ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทำแปลงขยายพันธุ์"
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 21: | บรรทัดที่ 21: | ||
== '''การทำแปลงขยายพันธุ์แบบปกติ''' <ref name=":0" /> == | == '''การทำแปลงขยายพันธุ์แบบปกติ''' <ref name=":0" /> == | ||
=== | === การปลูกด้วยท่อนพันธุ์ === | ||
ปลูกมันสำปะหลังด้วยท่อนพันธุ์ที่มีความยาวประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร ระยะปลูก ระยะปลูกมันสำปะหลังสามารถปลูกได้ตั้งแต่ระยะ 60 X 60 เซนติเมตร จนถึง 120 X 120 เซนติเมตร โดยระยะ 100 X 100 เซนติเมตร จะมีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงกว่าระยะอื่นๆ แต่ถ้าหากเกษตรกรมีการใช้เครื่องทุ่นแรงระยะปลูกระหว่างแถว X ต้น อาจใช้ 120 X 80 เซนติเมตร เพื่อสะดวกในการใช้เครื่องทุ่นแรง<ref name=":2">ไกวัล กล้าแข็ง และวิลาวัลย์ วงษ์เกษม. 2548. การปลูกมันสำปะหลัง. กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี.</ref> วิธีการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรมี ดังนี้ คือ | ปลูกมันสำปะหลังด้วยท่อนพันธุ์ที่มีความยาวประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร ระยะปลูก ระยะปลูกมันสำปะหลังสามารถปลูกได้ตั้งแต่ระยะ 60 X 60 เซนติเมตร จนถึง 120 X 120 เซนติเมตร โดยระยะ 100 X 100 เซนติเมตร จะมีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงกว่าระยะอื่นๆ แต่ถ้าหากเกษตรกรมีการใช้เครื่องทุ่นแรงระยะปลูกระหว่างแถว X ต้น อาจใช้ 120 X 80 เซนติเมตร เพื่อสะดวกในการใช้เครื่องทุ่นแรง<ref name=":2">ไกวัล กล้าแข็ง และวิลาวัลย์ วงษ์เกษม. 2548. การปลูกมันสำปะหลัง. กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี.</ref> วิธีการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรมี ดังนี้ คือ | ||
บรรทัดที่ 30: | บรรทัดที่ 30: | ||
วิธีการขยายพันธุ์แบบเร่งรัด เป็นการตัดท่อนพันธุ์สั้นกว่าปกติหรือตัดต้นอ่อนไปปลูกโดยไม่ต้องรอให้มันสำปะหลังอายุครบ 8 – 12 เดือนตามวิธีการปกติ เพื่อให้ได้ปริมาณท่อนพันธุ์จำนวนมากภายในเวลาอันสั้น สามารถปฏิบัติได้หลายวิธี ดังนี้ | วิธีการขยายพันธุ์แบบเร่งรัด เป็นการตัดท่อนพันธุ์สั้นกว่าปกติหรือตัดต้นอ่อนไปปลูกโดยไม่ต้องรอให้มันสำปะหลังอายุครบ 8 – 12 เดือนตามวิธีการปกติ เพื่อให้ได้ปริมาณท่อนพันธุ์จำนวนมากภายในเวลาอันสั้น สามารถปฏิบัติได้หลายวิธี ดังนี้ | ||
=== | === การขยายพันธุ์โดยการตัดยอดอ่อน === | ||
มันสำปะหลังที่ปลูกโดยท่อนพันธุ์ปกติ ส่วนใหญ่จะแตกตาและเจริญเป็นลำต้นหลักที่สมบูรณ์ประมาณ 1 – 3 ลำต่อต้น ขึ้นอยู่กับพันธุ์ คุณภาพท่อนพันธุ์ และสภาพแวดล้อมขณะปลูก ซึ่งโดยเฉลี่ยจะเท่ากับ 2 ลำต่อต้น แต่หากตัดส่วนยอดทิ้งในขณะที่ต้นยังเล็กอายุประมาณ 2 เดือนหลังปลูก มันสำปะหลังจะแตกตาใหม่ขึ้นมาจากต้นเดิม ทำให้ได้ลำต่อต้นมากขึ้น 2 – 3 เท่า โดยมีวิธีการ ดังนี้ | มันสำปะหลังที่ปลูกโดยท่อนพันธุ์ปกติ ส่วนใหญ่จะแตกตาและเจริญเป็นลำต้นหลักที่สมบูรณ์ประมาณ 1 – 3 ลำต่อต้น ขึ้นอยู่กับพันธุ์ คุณภาพท่อนพันธุ์ และสภาพแวดล้อมขณะปลูก ซึ่งโดยเฉลี่ยจะเท่ากับ 2 ลำต่อต้น แต่หากตัดส่วนยอดทิ้งในขณะที่ต้นยังเล็กอายุประมาณ 2 เดือนหลังปลูก มันสำปะหลังจะแตกตาใหม่ขึ้นมาจากต้นเดิม ทำให้ได้ลำต่อต้นมากขึ้น 2 – 3 เท่า โดยมีวิธีการ ดังนี้ | ||
บรรทัดที่ 41: | บรรทัดที่ 41: | ||
[[ไฟล์:Untitled-1.png|center|thumb|400x400px|ภาพแสดงต้นพันธุ์ที่มีการตัดยอดเพื่อเพิ่มจำนวนลำต่อต้น (A) เปรียบเทียบกับต้นพันธุ์ปกติที่ไม่มีการตัดยอดเมื่ออายุน้อย (B)(ภาพจาก ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง)]] | [[ไฟล์:Untitled-1.png|center|thumb|400x400px|ภาพแสดงต้นพันธุ์ที่มีการตัดยอดเพื่อเพิ่มจำนวนลำต่อต้น (A) เปรียบเทียบกับต้นพันธุ์ปกติที่ไม่มีการตัดยอดเมื่ออายุน้อย (B)(ภาพจาก ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง)]] | ||
=== | === การขยายพันธุ์โดยใช้ท่อนพันธุ์สั้น === | ||
ท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกปกติมีความยาวประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร ดังนั้นมันสำปะหลัง 1 ลำที่มีความยาวประมาณ 100 – 120 เซนติเมตร จะสามารถตัดได้เพียง 4 – 6 ท่อนเท่านั้น แต่หากตัดท่อนพันธุ์ให้สั้นลงเป็นท่อนละ 5 เซนติเมตร จะได้ปริมาณท่อนพันธุ์มากถึง 20 – 25 ท่อน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่า ภายในระยะเวลาเท่ากัน แต่การปลูกท่อนพันธุ์สั้นในสภาพแปลงมีผลให้ความงอกต่ำ ดังนั้นจึงมีวิธีการปฏิบัติดังนี้ | ท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกปกติมีความยาวประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร ดังนั้นมันสำปะหลัง 1 ลำที่มีความยาวประมาณ 100 – 120 เซนติเมตร จะสามารถตัดได้เพียง 4 – 6 ท่อนเท่านั้น แต่หากตัดท่อนพันธุ์ให้สั้นลงเป็นท่อนละ 5 เซนติเมตร จะได้ปริมาณท่อนพันธุ์มากถึง 20 – 25 ท่อน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่า ภายในระยะเวลาเท่ากัน แต่การปลูกท่อนพันธุ์สั้นในสภาพแปลงมีผลให้ความงอกต่ำ ดังนั้นจึงมีวิธีการปฏิบัติดังนี้ | ||
บรรทัดที่ 54: | บรรทัดที่ 54: | ||
[[ไฟล์:Imageตัดท่อนพันธุ์สั้นใส่ถุงเพาะ.png|center|thumb|ภาพแสดงการขยายโดยใช้ท่อนพันธุ์สั้น (ต่อ)(ภาพจาก ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง)]] | [[ไฟล์:Imageตัดท่อนพันธุ์สั้นใส่ถุงเพาะ.png|center|thumb|ภาพแสดงการขยายโดยใช้ท่อนพันธุ์สั้น (ต่อ)(ภาพจาก ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง)]] | ||
=== | === การขยายพันธุ์โดยใช้ท่อนพันธุ์สั้น และตัดยอดต้นอ่อน === | ||
เป็นวิธีผสมผสานระหว่างการใช้ท่อนพันธุ์สั้นและการตัดยอดต้นอ่อนมาปลูก เพื่อให้ได้อัตราการขยายพันธุ์ที่สูงขึ้น สามารถลดข้อจำกัดหรืออุปสรรคในขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีอยู่ของ 2 วิธีการข้างต้น ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอน ดังนี้ | เป็นวิธีผสมผสานระหว่างการใช้ท่อนพันธุ์สั้นและการตัดยอดต้นอ่อนมาปลูก เพื่อให้ได้อัตราการขยายพันธุ์ที่สูงขึ้น สามารถลดข้อจำกัดหรืออุปสรรคในขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีอยู่ของ 2 วิธีการข้างต้น ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอน ดังนี้ | ||
บรรทัดที่ 70: | บรรทัดที่ 70: | ||
# หลังการตัดต้นพันธุ์จะมีการแตกตาใหม่ขึ้นมาทำให้ต้องดึงอาหารที่สะสมไว้ในหัวมาใช้สร้างลำต้นและใบ ส่งผลให้ปริมาณแป้งในหัวต่ำลงในช่วง 1 – 3 เดือนแรก หลังจากนั้นผลผลิตหัวสดและปริมาณแป้งจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มอย่างเด่นชัดเมื่ออายุ 6 เดือนหลังการตัดต้น ดังนั้นจึงควรเก็บเกี่ยวที่อายุ 6 เดือนขึ้นไปหลังการตัดต้นครั้งแรก | # หลังการตัดต้นพันธุ์จะมีการแตกตาใหม่ขึ้นมาทำให้ต้องดึงอาหารที่สะสมไว้ในหัวมาใช้สร้างลำต้นและใบ ส่งผลให้ปริมาณแป้งในหัวต่ำลงในช่วง 1 – 3 เดือนแรก หลังจากนั้นผลผลิตหัวสดและปริมาณแป้งจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มอย่างเด่นชัดเมื่ออายุ 6 เดือนหลังการตัดต้น ดังนั้นจึงควรเก็บเกี่ยวที่อายุ 6 เดือนขึ้นไปหลังการตัดต้นครั้งแรก | ||
== อ้างอิง == | == '''อ้างอิง''' == |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 06:10, 2 ธันวาคม 2564
ต้นพันธุ์มันสำปะหลังคิดเป็นส่วนของต้นทุนประมาณ 5 – 10 เปอร์เซ็นต์ ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด การลงทุนปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ขนาดใหญ่หากต้องพึ่งพาต้นพันธุ์จากแหล่งอื่นทุกปีจัดว่ามีความเสี่ยงสูง เนื่องจากราคาต้นพันธุ์จะผันแปรตลอดเวลาในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการของเกษตรกรและสภาพอากาศในปีนั้นๆ อีกทั้งไม่สามารถควบคุมคุณภาพต้นพันธุ์ที่จัดซื้อมาได้ ส่งผลต่อผลผลิตมันสำปะหลังในที่สุด แต่เนื่องจากมันสำปะหลังสามารถขยายพันธุ์โดยใช้ท่อนพันธุ์ปลูก ดังนั้นจึงสามารถปลูกขยายต้นพันธุ์ไว้ใช้เองในพื้นที่ ซึ่งพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ผลผลิตแต่ละพื้นที่จึงขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน และคุณลักษณะของดินที่ปลูกเป็นสำคัญ อีกทั้งการระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง ทำให้ต้องมีการจัดทำแปลงขยายท่อนพันธุ์สะอาด เพื่อกระจายพันธุ์ดีในพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อรักษาระดับการให้ผลผลิตมันสำปะหลังให้เพียงพอต่อความต้องการ จำหน่าย หรือแจกจ่ายเกษตรกรลูกไร่ และลดการระบาดของเพลี้ยแป้ง มีหลักในการพิจารณาและปฏิบัติ ดังนี้
สภาพพื้นที่และดิน [1][แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
สภาพพื้นที่เหมาะสมในการปลูกมันสำปะหลังควรเป็นพื้นที่ที่ระบายน้ำได้ดีไม่เป็นที่ลุ่ม หรือมีน้ำท่วมขัง มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 2,000 เมตร พื้นที่ราบสม่ำเสมอ มีความลาดเอียงไม่เกิน 5 เปอร์เซนต์ ลักษณะดินเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินทราย ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง อินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า 1.0 มันสำปะหลังปรับตัวได้ดีในสภาพดินเลว ทนทานต่อดินที่มี pH ต่ำ ฟอสฟอรัสต่ำ อย่างไรก็ตามดินที่เหมาะสมสำหรับปลูกมันสำปะหลัง คือ ดินที่มีเนื้อค่อนข้างหยาบ ตั้งแต่ดินร่วนปนทรายถึงดินร่วนเหนียวปนทราย เพราะมีเปอร์เซ็นต์การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศดี ระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 5.5 – 7.5 ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,000 – 1,500 มิลลิเมตรต่อปีมีแสงแดดจัด
อุณหภูมิ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตคือ 25 – 37 องศาเซลเซียส ซึ่งมีผลกระทบต่อการงอกของท่อนพันธุ์ปลูก ขนาดใบ การสร้างใบ การสร้างหัวสะสมอาหาร และการเจริญเติบโตทั่วไปในสภาพที่อุณหภูมิต่ำที่ 16 องศาเซลเซียส มีผลต่อการแตกใบและการงอกรากจากท่อนปลูก อัตราการสร้างใบ การสร้างน้ำหนักแห้งทั้งต้น และการสะสมน้ำหนักแห้งของหัวลดลง การแตกใบและการงอกรากจากท่อนปลูกได้ดีเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจนถึง 30 องศาเซลเซียส และถูกยับยั้งเมื่ออุณหภูมิสูงถึง 37 องศาเซลเซียส[2]
การเตรียมดิน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
แปลงขยายพันธุ์ควรเป็นแปลงที่มีระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลางถึงสูง มีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน ควรหลีกเลี่ยงปลูกในดินที่ชื้นแฉะ เพราะหัวมันสำปะหลังจะเน่าเสียได้ง่ายและมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคสูง การเตรียมดินควรไถ 2 ครั้ง โดยผาน 3 และผาน 7 ควรไถให้ลึกประมาณ 8 – 12 นิ้ว โดยไถกลบเศษเหลือของพืช เช่น ลําต้น เหง้า ใบ และยอดของมันสําปะหลังที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว ไม่ควรเผาหรือเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพราะการเผาทิ้งหรือขนย้ายไปทิ้งจะทําให้ธาตุอาหารสญหายไปเป็นจํานวนมาก สำหรับพื้นที่ปลูกที่ลาดเอียง เพื่อลดการสูญเสียหน้าดิน และพื้นที่ปลูกที่มีน้ำท่วมขัง ควรทำร่องระบายน้ำและยกร่องปลูก[3] การเตรียมดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังทำได้ ดังนี้
- การไม่ไถพรวนดิน จะมีการยกร่องหรือไม่ยกร่องก็ได้ เหมาะสำหรับการปลูกมันสำปะหลังปลายฤดูฝนในดินทราย หรือดินทรายปนร่วน เนื่องจากความชื้นในดินมีเพียงพอต่อการงอก[4]
- การไถพรวนน้อยครั้ง ทำการไถพรวนโดยใช้ผาล 7 เพียงครั้งเดียว ตามด้วยการยกร่อง หรือไม่ยกร่อง แต่ไม่ควรใช้วิธีนี้ติดต่อกันหลายปี เพราะจะทำให้เกิดชั้นดินดานในระดับดินล่างตื้น[4]
- การไถพรวนมากกว่า 1 ครั้ง ทำการไถพลิกฟื้นดินโดยใช้ผาล 3 และพรวนดินโดยใช้ผาล 7 เพียงครั้งเดียว หรือ 2 ครั้งขึ้นอยู่กับสภาพของดิน ตามด้วยการยกร่องหรือไม่ยกร่อง การไถพรวนบ่อยครั้งเกินไป ทำให้ดินสูญเสียธาตุอาหารได้เร็ว เนื่องจากจะไปช่วยเร่งให้ขบวนการย่อยสลายเกิดขึ้นเร็วขึ้น และทำให้เกิดการสูญเสียน้ำในดิน[4]
หากดินที่ทำการเพาะปลูกมันติดต่อกันหลายปี ควรปรับปรุงดิน เพื่อรักษาระดับผลผลิตในระยะยาว ด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเปลือกมันชนิดเก่าค้างปี (จากโรงแป้งทั่วไป) ที่หาได้ในท้องถิ่น หรือ ปลูกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ หมุนเวียนบำรุงดิน ในกรณีที่พื้นที่ประเภทหญ้าคา ควรใช้ยาราวด์อัพหากเป็นเครือเถาต่าง ๆ ควรใช้ยาสตาร์เรน ฉีดพ่นยาจำกัดเสียก่อนการไถ จากนั้นไถครั้งแรกโดยไถกลบวัชพืชก่อนปลูกด้วยผาน 3 (ห้ามเผาทำลายวัชพืช) ให้ลึกประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร แล้วทิ้งระยะไว้ประมาณ 20 – 30 วัน เพื่อหมักวัชพืชเป็นปุ๋ยในดินต่อไป ไถพรวนด้วยผาน 7 อีก 1 - 2 ครั้ง ตามความเหมาะสม และรีบปลูกโดยเร็ว ในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่
การทำแปลงขยายพันธุ์แบบปกติ [1][แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
การปลูกด้วยท่อนพันธุ์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
ปลูกมันสำปะหลังด้วยท่อนพันธุ์ที่มีความยาวประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร ระยะปลูก ระยะปลูกมันสำปะหลังสามารถปลูกได้ตั้งแต่ระยะ 60 X 60 เซนติเมตร จนถึง 120 X 120 เซนติเมตร โดยระยะ 100 X 100 เซนติเมตร จะมีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงกว่าระยะอื่นๆ แต่ถ้าหากเกษตรกรมีการใช้เครื่องทุ่นแรงระยะปลูกระหว่างแถว X ต้น อาจใช้ 120 X 80 เซนติเมตร เพื่อสะดวกในการใช้เครื่องทุ่นแรง[3] วิธีการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรมี ดังนี้ คือ
- การปลูกแบบนอน (ปัจจุบันไม่นิยมปลูกด้วยวิธีนี้) เป็นวิธีการปลูกแบบเก่า เพราะต้นมันสำปะหลังจะงอกโผล่พ้นดินช้ากว่าวัชพืช ทำให้การกำจัดวัชพืชลำบากมากขึ้น แต่มีข้อดี คือ ถ้าดินมีความชื้นน้อยการปลูกด้วยวิธีนี้จะทำให้มีจำนวนต้นอยู่รอดมาก และไม่ต้องระวังว่าจะปลูกโดยเอายอดลงดินซึ่งจะทำให้ตาไม่งอก[5]
- การปลูกแบบปัก การปลูกแบบปักจะให้ผลดีกว่าการปลูกแนวนอน เนื่องจากมันสำปะหลังงอกได้เร็วกว่า สม่ำเสมอกว่า สะดวกต่อการปลูกซ่อม และกำจัดวัชพืช ในฤดูฝน ถ้าพื้นที่แฉะควรยกร่องและปลูกบนสันร่อง ถ้าดินระบายน้ำดีปลูกบนพื้นที่ราบก็ได้ การปักท่อนพันธุ์ตั้งตรงหรือเอียงให้ลึกประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร สำหรับการปลูกในฤดูแล้งไม่จำเป็นต้องยกร่องแต่ควรปักตั้งตรงหรือเอียง ให้ลึกกว่าการปลูกในฤดูฝน 10 – 15 เซนติเมตร[6] จะช่วยให้ท่อนพันธุ์มีความงอกและมีความอยู่รอดสูง ส่วนการปลูกในพื้นที่ที่มีความเอียง ควรปลูกโดยการยกร่องขวางแนวลาดเอียง
การทำแปลงขยายต้นพันธุ์แบบเร่งรัด [1][แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
วิธีการขยายพันธุ์แบบเร่งรัด เป็นการตัดท่อนพันธุ์สั้นกว่าปกติหรือตัดต้นอ่อนไปปลูกโดยไม่ต้องรอให้มันสำปะหลังอายุครบ 8 – 12 เดือนตามวิธีการปกติ เพื่อให้ได้ปริมาณท่อนพันธุ์จำนวนมากภายในเวลาอันสั้น สามารถปฏิบัติได้หลายวิธี ดังนี้
การขยายพันธุ์โดยการตัดยอดอ่อน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
มันสำปะหลังที่ปลูกโดยท่อนพันธุ์ปกติ ส่วนใหญ่จะแตกตาและเจริญเป็นลำต้นหลักที่สมบูรณ์ประมาณ 1 – 3 ลำต่อต้น ขึ้นอยู่กับพันธุ์ คุณภาพท่อนพันธุ์ และสภาพแวดล้อมขณะปลูก ซึ่งโดยเฉลี่ยจะเท่ากับ 2 ลำต่อต้น แต่หากตัดส่วนยอดทิ้งในขณะที่ต้นยังเล็กอายุประมาณ 2 เดือนหลังปลูก มันสำปะหลังจะแตกตาใหม่ขึ้นมาจากต้นเดิม ทำให้ได้ลำต่อต้นมากขึ้น 2 – 3 เท่า โดยมีวิธีการ ดังนี้
- ปลูกมันสำปะหลังโดยใช้ท่อนพันธุ์ขนาดและความยาวปกติ จัดการด้านเขตกรรมตามวิธีปฏิบัติทั่วไป แต่ในขั้นตอนการกำจัดวัชพืชไม่ควรใช้สารเคมีตั้งแต่ต้นยังเล็กเนื่องจากอาจทำให้ต้นอ่อนเสียหายจากการถูกสารเคมีทำลาย
- ตัดยอดอ่อนเมื่อมันสำปะหลังมีอายุประมาณ 2 เดือนหลังปลูก โดยใช้กรรไกรตัดแต่งกิ่งตัดที่ระดับความสูงประมาณ 30 เซนติเมตรจากพื้นดิน
- ภายหลังตัดยอดอ่อน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยวิธีขุดหลุมใส่ข้างต้นแล้วกลบและให้น้ำตามทันที เพื่อให้มันสำปะหลังสามารถดึงปุ๋ยไปใช้และแตกยอดอ่อนสร้างลำต้นใหม่ได้เร็วและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
- เมื่อมันสำปะหลังแตกยอดใหม่และมีจำนวนมากเกินไป ให้เด็ดยอดทิ้งเหลือลำต้นหลักเพียง 4 ลำต่อต้น เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง มีขนาดพอเหมาะสำหรับปลูก
- เก็บเกี่ยวต้นพันธุ์ภายหลังการตัดยอดประมาณ 10 เดือน หรือเมื่อมันสำปะหลังมีอายุประมาณ 12 เดือนหลังปลูก
การขยายพันธุ์โดยใช้ท่อนพันธุ์สั้น[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
ท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกปกติมีความยาวประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร ดังนั้นมันสำปะหลัง 1 ลำที่มีความยาวประมาณ 100 – 120 เซนติเมตร จะสามารถตัดได้เพียง 4 – 6 ท่อนเท่านั้น แต่หากตัดท่อนพันธุ์ให้สั้นลงเป็นท่อนละ 5 เซนติเมตร จะได้ปริมาณท่อนพันธุ์มากถึง 20 – 25 ท่อน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่า ภายในระยะเวลาเท่ากัน แต่การปลูกท่อนพันธุ์สั้นในสภาพแปลงมีผลให้ความงอกต่ำ ดังนั้นจึงมีวิธีการปฏิบัติดังนี้
- ใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดท่อนพันธุ์ให้มีความยาวท่อนละ 5 เซนติเมตร นำไปแช่ในสารเคมีป้องกันเชื้อราตามอัตราแนะนำ
- จัดเตรียมวัสดุเพาะได้แก่ ดินทรายหรือดินร่วนทราย ขุยมะพร้าว และแกลบเผา ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วบรรจุดินผสมลงในถุงเพาะชำขนาด 4 x 7 เซนติเมตร จัดเรียงถุงเพาะชำไว้ในที่พรางแสงหรือมีแสงแดดรำไร
- ปักท่อนพันธุ์ที่ตัดไว้ในถุงเพาะชำที่เตรียมไว้ให้ลึกลงไปในดินประมาณ 4 เซนติเมตร จนได้ตามปริมาณที่ต้องการ
- รดน้ำให้ให้ชุ่มตลอดเวลาจนมันสำปะหลังงอกและย้ายลงแปลง
- หลังจากมันสำปะหลังงอกหรือมีอายุประมาณ 25 – 30 วันหลังปลูก ให้ย้ายต้นกล้าที่แข็งแรงลงแปลงที่จัดเตรียมไว้ โดยขุดหลุมเป็นแถว ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร ใช้ระยะปลูก 100 x 80 เซนติเมตร โดยควรเป็นแปลงที่สามารถให้น้ำได้
- จัดการด้านเขตกรรมตามวิธีปกติ
- ตัดต้นพันธุ์เมื่อมันสำปะหลังมีอายุประมาณ 10 – 11 เดือนหลังย้ายต้นกล้าลงแปลง
การขยายพันธุ์โดยใช้ท่อนพันธุ์สั้น และตัดยอดต้นอ่อน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
เป็นวิธีผสมผสานระหว่างการใช้ท่อนพันธุ์สั้นและการตัดยอดต้นอ่อนมาปลูก เพื่อให้ได้อัตราการขยายพันธุ์ที่สูงขึ้น สามารถลดข้อจำกัดหรืออุปสรรคในขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีอยู่ของ 2 วิธีการข้างต้น ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอน ดังนี้
- การปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์สั้น (ความยาว 10 เซนติเมตร) ตัดต้นพันธุ์ให้มีความยาวท่อนละ 10 เซนติเมตร ถือว่าเป็นขนาดสั้นปานกลาง ซึ่งสั้นกว่าท่อนพันธุ์ปลูกปกติ 0.5 เท่า ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำไปปลูกในแปลงได้โดยไม่ต้องเพาะชำในถุงก่อนซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนและไม่สะดวกในทางปฏิบัติ ต้นพันธุ์ขนาดดังกล่าวสามารถงอกได้ในสภาพแปลงปกติ หากฝนตกหรือมีการให้น้ำหลังปลูกให้ดินมีความชื้นพอเหมาะจะช่วยเพิ่มอัตราความงอกให้สูงขึ้นได้เช่นเดียวกับท่อนพันธุ์ยาวปกติ
- การตัดยอดต้นอ่อน (อายุ 4 เดือนหลังปลูก) เมื่อมันสำปะหลังอายุได้ 4 เดือนหลังปลูก ซึ่งเป็นช่วงที่มันสำปะหลังเริ่มทิ้งใบล่าง มีความสูงต้นประมาณ 80 – 120 เซนติเมตร ให้ตัดต้นออกที่ระดับความสูงจากพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร และเด็ดใบที่ติดอยู่ตามลำต้นออกให้หมด จะได้ลำต้นที่ยังอ่อนและมีสีเขียวอยู่ซึ่งสามารถนำไปตัดเป็นท่อนเพื่อปลูกในสภาพแปลงได้เช่นเดียวกับท่อนพันธุ์ปกติหากดินมีความชื้นเหมาะสม ท่อนพันธุ์จะงอกได้ดีเมื่อมีการเด็ดยอดของต้นพันธุ์ 3 วันก่อนที่จะตัดต้นไปขยายพันธุ์ และเมื่อปลูกขยายพันธุ์ในแปลงแล้วต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
- การปลูกขยายต้นอ่อน และบำรุงต้นตอเดิม หลังจากได้ต้นพันธุ์จากขั้นตอนที่ 2 แล้วนำมาตัดเป็นท่อน ให้ได้ความยาวท่อนพันธุ์ประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร นำไปแช่ในสารเคมีป้องกันเชื้อราตามอัตราแนะนำ จากนั้นนำขึ้นมาผึ่งลมไว้ให้แห้งก่อนนำไปปลูกในแปลงปกติซึ่งควรเป็นแปลงที่มีการเตรียมดินที่ดี และสามารถให้น้ำได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 1 – 2 เดือนหลังปลูก ส่วนแปลงต้นพันธุ์เดิมที่ตัดไว้ตอต้องให้น้ำเพื่อให้แตกลำต้นขึ้นมาใหม่ และตัดแต่งให้มีจำนวนลำไม่เกิน 4 ลำต่อต้น จะทำให้ได้ต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ขึ้น การจัดการด้านเขตกรรมอื่น ๆ ทำเช่นเดียวกับการปลูกทั่วไป
- การเก็บเกี่ยวต้นพันธุ์ ต้นพันธุ์ที่ได้จากการปลูกทั้งสองวิธีการสามารถเก็บเกี่ยวต้นพันธุ์พร้อมกันได้ คือ แปลงที่ปลูกโดยใช้ต้นพันธุ์อ่อนเก็บเกี่ยวต้นพันธุ์ที่อายุ 10 เดือนหลังปลูก และแปลงที่ไว้ตอสามารถเก็บเกี่ยวต้นพันธุ์ที่อายุ 10 เดือนหลังการตัดต้นไว้ตอ ซึ่งต้นพันธุ์ที่ได้จากทั้งสองแปลงจะมีคุณภาพต้นพันธุ์ใกล้เคียงกัน
เทคนิคการตัดต้นไว้ตอมันสำปะหลัง [1][แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
การไว้ตอมันสำปะหลังเป็นวิธีการตัดต้นพันธุ์ออกไปปลูกก่อน โดยยังไม่ขุดเก็บเกี่ยวผลผลิตหัวสดออกจากแปลง หลังตัดต้นพันธุ์ออกไปแล้วมันสำปะหลังจะแตกตาใหม่ขึ้นมาและสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นปกติ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างอาหารและนำไปสะสมที่รากทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อีกในภายหลัง การไว้ตอมันสำปะหลังมีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้
- การตัดต้นไว้ตอแนะนำให้ทำในฤดูปลูกต้นฝน เนื่องจากดินมีความชื้นเพียงพอสำหรับแตกตาใหม่ขึ้นมาภายหลังการตัดต้น ไม่แนะนำให้ทำในช่วงฤดูปลายฝน เนื่องจากหลังการตัดต้นจะกระทบแล้งยาวนาน ความชื้นในดินต่ำทำให้การแตกตาใหม่และการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ส่งผลให้ได้ต้นพันธุ์สั้น และไม่สมบูรณ์ ยกเว้นแปลงที่สามารถให้น้ำชลประทานในช่วงฤดูแล้งได้
- การตัดต้นพันธุ์ครั้งแรกควรทำที่อายุ 8 – 10 เดือน และขุดเก็บเกี่ยวหลังการตัดต้นครั้งแรกไปแล้ว 6 เดือนขึ้นไป หรือเมื่อมันสำปะหลังมีอายุประมาณ 16 – 18 เดือนหลังปลูก
- หลังการตัดต้นพันธุ์ครั้งแรกจะมีการสร้างลำต้นและใบขึ้นมาใหม่จำนวนมาก ควรตัดแต่งให้แต่ละต้นเหลือลำต้นหลักเพียง 2 – 3 ลำต่อต้น เพื่อให้ลำต้นมีความสมบูรณ์และมีจำนวนใบพอเหมาะสำหรับการเจริญเติบโต สร้างผลผลิต และปริมาณแป้งในหัว
- หลังการตัดต้นพันธุ์จะมีการแตกตาใหม่ขึ้นมาทำให้ต้องดึงอาหารที่สะสมไว้ในหัวมาใช้สร้างลำต้นและใบ ส่งผลให้ปริมาณแป้งในหัวต่ำลงในช่วง 1 – 3 เดือนแรก หลังจากนั้นผลผลิตหัวสดและปริมาณแป้งจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มอย่างเด่นชัดเมื่ออายุ 6 เดือนหลังการตัดต้น ดังนั้นจึงควรเก็บเกี่ยวที่อายุ 6 เดือนขึ้นไปหลังการตัดต้นครั้งแรก
อ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556) เทคโนโลยี 52 สัปดาห์ มันสำปะหลัง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์:กรุงเทพฯ.
- ↑ ชินพัฒน์ธนา สุขวิบูลย์. 2558. การบริหารและจัดการระบบพัฒนาที่ดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในประเทศไทย. วารสารอนุรักษ์ดินและน้ำ. 31, 2 (เม.ย. 2559) :36-47
- ↑ 3.0 3.1 ไกวัล กล้าแข็ง และวิลาวัลย์ วงษ์เกษม. 2548. การปลูกมันสำปะหลัง. กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 สมลักษณ์ จูฑังคะ. 2551. เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง. วารสารวิชาการ. ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร.
- ↑ กลุ่มสาระสนเทศการเกษตร. 2563. เอกสารเรื่องมันสำปะหลังจังหวัดพะเยา ปี 2563. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพะเยา
- ↑ ไกวัล กล้าแข็ง. 2551. คู่มือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมันสำปะหลัง. สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร