ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไร"
(สร้างหน้าด้วย "ไร (Mites) เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลั...") |
|||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 5: | บรรทัดที่ 5: | ||
== การป้องกันกำจัด == | == การป้องกันกำจัด == | ||
หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังในช่วงที่จะทำให้มันสำปะหลังกระทบแล้งตั้งแต่ช่วงต้นเล็กหรืออายุน้อยอยู่ เก็บส่วนของพืชที่มีไรอยู่ไปเผาทำลายทิ้ง ถ้าพบการระบาดของไรรุนแรง ให้ใช้สารฆ่าแมลง ได้แก่ อีโทเฟนพรอกซ์ (etofenprox) และไดโคฟอล ฉีดพ่นตามคำแนะนำในฉลาก | หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังในช่วงที่จะทำให้มันสำปะหลังกระทบแล้งตั้งแต่ช่วงต้นเล็กหรืออายุน้อยอยู่ เก็บส่วนของพืชที่มีไรอยู่ไปเผาทำลายทิ้ง ถ้าพบการระบาดของไรรุนแรง ให้ใช้สารฆ่าแมลง ได้แก่ อีโทเฟนพรอกซ์ (etofenprox) และไดโคฟอล ฉีดพ่นตามคำแนะนำในฉลาก (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)<ref>มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556) เทคโนโลยี 52 สัปดาห์ มันสำปะหลัง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์:กรุงเทพฯ.</ref> | ||
[[ไฟล์:Image 08.png|thumb|ลักษณะอาการบนใบมันสำปะหลังเกิดจากการเข้าทำลายของไร]] | |||
== อ้างอิง == | == อ้างอิง == | ||
* | * |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 06:18, 25 สิงหาคม 2564
ไร (Mites) เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลัง โดยไรจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบทำให้สูญเสียคลอโรฟิลล์ ไรชนิดที่พบมากในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง คือ ไรแดงหม่อน บางคนเรียกว่า ไรแดงมันสำปะหลัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tetranychus truncates Ehara ไรชนิดนี้ดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ใต้ใบ ทำลายใบแก่และใบเพสลาด หากระบาดรุนแรงจะเคลื่อนย้ายไปดูดกินน้ำเลี้ยงบนยอดอ่อน สร้างเส้นใยปกคุมใบและลำต้น เมื่อไรเริ่มเข้าทำลายจะเห็นเป็นจุดประด่างเหลืองบนผิวด้านบนของใบ ถ้าเข้าทำลายอย่างรุนแรงจะทำให้ใบไหม้และขาดพรุนตรงกลางใบ ใบลู่ลงและเหี่ยวแห้ง ถ้าไรเข้าทำลายในมันสำปะหลังอายุ 1-3 เดือน อาจทำให้ใบร่วง ยอดแห้ง และตายได้ นอกจากนั้นยังพบไรอีก 2 ชนิดที่เป็นศัตรูที่สำคัญ ได้แก่ ไรแมงมุมคันซาบา (T. kanzawai Kishida) และ ไรแมงมุม (Oligonychus biharensis Hirst) พบระบาดรุนแรงในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในอดีตพบว่า ไรแดงระบาดเป็นครั้งคราวและไม่รุนแรงมาก หากเกษตรกรพ่นสารป้องกันกำจัดไรได้ทันในขณะที่ต้นมันสำปะหลังมีขนาดเล็กก็จะยับยั้งการระบาดของไรได้
ลักษณะอาการ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
ไรทำความเสียหายแก่มันสำปะหลังโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงใต้ใบ จากใบบริเวณส่วนล่างสู่ส่วนยอด ทำให้ใบเหลืองซีด ม้วนงอ และร่วง มักพบเป็นปัญหามากในช่วงแล้ง
การป้องกันกำจัด[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังในช่วงที่จะทำให้มันสำปะหลังกระทบแล้งตั้งแต่ช่วงต้นเล็กหรืออายุน้อยอยู่ เก็บส่วนของพืชที่มีไรอยู่ไปเผาทำลายทิ้ง ถ้าพบการระบาดของไรรุนแรง ให้ใช้สารฆ่าแมลง ได้แก่ อีโทเฟนพรอกซ์ (etofenprox) และไดโคฟอล ฉีดพ่นตามคำแนะนำในฉลาก (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556)[1]
อ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
- ↑ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556) เทคโนโลยี 52 สัปดาห์ มันสำปะหลัง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์:กรุงเทพฯ.