ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช"

 
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 95: บรรทัดที่ 95:
                             กลุ่ม C สารที่มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งการหายใจ (C: respiration)
                             กลุ่ม C สารที่มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งการหายใจ (C: respiration)


#                              กลุ่ม D สารที่มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์กรดอะมิโน และโปรตีน (D: amino acid and protein synthesis)
                             กลุ่ม D สารที่มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์กรดอะมิโน และโปรตีน (D: amino acid and protein synthesis)


                             กลุ่ม E สารที่มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งการส่งสัญญาณเข้าสู่เซลล์ (E: signal transduction)
                             กลุ่ม E สารที่มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งการส่งสัญญาณเข้าสู่เซลล์ (E: signal transduction)

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 07:54, 22 พฤศจิกายน 2564

ในการปลูกมันสำปะหลังในช่วงระยะเวลา 1 ปี มีศัตรูพืชเข้าขัดขวางการเจริญของมันสำปะหลังหลากหลายชนิด ดังเช่นเชื้อโรค แมลง และวัชพืช เมื่อเข้าทำลายส่งผลให้มีปริมาณผลผลิตลดลงหรือพืชเกิดอาการผิดปกติ ดังนั้นในการควบคุมโรค แมลง และวัชพืช ดังกล่าวจึงมีด้วยกันหลายวิธีทั้งการใช้สารเคมีในการควบคุมหรือการควบคุมทางชีวภาพ โดยมีการจำแนกดังนี้

การจำแนกสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชแก้ไข

  1. การจำแนกตามชนิดของศัตรูพืชที่ต้องการควบคุม
    1. สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลง (Insecticides) เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุมแมลง หรือสัตว์ที่ใกล้เคียงกับแมลง เห็บ (ticks) และแมงมุม (spiders)
    2. สารเคมีป้องกันและกำจัดไร (Acaricide หรือ Miticide) เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุมศัตรูพืช
    3. สารเคมีป้องกันและกำจัดไส้เดือนฝอย (Insecticides) เป็นสารเคมีที่ใช้ฆ่าไส้เดือนฝอย
    4. สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา (Fungicides) เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุม หรือยับยั้งการทพลายของเชื้อรา
    5. สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อแบคทีเรีย (Bactericides) เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุม หรือยับยั้งการทำลายของเชื้อแบคทีเรีย
    6. สารเคมีป้องกันและกำจัดวัชพืช (Herbicides) เป็นสารเคมีที่ใช้ควบคุม หรือทำลายของวัชพืชหรือพืชที่เราไม่ต้องการ
  2. การจำแนกตามคุณสมบัติทางเคมี
    1. สารอนินทรีย์ (Inorganic Pesticides) เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ได้มาจากแร่ธาตุต่างๆ เช่นสารหนู (arsenic) ทองแดง (copper) ตะกั่ว (lead) ดีบุก (tin) สังกะสี (zinc) เป็นต้น สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ในกลุ่มนี้ได้แก่ สารหนูตะกั่ว (Lead arsenate) สารหนูเขียว (Paris green) บอร์โด มิกซ์เจอร์ (Bordeaux mixture) เป็นต้น
    2. สารอินทรีย์สังเคราะห์ (Sythetic Organic Pesticides) เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ได้มาจากมนุษย์สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีธาตุคาร์บอน และไฮโดรเจน เป็นองค์ประกอบหลัก และอาจมีธาตุอื่นๆอยู่ด้วยเช่น คลอรีน ฟอสฟอรัส ออกซิเจน หรือไนโตรเจน เป็นต้น สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ในกลุ่มนี้ได้แก่ มาลาไธออน แคปแทน เป็นต้น
    3. สารอินทรีย์จากพืช (Derived Organic Pesticides) เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ได้มาจากมนุษย์สกัดมาจากส่วนต่างๆของพืช สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ในกลุ่มนี้ได้แก่ นิโคตินจากยาสูบ ไพรีธรัมจากพืชตระกูลเบญจมาศ เป็นต้น
    4. เชื้อจุลินทรีย์ (Microbial Pesticides) เป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ได้มาจากจุลินทรีย์ต่างๆ ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ในกลุ่มนี้ได้แก่ เชื้อไวรัส Nuclear Polyhedriosis Virus (NPV) เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เชื้อราบิวเวอเรีย เป็นต้น

การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องแก้ไข

ในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในแปลงปลูกสิ่งที่ต้องคำนึงในระดับต้นคือความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในแปลง โดยสารเคมีที่ใช้ส่งผลต่อมนุษย์ได้หลายระดับ อาจส่งผลต่อสุขภาพในอนาคตได้ ดังนั้นควรมีข้อปฏิบัติดังนี้

  1. อ่านฉลากกำกับโดยตลอดให้เข้าใจก่อนใช้และต้องปฏิบัติตามคำเตือนและข้อควรระวังโดยเคร่งครัด (ดังภาพ)
  2. การผสมสารกำจัดศัตรูพืช อย่าใช้มือผสมให้ใช้ ไม้กวน หรือคลุกให้เข้ากัน
  3. อย่าใช้ปากเปิดขวดสารกำจัดศัตรูพืชหรือเป่าดูดสิ่งอุดตันที่หัวฉีดควรเปลี่ยนหัวฉีดใหม่หรือใช้ลวดเขี่ย
  4. การฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช ควรแต่งตัวให้มิดชิดเพื่อป้องกันมิให้ถูกละอองสาร
  5. ขณะฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช ควรอยู่เหนือลมเสมอและ หยุดฉีด เมื่อลมแรง
  6. อย่าสูบบุหรี่หรือรับประทานอาหารขณะใช้สารกำจัดศัตรูพืช
  7. อย่าล้างภาชนะบรรจุหรืออุปกรณ์เครื่องพ่นลงไปในทางน้ำ บ่อ คลอง ฯลฯ
  8. เมื่อเสร็จการใช้สารกำจัดศัตรูพืชแล้ว ให้ถอดเสื้อผ้าที่ใส่ออกซักแล้วอาบน้ำให้สะอาด
  9. หยุดฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืชตามกำหนดก่อนเก็บเกี่ยวพืชตามที่ระบุในฉลาก
  10. ถ้ารู้สึกไม่สบายให้หยุดฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืช และรีบไปพบแพทย์พร้อมภาชนะบรรจุและฉลาก
  11. เก็บสารกำจัดศัตรูพืชไว้ในภาชนะเติมเท่านั้น อย่าถ่ายภาชนะโดยเด็ดขาด
  12. เก็บสารกำจัดศัตรูพืชไว้ในที่ปลอดภัย ห่างจากเด็ก สัตว์เลี้ยง อาหาร และเปลวไฟ
  13. ภาชนะบรรจุสารกำจัดศัตรูพืชเมื่อใช้หมดแล้วให้ทำลาย (ฤทธิชาติ, ม.ป.พ.)

การใช้สารเคมีอย่างมีประสิทธิภาพแก้ไข

  1. ใช้ในอัตราส่วน ช่วงเวลาการใช้ และจำนวนครั้งตามคำแนะนำหน้าฉลาก
  2. ใช้สารเคมีให้ตรงกับชนิดของศัตรูพืช ถูกประเภท และถูกวิธี

สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชแก้ไข

แบ่งออกได้ 3 หัวข้อหลัก ดังนี้

สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงแก้ไข

การแบ่งกลุ่มของสารฆ่าแมลงตามช่องทางการเข้าทำลายแก้ไข

สารฆ่าแมลงในที่นี้จะรวมทั้งสารกำจัดไรศัตรูพืชด้วย เนื่องจากมีสารฆ่าแมลงบางชนิดสามารถใช้กำจัดไรศัตรูพืชได้ด้วย เนื่องจากไรจัดอยู่ในกลุ่มแมล สัตว์มี 8 ขา ดังนั้นก่อนการเลือกซื้อควรอ่านฉลากให้ดีว่าสามารถใช้กับชนิดของศัตรูพืชใดได้บ้าง แบ่งตามลักษณะการเข้าทำลายดังนี้

  1. ออกฤทธิ์แบบสัมผัส (Contact poisions) สารในกลุ่มนี้จำเป็นต้องพ่นให้ถูกตัวแมลงให้มากที่สุดจึงจะได้ผล ในขณะเดียวกันสารยังมีฤทธิ์ตกค้างยังอยู่บนใบพืชเมื่อแมลงสัมผัสภายหลังยังอาจทำให้แมลงตายได้ ในแมลงบางชนิดที่หลบซ่อนตัวอยู่ในใบม้วนเมื่อได้กลิ่นเหม็นอาจคลานออกมาจากที่หลบซ่อน ทำให้สัมผัสกับสารเคมีและตายได้เช่นกัน ซึ่งแบ่งออกได้ 3 แบบคือ ถูกตัวตายโดยตรง ถูกตัวตายโดยสารพิษตกค้าง และ ประเภทกินตาย
  2. ออกฤทธิ์แบบดูดซึม (Systemic) สารเคมีกลุ่มนี้มีคุณสมบัติดูดซึมเข้าไปในต้นพืชโดยอาจเข้าไปทางราก ทางใบ กิ่ง ลำต้น หรือจากส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชที่สัมผัสกับสาร แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนต่างๆโดยเฉพาะยอดอ่อนที่แตกใหม่ๆ สารดูดซึมมักมีเป้าหมายในการป้องกันกำจัดแมลงพวกปากดูด เช่นแมลงหวี่ขาว เป็นต้น แบ่งออกได้ตามการเข้าทำลายดังนี้
    1. ทางราก (Passing the root) กลุ่มสาร Neonicotinoids นีโอนิโคตินอยด์ มีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ด้วย เป็นสารฆ่าแมลงกลุ่มหนึ่งซึ่งมีการเข้าทำลายแมลงที่ระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้แมลงเป็นอัมพาตและตายภายใน 2-3 ชั่วโมง คล้ายกับสารนิโคตินซึ่งได้จากธรรมชาติ มีผลน้อยต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่มีพิษต่อผึ้งสูง สารไทอะมีโธแซมมีสูตรโครงสร้างแตกต่างจากสารนีโอนิโคตินอยด์อื่นๆเล็กน้อย โดยมีการละลายน้ำสูง และสามารถดูดซึมในลำต้นพืชได้ทันที
    2. ทางใบ (Passing the leaf) ได้แก่สารส่วนใหญ่ในกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต (Organophosphate) คาร์บาเมท (Carbamate) เช่น ไดเมโทเอต dimethoate, พิริมิคาร์บ pirimicarb และ ออกซามิล oxamyl เป็นต้น สารบางชนิดออกฤทธิ์แบบแทรกซึม ส่วนใหญ่มีการเคลื่นที่เป็นระยะทางสั้นๆ จากจุดที่พ่น เช่นเคลื่อนที่แทรกซึมผ่านผิวใบจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง เช่น อะบาเม็กติน abamectin, ไพรีพรอกซีนเฟน pyriproxyfen เป็นต้น
    3. สารประเภทสารรม (Fumigant) สารเคมีกลุ่มนี้มีคุณสมบัติในการระเหยเป็นไอได้ดี โดยทั่วไปไม่สามารถนำมาฉีดพ่นได้ มักใช้ในโรงเก็บที่มีผ้าใบ หรือพลาสติกคลุมมิดชิด เช่น เมทิลโบร์ไมด์ Methyl bromide, อลูมิเนียมฟอสไฟด์ Aluminium phosphide และ แมกนีเซียมฟอสไฟล์ Magnesium phosphide (พิสุทธิ์, 2563)[1]

สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชแก้ไข

แบ่งกลุ่มสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชตามคุณสมบัติดังนี้

ตามการออกฤทธิ์ต่อเชื้อสาเหตุโรคพืชแต่ละชนิดแก้ไข

เนื่องจากโรคพืชที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตจะเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์หลัก จึงมีการแบ่งประเภทสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชตามชนิดของเชื้อสาเหตุโรคพืชต่างๆ ดังนี้

  1. สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา
  2. สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อแบคทีเรีย
  3. สารเคมีป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอย
  4. สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อไวรัส

การแบ่งประเภทสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชตามบทบาทในการป้องกันกำจัดโรคพืชแก้ไข

  1. สารที่มีคุณสมบัติป้องกัน (Preventative activity) คือสารเคมีที่มีคุณสมบัติป้องกันไม่ให้เชื้อสาเหตุโรคพืชเข้าทำลาย โดยเมื่อฉีดพ่นสารเหล่านี้จะอยู่ที่ใบ เมื่อสปอร์เชื้อราตกลงบนใบพืชและงอกเป็น germ tube มาสัมผัสกับสารในกลุ่มนี้ที่อยู่บนใบ germ tube จะตายหรือไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ
  2. สารที่มีคุณสมบัติป้องกันกำจัดในช่วงเริ่มต้นของการเข้าทำลายและยังไม่ปรากฏอาการของโรค (Curative activity) สารเหล่านี้สามารถแทรกซึมเข้าไปในเซลล์พืชและยับยั้งพัฒนาการของโรคในช่วงเริ่มต้นที่ยังไม่แสดงอาการของโรค ซึ่งจะได้ผลดีมากเมื่อฉีดพ่นในช่วงเวลา 24-72 ชั่วโมงหลังการเข้าทำลาย สารชนิดนี้มีคุณสมบัติเป็นสารชนิดป้องกันเนื่องจากสารบางส่วนจะตกค้างที่ผิวใบ
  3. สารที่มีคุณสมบัติกำจัด (Eradicative activity) สารกลุ่มนี้มีความสามารถในการดูดซึมเข้าไปในเซลล์พืชและเคลื่อนที่ได้ในระยะใกล้ภายในใบ หรือระยะไกลสู่ยอดหรือราก สารชนิดนี้สามารถยับยั้งการพัฒนาของโรค ยับยั้งการเจริญของเชื้อในเซลล์พืช ยับยั้งการสร้างสปอร์หรือส่วนขยายพันธุ์ จำทำให้ลดการแพร่กระจายของเชื้อสาเหตุโรคพืชได้ด้วย

การแบ่งประเภทของสารเคมีตามคุณสมบัติการเคลื่อนย้ายในพืชแก้ไข

  1. สารประเภทสัมผัสตาย (Contact fungicides) สารประเภทนี้เมื่อฉีดพ่นสารจะตกค้างอยู่ที่ผิวใบ เมื่อสปอร์ตกลงบนใบเมื่องอก germ tube จะตายหรือไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ
  2. สารที่เคลื่อนที่ได้ในระยะใกล้ (Localized penetrant หรือ Locally systemic fungicides) คือสารเคมีที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคพืชที่อยู่บนผิวใบและภายในใบ โดยสามารถดูดซึมเข้าในใบและเคลื่อนย้ายในใบได้ระยะสั้นๆ
  3. สารที่เคลื่อนที่สู่ยอด (Acropetal penetrant หรือ Xylem-mobale หรือ Upwardly systemic fungicides) เป็นสารที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคพืชทั้งที่เจริญบนใบ ภายในใบ ลำต้นของพืช และส่วนเจริญของพืชเช่นยอด ตา ใบอ่อนได้ โดยสารมคุณสมบัติเคลื่อนย้ายไปตามท่อน้ำ (Xylem) สู่ด้านบนหรือไปยังยอดอ่อนในพืช
  4. สารที่เคลื่อนย้ายจากบนใบไปใต้ใบ (Translaminar fungicides) เป็นสารเคมีที่พัฒนาเพื่อควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคที่เจริญอยู่ใต้ใบได้ เช่น ราสนิม ราน้ำค้าง เป็นต้น โดยสารดังกล่าวมีคุณสมบัติสามารถเคลื่อนที่จากผิวใบไปใต้ใบได้
  5. สารประเภทดูดซึม (Systemic หรือ Amphimobile fungicides) เป็นสารเคมีที่สามารถเคลื่อนย้ายไปสู่ยอดและปลายรากไปสู่ยอด และปลายราก ตามท่อน้ำและท่ออาหาร (Phloem) สารในกลุ่มนี้สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อทั้งที่เจริญอยู่บนผิวพืช ภายในใบ รากและลำต้น
  6. สารที่เคลื่อนที่กระจายทั่วใบ (Mesostemic fumgicides) เป็นสารเคมีที่สามารถเคลื่อนย้ายไปบริเวณใกล้เคียงในรูปของไอหรือก๊าซได้ รวมทั้งยังถูกดูดซึมและเคลื่อนที่ไปใต้ใบได้ โดยสามารถยึดเกาะได้ดีบนผิวใบโดยยึดติดกับแว๊กซ์
  7. สารที่เคลื่อนที่ได้ (Mobile fungicides) สารประเภทนี้อาจเป็นสารชนิดดูดซึมหรือไม่ดูดซึม แต่สารมารถเคลื่อนย้ายจากบริเวณที่ฉีดพ่นไปยังบริเวณที่ไม่ถูกสารได้ โดยสารชนิดไม่ดูดซึมบางชนิดสามารถเคลื่อนย้ายในรูปของไอหรือก๊าซได้
  8. สารชนิดไม่ดูดซึม (Non-systemic fungicides) เป็นสารที่มีคุณสมบัติป้องกัน เมื่อฉีดพ่นสารจะอยู่ที่ผิวใบไม่สามารถแทรกซึมหรือถูกดูดซึมเข้าสู่ภายในต้นพืช การแพร่กระจายของสารอาจเกิดขึ้นพียงเล็กน้อยในรูปของไอระเหยหรือโดยการไหลไปตามน้ำ

การแบ่งประเภทสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชตามกลไกการออกฤทธิ์ในกิจกรรมเมตาบอไลต์ในเซลล์ของเชื้อสาเหตุโรคพืช (Breadth of metabolic activity)แก้ไข

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

  1. สารที่มีกลไกออกฤทธิ์เฉพาะจุด (Single-site fungicides) สารกลุ่มนี้จะส่งผลยับยั้งการทำงานเพียงหนึ่งจุดในกระบวนการเมตาบอไลต์ภายในเซลล์เชื้อสาเหตุ
  2. สารที่มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งหลายจุด (Multi-site fungicides) สารในกลุ่มนี้สามารถเข้าขัดขวางหรือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์หลายชนิดหรือส่งผลต่อกิจกรรมเมตาบอไลต์ภายในเซลล์ของเชื้อสาเหตุได้หลายกิจกรรมในเวลาเดียวกัน

การแบ่งกลุ่มสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชตามการจัดกลุ่มโดยคณะกรรมการติดตามการต้านทานสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช (Fungicides resistance action committee, FRAC)  แก้ไข

โดยองค์กร FRAC ได้จัดกลุ่มสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชตามคุณสมบัติทางเคมีของสารแต่ละชนิด โดยจัดแบ่งกลุ่มเป็น FRAC 1-46 และ FRAC M รวมทั้งจัดกลุ่มตามกลไกการออกฤทธิ์ (Mode of action) เพื่อใช้ประกอบคำแนะนำในการใช้สารป้องกันการเกิดการต้านทานของเชื้อสาเหตุโรคพืช โดยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ตามกลไกการออกฤทธิ์ 12 กลุ่มดังนี้

กลุ่ม A สาที่มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก (A: nucleic acid synthesis)

                             กลุ่ม B สารที่มีกลไกการออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส และการแบ่งเซลล์ (B: mitosis and cell division)

                             กลุ่ม C สารที่มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งการหายใจ (C: respiration)

                             กลุ่ม D สารที่มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์กรดอะมิโน และโปรตีน (D: amino acid and protein synthesis)

                             กลุ่ม E สารที่มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งการส่งสัญญาณเข้าสู่เซลล์ (E: signal transduction)

                             กลุ่ม F สารมีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ไขมันและส่งผลต่อความสมบูรณ์ของเยื่อหุ้มเซลล์ (F: lipid synthesis and membrane integrity)

                             กลุ่ม G สารมีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการชีวสังเคราะห์สเตอรอลในเยื่อหุ้มเซลล์ต่างๆ (G: sterol biosynthesis in membranes)

                             กลุ่ม H สารมีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการชีวสังเคราะห์ผนังเซลล์ (H: cell wall biosynthesis)

                             กลุ่ม I สารมีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสังเคราะห์เมลานินในผนังเซลล์ (I: melanin synthesis in cell wall)

                             กลุ่ม P สารที่มีคุณสมบัติชักนำให้เกิดความต้านทาน (P: host plant defense induction)

                             กลุ่ม U สารที่ไม่สามารถจำแนกกลุ่มได้ (U: unknown mode of action)

                             กลุ่ม M สารมีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งในเซลล์เชื้อสาเหตุโรคพืชหลายตำแหน่ง (M: multi-site contact activity)

การแบ่งกลุ่มสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชตามประเภทของสารเคมีแก้ไข

เป็นการจัดแบ่งตามชนิดหรือคุณสมบัติทางเคมีของสาร โดยสารแต่ละชนิดจะมีฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดเชื้อสาเหตุโรคพืชเหมือนหรือไม่เหมือนกันก็ได้ ปัจจุบันมีการแบ่งสารนี้ออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

  1. สารประกอบอนินทรีย์
  2. สารประกอบอินทรีย์
  3. สารประกอบอินทรีย์ประเภทดูดซึม
  4. สารปฏิชีวนะ (ธิดา, 2559)[2]

สารเคมีกำจัดวัชพืชแก้ไข

สารกำจัดวัชพืชสามารถแบ่งประเภทหรือกลุ่มโดยยึดเกณฑ์ต่างกัน ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ (Ashton and Craft, 1981)[3]

แบ่งตามขอบเขตของชนิดพืชที่ควบแก้ไข

  1. ประเภทเลือกทำลาย (Selective herbicides) สารเคมีที่ใช้ควบคุมพืชบางชนิด แต่ไม่มีผลหรือมีผลน้อยกับพืชบางชนิด โดยส่วนใหญ่ในท้องตลาดเป็นสารประเภทเลือกทำลาย คือ ไม่เป็นอันตรายหรือเพียงเล็กน้อยกับพืชที่ปลูก
  2. ประเภทไม่เลือกทำลาย (Nonselective herbicides) สารเคมีที่ใช้กำจัดหรือเป็นอันตรายกับพืชทุกชนิดที่ได้รับสารประเภทนี้เข้าไป

แบ่งตามลักษณะการใช้กับพืชแก้ไข

  1. ประเภทใช้ทางใบ (Foliar application) คือสารกำจัดวัชพืชที่เข้าสู่พืชทางใบหรือยอดอ่อน  สามารถแบ่งได้ดังนี้
    1. ประเภทสัมผัสหรือถูกตาย (contact herbicides) สารสามารถทำลายพืชได้เฉพาะส่วนที่สัมผัสสารเท่านั้น ไม่มีการเคลื่อนย้ายไปส่วนอื่นๆในพืช
    2. ประเภทซึมซาบ (Systermic หรือ translocated herbicides) สารที่เข้าสู่พืชแล้วสามารถเคลื่อนย้ายไปส่วนอื่นๆของพืชได้ โดยจะย้ายไปตามท่ออาหาร (phloem) เป็นส่วนใหญ่ และจะทำลายจุดต่างๆที่เคลื่อนย้ายไปถึง
  2. ประเภทใช้ทางดิน (Soil application) สารกำจัดวัชพืชที่เข้าสู่ทางรากหรือส่วนอื่นๆ ของพืชที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งรวมไปถึงใบเลี้ยงหรือยอดอ่อนก่อนจะโผล่พ้นผิวดินด้วย สารกำจัดวัชพืชชนิดนี้มีผลตกค้างในดิน โดยสารบางชนิดตกค้างได้นานเป็นปี ขึ้นอยู่กับชนิดและความเข้มข้นของสาร และสภาพแวดล้อม

แบ่งตามกลุ่มทางเคมี (Chemical classification)แก้ไข

โดย Ashton และ Craft (1981)[3] และ Klingman และ Ashton (1982)[4] ได้จำแนกตามประเภทและกลุ่มของสารกำจัดวัชพืชตามลักษณะทางเคมี ดังนี้

  1. ประเภทสารอนินทรีย์ (Inorganic herbicides) เช่น ammonium sulfamate (AMS), copper sulfate, calcium cyanamide, copper chelate, sodium chlorate, hexaflurate เป็นต้น โดยมีผลต่อพืชในลักษณะทำลายเซลล์พืชเป็นส่วนใหญ่
  2. ประเภทสารอินทรีย์ (Organic herbicides) โดยสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นกลุ่มต่างๆ ตามโครงสร้างหลักขององค์ประกอบทางชีวเคมี คือ

1 Aliphatics เป็นสารที่มีโมเลกุลประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอนต่อกันเป็นลูกโซ้โดยไม่มีส่วนที่เป็น ring

                                       2 Amides สารในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ใช้ทางดินแบ่งได้เป็นสองกลุ่มย่อย คือ Chloroacetamides เป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโต ลดการขยาย และการแบ่งเซลล์ และอีกกลุ่มย่อยเป็นสารที่มีผลต่อพืชแตกต่างกัน

                                       3 Benzoics สารเคมีใช้ในทางใบ และซึมซาบได้ มีผลต่อการเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ ทำให้เซลล์และเนื้อเยื่อพืชเจริญเติบโตอย่างไม่สมดุลย์ ในที่สุดทำให้พืชตายได้

                                       4 Bipyridiliums สารในกลุ่มนี้เป็นสารประเภทสัมผัสตาย อาจมีการเคลื่อนย้ายในพืชได้บ้างหากฉีดพ่นให้กับพืชในระยะที่ไม่มีแสงแดด โดยเข้าทำลายคลอโรฟิลทำให้พืชไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ และใบหรือส่วนอื่นของพืชที่มีสีเขียวเหี่ยวและร่วงในที่สุด

                                       5 Carbamates มีความสามารถในการเลือกทำลายสูงบางชนิดใช้ทางดิน บางชนิดใช้ทางใบ สามารถเคลื่อนย้ายในพืชได้ ส่งผลต่อพืชโดยยับยั้งการแบ่งเซลลืบริเวณราก และที่ใช้ทางใบสามารถยับยั้งการแบ่งเซลล์บริเวณใบและราก

                                       6 Dinitroanilines สารในกลุ่มนี้ใช้ในการเลือกทำลายโดยส่วนใหญ่ใช้ทางดิน ส่งผลต่อการยับยั้งการแบ่งเซลล์โดยเฉพาะราก ทำให้รากมีลักษณะโค้งงอนหรือสั้นกุด

                                       7 Diphenyl ethers มีการเลือกเข้าทำลายได้สูงใช้ในระยะก่อนพืชงอกหรืองอกใหม่ทางดิน สามารถเข้าสู่พืชได้ทางรากและใบ เคลื่อนย้ายในพืชได้น้อย ยับยั้งหรือขัดขวางการสร้างและถ่ายทอดพลังงานของ Chloroplast และ Mitochondria

                                       8 Nitriles เป็นกลุ่มสารที่มีการเลือกทำลายได้ต่ำ บางชนิดมีการใช้ทางดินบางชนิดใช้ทางใบ สาระสำคัญในกลุ่มนี้ คือ dichlobenil  bromoxynil และ ioxynil เช่น dichlobenil  ยับยั้งการเจริญเติบโตของยอดอ่อนหรือปลายราก

                                       9 Phenoxys เป็นกลุ่มสารที่มีการเลือกทำลายได้สูงโดยเฉพาะพืชใบกว้าง เป็นสารที่จัดอยู่ในกลุ่มฮอร์โมนพืช ลักษณะการทำลายเริ่มด้วยการเกิดอาการโค้งงอกของพืชแบบโค้งเล็ก จากดารเจริญของเนื้อเยื่อไม่เท่ากันส่งผลให้การลำเลียงน้ำและอาหารเป็นไปด้วยความลำบาก และตายในที่สุด

                                       10 Thiocarbamate เป็นกลุ่มสารที่มีการเลือกทำลายได้ค่อนข้างสูงโดยจะทำลายกับพืชใบแคบได้ดี ใช้ในการฉีดพ่นทางดิน และจะทำลายยอดอ่อนของพืชที่กำลังงอกจากผิวดิน โดยเข้าไปยับยั้งขบวนการ Lipid metabolism

                                       11 Triazines เป็นกลุ่มสารที่มีการเลือกทำลายได้มากน้อยแตกต่างกันตามชนิดของสาร โดยส่วนใหญ่ใช้ในทางดินส่งผลการยับยั้งการสังเคราะห์แสง โดยเฉพาะยับยั้งขบวนการที่เรียกว่า Hill reaction ทำให้ใบมีสีเหลืองซีดและตายในที่สุด

                                       12 Ureas เป็นกลุ่มสารมีการเลือกทำลายได้ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ ส่วนใหญ่ใช้ทางดิน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยทำการยับยั้งการสังเคราะห์แสงโดยๆไปยับยั้ง Hill reaction สามารถเข้าทำลายได้ดีในพืชที่มีรากลึก เช่นไม้ยืนต้น

                                       13 Uracils เป็นกลุ่มสารที่มีการใช้งานและการทำลายเช่นเดียวกันกับกลุ่ม Ureas แตกต่างกันที่โครงสร้างทางเคมี

                                       14 สารชนิดอื่นๆ เป็นกลุ่มที่ยังไม่ชัดเจนเพราโครงสร้างเคมีไม่สามารถจัดลงในกลุ่มใดได้ เช่น Amitrole ใช้ในบริเวณที่ไม่ได้ปลูกพืช ควบคุมกำจัดวัชพืชฤดูเดียวหรือวัชพืชค้างปี

                 Bensulide ใช้ควบคุมวัชพืชในไม้ดอกไม้ประดับ และพืชผัก เป็นสารที่ตกค้างในดินนาน จึงเกิดปัญหาในการใช้

                 DCPA ใช้กำจัดวัชพืชในพืชตระกูลถั่ว และพืชผักได้ดีมาก

                 Endothall ใช้ควบคุมวัชพืชในแหล่งน้ำและในสนามหญ้า ควบคุมพืชใบกว้าง

                 Picloram ใช้ควบคุมพืชใบกว้างได้ดีทั้งพืชล้มลุกและยืนต้น

                 Triclopyr ใช้ควบคุมวัชพืชใบกว้างหลายชนิดรวมทั้งไม้เนื้อแข็ง เช่น ไมยราบยักษ์ เป็นต้น (คณะทรัพยากรธรรมชาติ, ม.ป.พ.)[5]

อ้างอิงแก้ไข

  1. พิสุทธ์ เอกอำนวย.  2563. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 7. สายธุรกิจโรงพิมพ์, กรุงเทพฯ, 1005 หน้า.
  2. ธิดา เดชฮวบ.  2559. สารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดโรคพืช. พิมพ์ที่ บริษัท เอเชีย ดิจิตอล การพิมพ์,    กรุงเทพฯ.
  3. 3.0 3.1 Ashton, F.M. and A.S. Crafts.  1981.  Mode of Action of Herbicides 2nd ed. John Wiley & Sons,          New York, NY, USA.
  4. Klingman, G.C. and F.M. Ashton.  1986.  Weed Science Principles and Practices 2nd ed. John         Wiley  & Sons, New York, NY, USA.
  5. คณะทรัพยากรธรรมชาติ.  ม.ป.พ. วัชพืชและการจัดการ. เอกสารประกอบการเรียนวิชาวัชพืช. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ที่มา: http://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/weed/pdf/part3.pdf, วันที่ 26 เมษายน 2564.