข้ม ด่างเหลือสลับเขียว ใบหงิก หรือ หงิกเหลือง ใบย่อยบิดเบี้ยวหงิกงอ โค้งเสียรูปทรง ใบอ่อนและใบที่เจริญใหม่มีขนาดเล็กลง ยอดหงิก ต้นแคระแกร็น เจริญเติบโตได้ช้า หัวมีขนาดเล็กกว่าปกติ โดยมีลักษณะที่สังเกตได้ง่ายที่สุดอยู่ที่ใบ โดยใบของต้นมันสำปะหลังจะหงิกงอ พื้นใบไม่เรียบ สีออกด่างเขียวสลับกับเหลือง ลักษณะความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับอายุของต้นมันสำปะหลังขณะที่เชื้อเข้าทำลาย หากต้นมันสำปะหลังมีอายุน้อย จะพบอาการรุนแรงและชัดเจน หากต้นมันสำปะหลังได้รับเชื้อไว้รัสเมื่ออายุมาก อาการของโรคจะไม่รุนแรง ผลผลิตหัวสดอาจไม่ลดลงมาก นอกจากนี้ระดับความรุนแรงของโรคยังขึ้นอยู่กับพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูกอีกด้วย (<ref>ปิยะ กิตติภาดากุล, อัญชนา ท่านเจริญ, วันวิสา ศิริวรรณ์ และ สมบุญ ภาณุวัฒน์สุข. 2562. ไทยอาจต้องเลิกปลูกมันสำปะหลังหากไม่สามารถหยุดโรคใบด่างมันสำปะหลังได้ (ตอนที่ 1). เคหการเกษตร. 43(7): 171-174.</ref>) | ต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคจะแสดงอาการ ใบด่างเหลืองและบิดงอเสียรูปทรง อาการด่างมีหลายแบบ เช่น ด่างเขียวซีดสลับเขียวเข้ม ด่างเหลือสลับเขียว ใบหงิก หรือ หงิกเหลือง ใบย่อยบิดเบี้ยวหงิกงอ โค้งเสียรูปทรง ใบอ่อนและใบที่เจริญใหม่มีขนาดเล็กลง ยอดหงิก ต้นแคระแกร็น เจริญเติบโตได้ช้า หัวมีขนาดเล็กกว่าปกติ โดยมีลักษณะที่สังเกตได้ง่ายที่สุดอยู่ที่ใบ โดยใบของต้นมันสำปะหลังจะหงิกงอ พื้นใบไม่เรียบ สีออกด่างเขียวสลับกับเหลือง ลักษณะความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับอายุของต้นมันสำปะหลังขณะที่เชื้อเข้าทำลาย หากต้นมันสำปะหลังมีอายุน้อย จะพบอาการรุนแรงและชัดเจน หากต้นมันสำปะหลังได้รับเชื้อไว้รัสเมื่ออายุมาก อาการของโรคจะไม่รุนแรง ผลผลิตหัวสดอาจไม่ลดลงมาก นอกจากนี้ระดับความรุนแรงของโรคยังขึ้นอยู่กับพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูกอีกด้วย (<ref>ปิยะ กิตติภาดากุล, อัญชนา ท่านเจริญ, วันวิสา ศิริวรรณ์ และ สมบุญ ภาณุวัฒน์สุข. 2562. ไทยอาจต้องเลิกปลูกมันสำปะหลังหากไม่สามารถหยุดโรคใบด่างมันสำปะหลังได้ (ตอนที่ 1). เคหการเกษตร. 43(7): 171-174.</ref>) | ||
[[ไฟล์: | [[ไฟล์:แสดงลักษณะอาการโรคใบด่างมันสำปะหลัง.png|center|thumb|916x916px|แสดงลักษณะอาการโรคใบด่างมันสำปะหลัง]] | ||
== '''การประเมินโรค''' == | == '''การประเมินโรค''' == | ||
การประเมินโรคใบด่างมันสำปะหลังมีการประเมินอัตราการเกิดโรคในมันสำปะหลังที่มีอายุ 1 เดือน และทำการประเมินทุกเดือนจนกระทั่งมันสำปะหลังมีอายุครบ 4 เดือน การประเมินโรคทำโดยสำรวจมันสำปะหลังทุต้น จดบันทึกจำนวนต้นที่เป็นโรค ลักษณะอาการ ระดับความรุนแรง สาเหตุการติดเชื้อไวรัส (ท่อนพันธุ์หรือแมลงหวี่ขาว) โดยอ้างอิงจาก (<ref>Waller, J.M., J.M. Lenné and S.J. Waller. 2002. Plant Pathologist’s Pocketbook. CABI Pub., New York, USA. 528 pp. (การประเมินโรค)</ref>) | การประเมินโรคใบด่างมันสำปะหลังมีการประเมินอัตราการเกิดโรคในมันสำปะหลังที่มีอายุ 1 เดือน และทำการประเมินทุกเดือนจนกระทั่งมันสำปะหลังมีอายุครบ 4 เดือน การประเมินโรคทำโดยสำรวจมันสำปะหลังทุต้น จดบันทึกจำนวนต้นที่เป็นโรค ลักษณะอาการ ระดับความรุนแรง สาเหตุการติดเชื้อไวรัส (ท่อนพันธุ์หรือแมลงหวี่ขาว) โดยอ้างอิงจาก (<ref>Waller, J.M., J.M. Lenné and S.J. Waller. 2002. Plant Pathologist’s Pocketbook. CABI Pub., New York, USA. 528 pp. (การประเมินโรค)</ref>) | ||
อัตราการเกิดโรค = จำนวนพืชที่เป็นโรค x 100 | อัตราการเกิดโรค = จำนวนพืชที่เป็นโรค x 100 | ||
บรรทัดที่ 25: | บรรทัดที่ 24: | ||
ระดับความรุนแรงของโรค (Disease severity) อ้างอิงจาก Terry (1976) <ref>Terry, E. 1976. Description and evaluation of cassava mosaic disease in Africa. In Proc. An Interdisciplinary Workshop. Ibadan, Nigeria. pp. 53–54. (ระดับความรุนแรงโรค)</ref>ซึ่งแบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับ 1 ไม่แสดงอาการของโรค (Highly resistant) ระดับ 2 แสดงอาการด่างเล็กน้อยบนแผ่นใบ (Moderately resistant) ระดับ 3 แสดงอาการด่างเต็มบนแผ่นใบ และใบเริ่มม้วน ลดรูป (Tolerant) ระดับ 4 แสดงอาการด่างทั่วทั้งใบ ใบบิดม้วนงอ เริ่มลดรูป (Susceptible) และระดับ 5 แสดงอาการใบบิดม้วนงอ ใบลดรูปอย่างรุนแรง (Highly susceptible) (<ref>วันวิสา ศิริวรรณ์. 2561. โรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง. ที่มา: <nowiki>https://www.tapiocathai.org/P.html</nowiki>. วันที่สืบค้น 11 กุมภาพันธ์ 2563.</ref>) | ระดับความรุนแรงของโรค (Disease severity) อ้างอิงจาก Terry (1976) <ref>Terry, E. 1976. Description and evaluation of cassava mosaic disease in Africa. In Proc. An Interdisciplinary Workshop. Ibadan, Nigeria. pp. 53–54. (ระดับความรุนแรงโรค)</ref>ซึ่งแบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับ 1 ไม่แสดงอาการของโรค (Highly resistant) ระดับ 2 แสดงอาการด่างเล็กน้อยบนแผ่นใบ (Moderately resistant) ระดับ 3 แสดงอาการด่างเต็มบนแผ่นใบ และใบเริ่มม้วน ลดรูป (Tolerant) ระดับ 4 แสดงอาการด่างทั่วทั้งใบ ใบบิดม้วนงอ เริ่มลดรูป (Susceptible) และระดับ 5 แสดงอาการใบบิดม้วนงอ ใบลดรูปอย่างรุนแรง (Highly susceptible) (<ref>วันวิสา ศิริวรรณ์. 2561. โรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง. ที่มา: <nowiki>https://www.tapiocathai.org/P.html</nowiki>. วันที่สืบค้น 11 กุมภาพันธ์ 2563.</ref>) | ||
[[ไฟล์:Image568.png|center|thumb|910x910px|แสดงระดับความรุนแรงของโรค 5 ระดับ ]] | |||
== '''การแพร่ระบาด''' == | == '''การแพร่ระบาด''' == |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:04, 2 ธันวาคม 2564
ปัจจุบันโรคใบด่างมันสำปะหลังจัดเป็นโรคที่มีความสำคัญกับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอย่างมาก โดยโรคดังกล่าวสามารถทำความเสียหายต่อแปลงเกษตรกรได้ถึง 80-90% ส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตมันสำปะหลังได้
ประวัติการเกิดโรค[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
โรคใบด่างมันสำปะหลังพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2437 ในแถบชายฝั่งทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา หรือในปัจจุบันคือประเทศแทนซาเนีย โดยตั้งชื่อเชื้อไวรัสชนิดนี้ว่า African cassava mosaic virus (ACMV) จากนั้นเมื่อเจอโรคใบด่างมันสำปะหลังในแอฟริกาไม่ว่าประเทศใด เกิดจากเชื้อไวรัส ACMD ทั้งหมด จนกระทั่งพบเชื้อที่มีลักษณะเหมือน ACMD เกือบทุกประการ แต่ไม่ทำปฏิกิริยาทางเซรุ่มวิทยากับ anti ACMD โดยพบการแพร่ระบาดในประเทศ เคนย่า ทางทิศตะวันออกของทวีปแอฟริกา จึงเรียกเชื้อชนิดนี้ East african cassava mosaic virus (EACMD) เพื่อให้ทราบเชื้อเจ้าถิ่นอยู่ทางตะวันออก จากนั้นมีการค้นพบเชื้อสาเหตุโรค Cassava mosaic virus (CMD) ในมันสำปะหลังที่อยู่ในกลุ่ม Begomovirus ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกหลายชนิด คือ East african common cassava mosaic virus (EACCMV), East african cassava mosaic kenya virus (EACMKV), East african cassava mosaic malawi virus (EACMMV), East african cassava mosaic zanaibar virus (EACMZV) และ South african cassava mosaic virus (SACMV) ซึ่งพบการระบาดเฉพาะในแอฟริกา และอีก 2 ชนิด พบการแพร่ระบาดในประเทศอินเดีย ในปี พ.ศ. 2493 และประเทศศรีลังกา ในปี พ.ศ. 2529 คือ Indian cassava mosaic virus (ICMV) และ Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) เพื่อลดความสับสนในการเรียกชื่อ ปัจจุบัน the international committee on taxonomy of viruses (ICTV) ได้ใช้ชื่อรวมเรียกไวรัสในกลุ่มนี้ว่า Cassava mosaic Begomovirus (CMBs) หรือ Cassava mosaic geminiviruses (CMGs) ([1]; [2])
การแพร่ระบาดในโลกแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
มีการรายงานตรวจพบโรคใบด่างมันสำปะหลังครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประเทศกัมพูชา ในปี 2559 สายพันธุ์ Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMD) ([3]) ในความเป็นจริงอาจมีการแพร่ระบาดของโรคในประเทศกัมพูชาอยู่แล้วเป็นได้ เพราะไม่มีการสำรวจ ต่อมาโรคดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะในเขตจังหวัดเตนิน ทางภาคใต้ของประเทศเวียดนามซึ่งเริ่มพบการแพร่ระบาดรุนแรงในปี 2560 จากการสำรวจของภาคเอกชนและผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ คาดว่าผลผลิตมันสำปะหลังในเขตจังหวัดเตนิน ในปี 2560 และ 2561 มีประมาณผลผลิตลดลงประมาณ 40 % นอกจากนั้นมีการขนหัวมันสำปะหลังสดจากประเทศกัมพูชาเข้าไปจำหน่ายในโรงแป้งในเวียดนาม และเที่ยวกลับได้ขนท่อพันธุ์ที่ติดโรคใบด่างมันสำปะหลังจากเวียดนามกลับมาปลูกในประเทศกัมพูชา ทำให้โรคใบด่างมันสำปะหลังในกัมพูชาระบาดมากขึ้น ([4]) ส่วนในประเทศไทยนั้นได้มีการเริ่มพบการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังบริเวณชายแดนที่ติดกับประเทศกัมพูชา ในเดือน สิงหาคม- กันยายน ปี 2561 โดยคณะสำรวจจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ได้พบโรคใบด่างมันสำปะหลังเพียงไม่กี่ต้นในอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ อำเภอสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี หลังจากนั้นในปี 2562 สมาคมโรงแป้งมันสำปะหลังไทยได้รายงานว่า ในเดือนสิงหาคม 2562 พบการแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในพื้นที่ 13 จังหวัด 38 อำเภอ และมีการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่ต่างๆไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากสภาวะฝนแล้ง ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูกไปเมื่อต้นฤดูฝนเดือนมีนาคมถึง พฤษภาคม ปี 2562 มีความงอกต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรจำเป็นต้องซื้อท่อนพันธุ์จากพื้นที่ในเขตอำเภอเสิงสาง และครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ที่ติดโรคใบด่างมันสำปะหลังไปปลูกยังพื้นที่ต่างๆ ([5])
เชื้อสาเหตุ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
สาเหตุโรคเกิดจาก : เชื้อ Cassava mosaic virus
โรคใบด่างมันสำปะหลังที่เกิดจากเชื้อไวรัสวงศ์ (Family) Geminiviridae สกุล (Genus) Begomovirus ซึ่งเป็นไวรัสที่มีอนุภาคเป็นทรงกลมคู่ (Geminate particle) มีขนาดเฉลี่ยโดยประมาณ 18x30 นาโนเมตร ลักษณะจีโนมมีจำนวน 2 โมเลกุล (Bipartite genomes) ประกอบด้วย DNA-A และ DNA-B โดยแต่ละจีโนมมีลำดับนิวคลีโอไทด์ขนาดประมาณ 2,700 เบส เป็นสายพันธุกรรมเป็นแบบดีเอ็นเอสายเดี่ยววงปิด (single stranded DNA, ssDNA) ไวรัสในวงศ์ Geminiviridae เป็นไวรัสสาเหตุโรคพืชที่สร้างความเสียหายแก่พืชทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น พืชตระกูลแตง มันสำปะหลัง มะเขือเทศ และฝ้ายเป็นต้น (Yadava et al., 2010) นอกจากนี้ไวรัสใบด่างมันสำปะหลังยังมีพืชอาศัยที่สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมได้ เช่น พืชในวงศ์ Euphorbiacease (สบู่ดำ และละหุ่ง) และวงศ์ Solanaceae (ยาสูบ) ([6])
ลักษณะอาการ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
ต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคจะแสดงอาการ ใบด่างเหลืองและบิดงอเสียรูปทรง อาการด่างมีหลายแบบ เช่น ด่างเขียวซีดสลับเขียวเข้ม ด่างเหลือสลับเขียว ใบหงิก หรือ หงิกเหลือง ใบย่อยบิดเบี้ยวหงิกงอ โค้งเสียรูปทรง ใบอ่อนและใบที่เจริญใหม่มีขนาดเล็กลง ยอดหงิก ต้นแคระแกร็น เจริญเติบโตได้ช้า หัวมีขนาดเล็กกว่าปกติ โดยมีลักษณะที่สังเกตได้ง่ายที่สุดอยู่ที่ใบ โดยใบของต้นมันสำปะหลังจะหงิกงอ พื้นใบไม่เรียบ สีออกด่างเขียวสลับกับเหลือง ลักษณะความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับอายุของต้นมันสำปะหลังขณะที่เชื้อเข้าทำลาย หากต้นมันสำปะหลังมีอายุน้อย จะพบอาการรุนแรงและชัดเจน หากต้นมันสำปะหลังได้รับเชื้อไว้รัสเมื่ออายุมาก อาการของโรคจะไม่รุนแรง ผลผลิตหัวสดอาจไม่ลดลงมาก นอกจากนี้ระดับความรุนแรงของโรคยังขึ้นอยู่กับพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูกอีกด้วย ([8])
การประเมินโรค[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
การประเมินโรคใบด่างมันสำปะหลังมีการประเมินอัตราการเกิดโรคในมันสำปะหลังที่มีอายุ 1 เดือน และทำการประเมินทุกเดือนจนกระทั่งมันสำปะหลังมีอายุครบ 4 เดือน การประเมินโรคทำโดยสำรวจมันสำปะหลังทุต้น จดบันทึกจำนวนต้นที่เป็นโรค ลักษณะอาการ ระดับความรุนแรง สาเหตุการติดเชื้อไวรัส (ท่อนพันธุ์หรือแมลงหวี่ขาว) โดยอ้างอิงจาก ([9])
อัตราการเกิดโรค = จำนวนพืชที่เป็นโรค x 100
จำนวนพืชทั้งหมด
ระดับความรุนแรงของโรค (Disease severity) อ้างอิงจาก Terry (1976) [10]ซึ่งแบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับ 1 ไม่แสดงอาการของโรค (Highly resistant) ระดับ 2 แสดงอาการด่างเล็กน้อยบนแผ่นใบ (Moderately resistant) ระดับ 3 แสดงอาการด่างเต็มบนแผ่นใบ และใบเริ่มม้วน ลดรูป (Tolerant) ระดับ 4 แสดงอาการด่างทั่วทั้งใบ ใบบิดม้วนงอ เริ่มลดรูป (Susceptible) และระดับ 5 แสดงอาการใบบิดม้วนงอ ใบลดรูปอย่างรุนแรง (Highly susceptible) ([11])
การแพร่ระบาด[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
การแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสําปะหลังสามารถถ่ายทอดผ่านทางแมลงหวี่ขาวยาสูบ (Whitefly; Bemisia tabaci (Gennadius) Hemiptera: Aleyrodidae) ซึ่งเป็นการถ่ายทอดไวรัสแบบ persistent และท่อนพันธุ์ที่เป็นโรค ([12]) การแพร่กระจายของโรคสามารถเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และเป็นบริเวณกว้าง จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคร่วมกับการแพร่กระจายของแมลงหวี่ขาว รายงานพบว่า ในแมลงหวี่ขาวเคลื่อนที่ได้โดยอาศัยแรงลมในอัตรา 100 กิโลเมตรต่อปี หรือ 0.2 เมตรต่อวินาที (Legg, 2010) แมลงหวี่ขาวเป็นแมลงศัตรูพืชที่มีพืชอาศัยกว้าง เช่น กะเพรา โหระพา ผักชีฝรั่ง พืชตระกูลพริก มะเขือ มันฝรั่ง และพืชตระกูลแตง (Shah and Liu, 2013) เป็นต้น และถูกจัดว่าติดอันดับ 1 ใน 10 ของแมลงศัตรูพืชที่อันตรายที่สุด (Riordan, 2019)
การป้องกันกำจัด[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
1. ใช้พันธุ์ทนทานโรคใบด่างมันสำปะหลังเช่น เกษตรศาสตร์ 50 หรือ ระยอง 72 เป็นต้น
2. ใช้พันธุ์ปลอดโรคโดยไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่พบการระบาดของโรค หรือแหล่งที่พบอาการของโรค หรือท่อนพันธุ์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา หรือท่อนพันธุ์ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง หรือใช้ท่อพันธุ์ที่สะอาดและปลอดโรคปลูกในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคได้ (วันวิสา และคณะ 2563[13])
3. สำรวจแปลงมันสำปะหลังอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
4. กำจัดแมลงพาหะแมลงหวี่ขาวยาสูบ
4.1 การใช้ชีววิธี (ใช้แมลงอื่นมาจัดการ)
4.1.1 แตนเบียนแมลงหวี่ขาว (วงศ์ Aphelinidae สกุล Encarsia และสกุล Eretmocerus) ซึ่งมีหลายประเทศพยายามสำรวจแตนเบียนที่มีความสามารถควบคุมแมลงหวี่ขาวยาสูบที่มีประสิทธิภาพ การอาศัยแตนเบียนควบคุมควบคุมแมลงหวี่ขาวในธรรมชาติ อาจยังไม่เห็นผลชัดเจนในระยะสั้น แต่พบรายงานว่าสามารถควบคุมแมลงหวี่ขาวยาสูบ ได้ถึง 50% อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการควบคุมขึ้นอยู่กับสภาพที่อยู่ แหล่งอาหาร และความหนาแน่ของแตนเบียนด้วย
4.1.2 ด้วงเต่า สกุล Seranggium เป็นแมลงผู้ล่าชอบกินแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพิเศษ โดยสามารถกินตัวอ่อนแมลงหวี่ขาวยาสูบได้เป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น มีรายงานว่า ด้วง 1 ตัว สามารถกินตัวอ่อนของแมลงหวี่ขาวยาสูบได้ 400 ตัว ระยะตัวหนอนสามารถกินไข่หรือ ตัวอ่อนแมลงหวี่ขาวยาสูบได้ 25-50 ตัว ภายใน 24 ชั่วโมง
4.2 พ่นสารเคมีกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบดังนี้
อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
ไดโนทีฟูแรน 10% SL อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
ไทอะมีโทแซม 25% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
4.3 เฝ้าระวังการระบาด ของไวรัส ใบด่างในพืชอาศัยอื่นๆ ที่มีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะ โดยหลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของแมลงหวี่ขาวยาสูบ เช่น โหระพา กะเพรา ผักชีฝรั่ง พริก มะเขือ มันฝรั่ง และพืชตระกูลถั่ว และพืชอาศัยของเชื้อไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง เช่น สบู่ดำ ละหุ่ง บริเวณแปลงปลูกมันสำปะหลัง (ปิยะ และคณะ 2562[14] )
วิธีการผลิตท่อนพันธุ์สะอาด[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
การทำแปลงมันสำปะหลังปลอดโรค
ในการทำแปลงปลอดโรคใบด่างมันสำปะหลังมีวิธีการดังนี้
การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
- ก่อนอื่นควรเลือกใช้พันธุ์มันสำปะหลังที่เป็นโรคน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆหรือเรียกอีกอย่างว่าพันธุ์ทนทาน เช่น พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 72 เป็นต้น โดยจะหลีกเลี่ยงการใช้พันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค เช่น CMR89 ระยอง 11 เป็นต้น
การคัดท่อนพันธุ์ปลอดโรค[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
- จากนั้นทำการตรวจสอบการเกิดโรคใบด่างมันสำปะหลังในท่อนพันธุ์ โดยรอให้ใบอ่อนเกิดขึ้นก่อน จากนั้นทำการสังเกตลักษณะใบอ่อนหากไม่มีการแสดงอาการของโรคใบด่าง ที่เกิดอาการใบด่าง หงิกงอ หรือบิดเบี้ยวเสียรูป แสดงว่าท่อนพันธุ์ดังกล่าวปลอดโรคสามารถใช้เป็นท่อนพันธุ์เพื่อปลูกในฤดูกาลถัดไปได้
การเตรียมท่อนพันธุ์ก่อนปลูก[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
ควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมี เช่น
- ไทอะมีโทแซม 25% อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- อิมิดาโคลพิด 70% WG อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- ไดโนทีฟูเรน 10%WG อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เป็นเวลานาน 5-10 นาที เพื่อป้องกันกำจัดแมลงที่อาจติดมากับท่อนพันธุ์ และช่วยป้องกันแมลง เช่นแมลงหวี่ขาวเข้ามาทำลายได้ประมาณ 1 เดือน
การสำรวจแปลงมันสำปะหลัง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
ในการสำรวจแปลงมันสำปะหลังเพื่อตรวจสอบการมีโรคใบด่างมันสำปะหลังในแปลงปลูก ควรหมั่นเข้าตรวจโรคใบด่างเสมอ เมื่อพบอาการของโรคให้รีบทำลายทันที การสำรวจแปลงควรดำเนินการดังนี้
ครั้งที่ 1 สำรวจแปลงเมื่อมันสำปะหลังอายุ 1 หรือ 2 เดือน
ครั้งที่ 2 สำรวจเมื่อมันสำปะหลังอายุ 4 เดือน
ครั้งที่ 3 สำรวจมันสำปะหลังก่อนเก็บเกี่ยว
หากพบแมลงหวี่ขาวเฉลี่ยมากกว่า 3 ตัวต่อต้นทำการฉีดพ่นด้วยสารเคมี
- ไทอะมีโทแซม 25% อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- อิมิดาโคลพิด 70% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- ไดโนทีฟูเรน 10%WG อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
บนต้นมันสำปะหลังในแปลงที่พบใบด่างและแปลงข้างเคียง (พรศักดิ์, 2562[15])
การผลิตท่อนพันธุ์สะอาดด้วยวิธีเร่งรัด X20 และ X80[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
การผลิตท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดด้วยวิธีเร่งรัดเพื่อผลิตได้ต้นพันธุ์มันสำปะหลังปลอดโรคในปริมาณมาก และรวดเร็วเพื่อเพียงพอแก่เกษตรกรผู้ประสบปัญหาท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเป็นโรคใบด่างมันสำปะหลัง โดยมีวิธีการผลิต 2 รูปแบบดังนี้
การผลิตท่อนพันธุ์แบบเร่งรัด X20[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
ตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังขนาดประมาณ 5-6 เซนติเมตร โดยใช้ใบมีดตัดที่คมเพื่อไม่ให้ท่อนที่ได้มีลักษณะฉีกขาด ส่งผลต่ออัตราการเกิดราก แช่ท่อนพันธุ์ จากนั้นย้ายปลูกลงในวัสดุปลูก ส่วนผสมดังนี้ ขลุ่ยมะพร้าว แกลบดิบ พีทมอส ลงในถาดเพาะปลูก ทำการเพาะเลี้ยงในโรงเรือน รดน้ำเป็นระยะเวลา 1 เดือน นำออกจากโรงเรือนเพื่อปรับสภาพแวดล้อมเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ ย้ายลงปลูกในแปลงแบบน้ำหยดต่อไปได้
การผลิตท่อนพันธุ์แบบเร่งรัด X80[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
ตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังขนาดประมาณ 5-6 เซนติเมตร โดยใช้ใบมีดตัดที่คมเพื่อไม่ให้ท่อนที่ได้มีลักษณะฉีกขาด ส่งผลต่ออัตราการเกิดราก แช่ท่อนพันธุ์ จากนั้นย้ายปลูกลงในวัสดุปลูก ส่วนผสมดังนี้ ขลุ่ยมะพร้าว แกลบดิบ พีทมอส ลงในถาดเพาะปลูก ทำการเพาะเลี้ยงในโรงเรือน รดน้ำเป็นระยะเวลา 1 เดือน ตัดส่วนยอดให้เหลือ 1 ตา นำยอดไปปลูกในถาดเพาะชำ จากนั้นตัดต้นแม่ในข้อต่อไปในเดือนต่อไปทำซ้ำได้ประมาณเพิ่มขึ้น นำออกจากโรงเรือนไปปรับสภาพแวดล้อมเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ ย้ายลงปลูกในแปลงแบบน้ำหยด (วิจารณ์, 2562[16])
อ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
- ↑ โสภณ วงศ์แก้ว. 2560. ไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง: วายร้ายระดับโลก.
- ↑ ปิยะ กิตติภาดากุล, อัญชนา ท่านเจริญ, วันวิสา ศิริวรรณ์ และ สมบุญ ภาณุวัฒน์สุข. 2562. ไทยอาจต้องเลิกปลูกมันสำปะหลังหากไม่สามารถหยุดโรคใบด่างมันสำปะหลังได้ (ตอนที่ 1). เคหการเกษตร. 43(7): 171-174.
- ↑ Wang. L.X., X. Y. Cui and X.W. Wang. 2016. First Report of Sri Lankan cassava mosaic virus Infecting Cassava in Cambodia. The American Phytopathological Society. 100: 1029.
- ↑ Uke, A., T. X. Hoat, M. V. Quan, N. V. Liem, M. Ugaki, and K. T. Natsuaki. 2018. First Report of Sri Lankan Cassava Mosaic Virus Infecting Cassava in Vietnam. The American Phytopathologcal Society. 102:12.
- ↑ วิจารณ์ วิชชุกิจ และ เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์. 2563. “เกษตรศาสตร์ 50” พันธุ์มันสำปะหลังทนทานต่อโรคใบด่าง (CMD). เอกสารวิชาการ. สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย.
- ↑ Alabi, O.J., F.O. Ogbe, R. Bandyopadhyay, P.L. Kumar, A.G. Dixon, J.D. Hughes and R.A. Naidu. 2008. Alternate hosts of African cassava mosaic virus and East African cassava mosaic Cameroon virus in Nigeria. Arch Virol. 153: 1743–1747.
- ↑ Zhang, W., N.H. Olson, T.S. Baker, L. Faulkner, M. Agbandje-McKenna, M.I. Boulton, J.W. Davies, R. McKenna. 2001. Structure of the Maize streak virus geminate particle. Sciencedirect. 279(2): 471-477.
- ↑ ปิยะ กิตติภาดากุล, อัญชนา ท่านเจริญ, วันวิสา ศิริวรรณ์ และ สมบุญ ภาณุวัฒน์สุข. 2562. ไทยอาจต้องเลิกปลูกมันสำปะหลังหากไม่สามารถหยุดโรคใบด่างมันสำปะหลังได้ (ตอนที่ 1). เคหการเกษตร. 43(7): 171-174.
- ↑ Waller, J.M., J.M. Lenné and S.J. Waller. 2002. Plant Pathologist’s Pocketbook. CABI Pub., New York, USA. 528 pp. (การประเมินโรค)
- ↑ Terry, E. 1976. Description and evaluation of cassava mosaic disease in Africa. In Proc. An Interdisciplinary Workshop. Ibadan, Nigeria. pp. 53–54. (ระดับความรุนแรงโรค)
- ↑ วันวิสา ศิริวรรณ์. 2561. โรคไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง. ที่มา: https://www.tapiocathai.org/P.html. วันที่สืบค้น 11 กุมภาพันธ์ 2563.
- ↑ Dubern J, 1994. Transmission of African cassava mosaic geminivirus by the whitefly (Bemisia tabaci). Tropical Science, 34(1):82-91
- ↑ วันวิสา ศิริวรรณ์, นวลนภา เหมเนียม, จุฑาทิพย์ ถวิลอำพันธ์, สุกัญญา ฤกษ์วรรณ, กิ่งกาญจน์ เสาร์คำ, ศิริกาญจน์ หรรษาวัฒนกุล, ปภาวี พลีพรหม และ เฉลิมพล ภูมิไชย์. 2563. การศึกษาอัตราการเกิดโรคใบด่างมันสำปะหลังในท่อนพันธุ์สะอาด. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 51(2): 181–19.
- ↑ ปิยะ กิตติภาดากุล, อัญชนา ท่านเจริญ, วันวิสา ศิริวรรณ์ และ สมบุญ ภาณุวัฒน์สุข. 2562. ไทยอาจต้องเลิกปลูกมันสำปะหลังหากไม่สามารถหยุดโรคใบด่างมันสำปะหลังได้ (ตอนที่ 1). เคหการเกษตร. 43(7): 171-174.
- ↑ พรศักดิ์ เอี่ยมนาคะ. 2562. การผลิตต้นพันธุ์ปลอดโรค. ในการฝึกอบรมวิทยากรถ่ายทอดข้อมูลโรคใบด่างมันสำปะหลัง และเปิดโครงการขยายพันธุ์แบบเร่งรัด X20 และ X80 โดยมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย. วันที่ 13 ธันวาคม 2562 สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง. นครราชสีมา.
- ↑ วิจารณ์ วิชชุกิจ. 2562. การผลิตต้นพันธุ์ปลอดโรค. ในการฝึกอบรมวิทยากรถ่ายทอดข้อมูลโรคใบด่างมันสำปะหลัง และเปิดโครงการขยายพันธุ์แบบเร่งรัด X20 และ X80 โดยมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย. วันที่ 13 ธันวาคม 2562 สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง. นครราชสีมา.