ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคใบไหม้ (Cassava bacterial blight)"
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน) | |||
บรรทัดที่ 2: | บรรทัดที่ 2: | ||
== ลักษณะอาการ == | == ลักษณะอาการ == | ||
[[ไฟล์:ใบไหม้.png|thumb|อาการของใบที่เป็นโรคใบไหม้ (ภาพเอื้อเฟื้อจาก ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช)]] | |||
โรคใบไหม้ (Cassava bacterial blight) อาการเริ่มแรกใบจะมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำอยู่ระหว่างเส้นใบ จุดหรือแผลใบจึงมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม เมื่ออาการพัฒนามากขึ้นจึงทำให้ใบไหม้และมีหยดเชื้อสีขาวขุ่นอยู่ใต้ใบซึ่งเป็นกลุ่มของแบคทีเรีย (bacterial ooze) อาการของโรคส่วนมากเกิดกับใบที่อยู่ส่วนกลางของทรงพุ่มใกล้ระดับดินก่อน เมื่อเชื้อลุกลามเข้าสู่ก้านใบทำให้ใบเหี่ยว หลุดร่วง และทำให้แห้งตายได้ เมื่อผ่าดูระบบท่อน้ำท่ออาหารของลำต้นจะมีสีคล้ำ เนื่องจากเนื้อเยื่อถูกทำลาย ในต้นที่มีอาการรุนแรงจะพบอาการยางไหลบนก้านใบหรือลำต้นที่ยังอ่อนได้อีกด้วย | โรคใบไหม้ (Cassava bacterial blight) อาการเริ่มแรกใบจะมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำอยู่ระหว่างเส้นใบ จุดหรือแผลใบจึงมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม เมื่ออาการพัฒนามากขึ้นจึงทำให้ใบไหม้และมีหยดเชื้อสีขาวขุ่นอยู่ใต้ใบซึ่งเป็นกลุ่มของแบคทีเรีย (bacterial ooze) อาการของโรคส่วนมากเกิดกับใบที่อยู่ส่วนกลางของทรงพุ่มใกล้ระดับดินก่อน เมื่อเชื้อลุกลามเข้าสู่ก้านใบทำให้ใบเหี่ยว หลุดร่วง และทำให้แห้งตายได้ เมื่อผ่าดูระบบท่อน้ำท่ออาหารของลำต้นจะมีสีคล้ำ เนื่องจากเนื้อเยื่อถูกทำลาย ในต้นที่มีอาการรุนแรงจะพบอาการยางไหลบนก้านใบหรือลำต้นที่ยังอ่อนได้อีกด้วย | ||
[[ไฟล์:Image.png|thumb|อาการของต้นที่เป็นโรคใบไหม้ (ภาพเอื้อเฟื้อจาก ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช)]] | [[ไฟล์:Image.png|thumb|อาการของต้นที่เป็นโรคใบไหม้ (ภาพเอื้อเฟื้อจาก ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช)]] | ||
บรรทัดที่ 10: | บรรทัดที่ 10: | ||
== การป้องกันกำจัด == | == การป้องกันกำจัด == | ||
เลือกใช้ท่อนพันธุ์ที่ปราศจากโรคใบไหม้ เตรียมแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี วางระยะปลูกให้เหมาะสมไม่ควรปลูกหนาแน่นเกินไป กำจัดชิ้นส่วนมันสำปะหลังที่เป็นโรคออกจากแปลง และอาจใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ฉีดป้องกันโรคก่อนถึงฤดูฝน | เลือกใช้ท่อนพันธุ์ที่ปราศจากโรคใบไหม้ เตรียมแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี วางระยะปลูกให้เหมาะสมไม่ควรปลูกหนาแน่นเกินไป กำจัดชิ้นส่วนมันสำปะหลังที่เป็นโรคออกจากแปลง และอาจใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ฉีดป้องกันโรคก่อนถึงฤดูฝน (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)<ref>มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556) เทคโนโลยี 52 สัปดาห์ มันสำปะหลัง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์:กรุงเทพฯ.</ref> | ||
== อ้างอิง == | |||
* | |||
[[หมวดหมู่:โรค]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:39, 14 กรกฎาคม 2564
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. Manihotis (ชื่อเดิม X. campestris pv. manihotis) พบว่ามีรายงานการแพร่ระบาดมาจากลาตินอเมริกาตั้งแต่ก่อนปี 1900 ต่อมาได้แพร่ระบาดไปยังทวีปแอฟริกา และแพร่ระบาดเข้ามาในทวีปเอเชียในปี 1970 รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ในทวีปแอฟริกาโรคนี้มีความสำคัญรองลงมาจากโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยทำให้ผลผลิตเสียหาย 7.5 ล้านตันต่อปี
ลักษณะอาการ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
โรคใบไหม้ (Cassava bacterial blight) อาการเริ่มแรกใบจะมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำอยู่ระหว่างเส้นใบ จุดหรือแผลใบจึงมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม เมื่ออาการพัฒนามากขึ้นจึงทำให้ใบไหม้และมีหยดเชื้อสีขาวขุ่นอยู่ใต้ใบซึ่งเป็นกลุ่มของแบคทีเรีย (bacterial ooze) อาการของโรคส่วนมากเกิดกับใบที่อยู่ส่วนกลางของทรงพุ่มใกล้ระดับดินก่อน เมื่อเชื้อลุกลามเข้าสู่ก้านใบทำให้ใบเหี่ยว หลุดร่วง และทำให้แห้งตายได้ เมื่อผ่าดูระบบท่อน้ำท่ออาหารของลำต้นจะมีสีคล้ำ เนื่องจากเนื้อเยื่อถูกทำลาย ในต้นที่มีอาการรุนแรงจะพบอาการยางไหลบนก้านใบหรือลำต้นที่ยังอ่อนได้อีกด้วย
การแพร่ระบาด[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
เชื้อแบคทีเรียสามารถติดไปกับท่อนพันธุ์และเมล็ดพันธุ์จากต้นที่เป็นโรค โดยส่วนมากจะพบโรคในฤดูฝน และแพร่ระบาดมากในช่วงนี้ เชื้อสาเหตุสามารถอยู่ในดินที่มีเศษซากมันสำปะหลังได้นาน 21-49 วัน จากการสำรวจพบว่ามันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 มีความอ่อนแอต่อโรคใบไหม้มากกว่าพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ห้วยบง 60 และห้วยบง 80
การป้องกันกำจัด[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
เลือกใช้ท่อนพันธุ์ที่ปราศจากโรคใบไหม้ เตรียมแปลงปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี วางระยะปลูกให้เหมาะสมไม่ควรปลูกหนาแน่นเกินไป กำจัดชิ้นส่วนมันสำปะหลังที่เป็นโรคออกจากแปลง และอาจใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ฉีดป้องกันโรคก่อนถึงฤดูฝน (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)[1]
อ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
- ↑ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556) เทคโนโลยี 52 สัปดาห์ มันสำปะหลัง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์:กรุงเทพฯ.