ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระยอง 1"
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
บรรทัดที่ 57: | บรรทัดที่ 57: | ||
== อ้างอิง == | == อ้างอิง == | ||
[[ | |||
* <references group="e" responsive="0" />[[e]] | |||
* |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:15, 13 มิถุนายน 2566
ก่อนที่จะมีพันธุ์ใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 นั้น เกษตรกรไทยปลูกมันสำปะหลังส่งเข้าโรงงานเพียงพันธุ์เดียว คือ พันธุ์พื้นเมือง หรือเรียกชื่อเป็นทางการว่า พันธุ์ระยอง 1 ซึ่งมาจากที่ใด เมื่อไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด กรมวิชาการเกษตรได้คัดเลือกพันธุ์จากพันธุ์พื้นเมืองและตั้งชื่อพันธุ์เป็นทางการว่าพันธุ์ “ระยอง 1” ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ถึงแม้ปัจจุบันเกษตรกรจะปลูกพันธุ์ระยอง 1 กันน้อยมาก แต่สายเลือดของพันธุ์ระยอง 1 ยังคงอยู่ เพราะเป็นแม่ของพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และระยอง 72 เป็นพ่อของพันธุ์ระยอง 60[1]
ลักษณะประจำพันธุ์[2][3]
ลักษณะ | ระยอง 1 |
สียอดอ่อน | สีม่วง |
การมีขนที่ยอดอ่อน | มีขน |
สีก้านใบ | สีเขียวอมแดง |
ลักษณะใบ | ใบหอก |
ลักษณะหูใบ | หูใบมีสีเขียว ปลายหูใบงอนขึ้นคล้ายขนตา |
ลักษณะทรงต้น/ระดับการแตกกิ่ง | ลำต้นตรง แตกกิ่งสูง 0 – 1 ระดับ |
สีลำต้น | สีเขียวเงิน |
สีของเปลือกหัว | สีน้ำตาลอ่อน |
ลักษณะหัว | ยาวเรียว |
สีเนื้อหัว | สีขาว |
ลักษณะเด่น | ผลผลิตสูง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี |
ข้อจำกัด | ปริมาณแป้งต่ำ |
เปอร์เซ็นต์แป้ง (%) | 18.3 |
ผลผลิตหัวสด (ตัน/ไร่) | 3.22 |
อ้างอิง
- ↑ มูมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2552. เอกสารวิชาการการปลูกมันสำปะหลังที่ดี
- ↑ กรมวิชาการเกษตร. 2552. การจำแนกพันธุ์มันสำปะหลัง. โรงพิมพ์สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ.
- ↑ กรมส่งเสริมการเกษตร. 2558. คู่มือการจำแนกพันธุ์มันสำปะหลัง. บริษัท ซัน แพคเกจจิ้ง (2014) จำกัด