ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเตรียมพื้นที่ปลูก"

จาก Cassava
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
บรรทัดที่ 15: บรรทัดที่ 15:


ส่วนการไถพรวนหรือไถแปร ควรทำเมื่อพร้อมปลูกโดยปกติควรทำหลังการไถดะประมาณ 5-10 วัน หากเป็นดินร่วนทรายหรือดินทราย หลังจากการไถครั้งนี้สามารถปลูกได้เลยโดยปลูกแบบพื้นราบ ใช้วิธีขึงเชือกปลูก โดยไม่จำเป็นต้องยกร่องเพื่อประหยัดต้นทุนการเตรียมดิน
ส่วนการไถพรวนหรือไถแปร ควรทำเมื่อพร้อมปลูกโดยปกติควรทำหลังการไถดะประมาณ 5-10 วัน หากเป็นดินร่วนทรายหรือดินทราย หลังจากการไถครั้งนี้สามารถปลูกได้เลยโดยปลูกแบบพื้นราบ ใช้วิธีขึงเชือกปลูก โดยไม่จำเป็นต้องยกร่องเพื่อประหยัดต้นทุนการเตรียมดิน
== '''การเตรียมดินตามชนิดเนื้อดิน''' ==
'''1) การจำแนกชนิดดินอย่างง่าย'''
การจำแนกเนื้อดิน เป็นการจำแนกองค์ประกอบเชิงกายภาพของดิน เนื่องจากดินในแต่ละสถานที่มีลักษณะแตกต่างกัน จำเป็นต้องเก็บตัวอย่างดินส่งห้องปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะห์หาองค์ประกอบของดินว่าเป็นดินชนิดใด เพื่อจะได้วางแผนและจัดการพื้นที่ปลูกได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่สถาบันวิจัยพืชไร่ (2554) ได้แนะนำวิธีการตรวจสอบชนิดดินอย่างง่ายไว้โดยการปั่นดินเป็นเส้นเพื่อเปรียบเทียบดินชนิดต่าง ๆ ดังตาราง
{| class="wikitable"
|+ตาราง '''เกณฑ์ในการพิจารณาเนื้อดินในแปลงปลูกอย่างง่าย'''
!ลักษณะดิน
!ปั้นเป็นเส้นยาว
(ซม.)
!เนื้อดิน
!เทียบเท่าเปอร์เซ็นต์ดินเหนียว (%)
|-
|ทรายแยกเป็นเม็ด
|ปั้นเป็นเส้นไม่ได้
|ทราย
|0 – 5
|-
|ทรายเป็นเม็ดและติดมือ
|0.5 – 1.5
|ทรายปนร่วน
|5 – 15
|-
|ทรายเกาะเป็นก้อนบ้าง
|1.5 – 2.5
|ร่วนปนทราย
|10 – 20
|-
|นุ่มลื่นมือ แน่น ไม่มีเม็ดทราย
|4.0 – 5.0
|ร่วนปนเหนียว
|25 – 40
|-
|เหนียว หนัก ยืดมาก
|> 7.5
|เหนียว
|> 45
|}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:25, 1 กรกฎาคม 2564

การเตรียมดินที่เหมาะสมกับฤดูปลูก

1) ฤดูต้นฝน

การเตรียมดินสำหรับการปลูกมันสำปะหลังในช่วงต้นฤดูฝนควรไถทั้งหมด 3 ครั้ง ได้แก่ การการไถดะในครั้งที่ 1 ไถพรวนหรือไถแปรในครั้งที่ 2 และไถเพื่อยกร่องในครั้งที่ 3

สำหรับการการไถดะเป็นการการไถพลิกหน้าดินครั้งแรกเพื่อกำจัดวัชพืช และตากดินให้แห้งโดยการใช้ผาล 3 หรือผาล 4 โดยไถลึกอย่างน้อย 30 เซนติเมตร แล้วทิ้งไว้ 7-14 วันเพื่อให้ซากพืชย่อยสลายและตากดินส่วนที่ไถขึ้นมา ควรไถดินในขณะที่มีความชื้นพอเหมาะไม่แฉะหรือแห้งเกินไป หากไถขณะที่ดินแฉะจะทำให้ดินจับตัวกันเป็นก้อนใหญ่ และเมื่อดินแห้งจะย่อยให้ละเอียดด้วยผาลพรวนได้ยาก หรือถ้าไถในขณะที่ดินแห้งเกินไปจะทำให้ไถได้ไม่ลึก ซึ่งจะพบปัญหานี้ในกลุ่มดินเนื้อละเอียด เช่น ดินเหนียว มากกว่าดินเนื้อหยาบและดินเนื้อปานกลาง

ส่วนการไถพรวนหรือไถแปรเป็นการไถครั้งที่ 2 เพื่อย่อยและคลุกเคล้า ดิน วัชพืช ฯลฯ ให้ลงไปในดิน โดยจะใช้จำนวนผาลมากขึ้น เช่น ผาล 6  ผาล 7 หรือผาลพรวนชนิดอื่น ๆ ควรทำขณะที่ดินไม่แฉะหรือแห้งเกินไป สามารถทำได้ในวันเดียวกับวันยกร่องปลูก แต่ไม่ควรเกิน 2-3 วัน เนื่องจากถ้ามีฝนตกหนักจะทำให้ยกร่องได้ยาก และวัชพืชอาจขึ้นอีกและอาจต้องมีการไถพรวนซ้ำได้

และการไถยกร่อง เป็นการจัดการพื้นที่ปลูกเพื่อให้สะดวกต่อการปลูกและช่วยระบายน้ำฝนเมื่อพื้นที่ปลูกมีฝนตกหนักเกินไป ควรยกร่องให้มีขนาดที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไป ซึ่งขนาดที่เหมาะสดต่อการปลูกมันสำปะหลังที่สุดคือ ความสูงของร่องประมาณ 25-30 เซนติเมตร และความกว้างของฐานร่องประมาณ 90-100 เซนติเมตร และการยกร่องควรยกร่อนขวางทิศทางลาดชันจะทำให้ลดการกร่อนของดิน

2) ฤดูปลายฝน

การเตรียมดินสำหรับการปลูกมันสำปะหลังในช่วงปลายฤดูฝนควรไถทั้งหมด 2 ครั้ง ได้แก่ การการไถดะในครั้งที่ 1 ไถพรวนหรือไถแปรในครั้งที่ 2 การไถดะการเตรียมดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังในช่วงปลายฤดูฝนจะใช้ผาล 3 ไถ ขณะที่ดินมีความชื้นเหมาะสม หากกินมีความชื้นมากเกินไปจะทำให้รถไม่สามารถเข้าไถให้พื้นที่ได้ การไถในรอบนี้จะเป็นการไถที่ช่วยเก็บกัดความชื้นไว้ในดินเพื่อรอการไถครั้งต่อไป

ส่วนการไถพรวนหรือไถแปร ควรทำเมื่อพร้อมปลูกโดยปกติควรทำหลังการไถดะประมาณ 5-10 วัน หากเป็นดินร่วนทรายหรือดินทราย หลังจากการไถครั้งนี้สามารถปลูกได้เลยโดยปลูกแบบพื้นราบ ใช้วิธีขึงเชือกปลูก โดยไม่จำเป็นต้องยกร่องเพื่อประหยัดต้นทุนการเตรียมดิน

การเตรียมดินตามชนิดเนื้อดิน

1) การจำแนกชนิดดินอย่างง่าย

การจำแนกเนื้อดิน เป็นการจำแนกองค์ประกอบเชิงกายภาพของดิน เนื่องจากดินในแต่ละสถานที่มีลักษณะแตกต่างกัน จำเป็นต้องเก็บตัวอย่างดินส่งห้องปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะห์หาองค์ประกอบของดินว่าเป็นดินชนิดใด เพื่อจะได้วางแผนและจัดการพื้นที่ปลูกได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่สถาบันวิจัยพืชไร่ (2554) ได้แนะนำวิธีการตรวจสอบชนิดดินอย่างง่ายไว้โดยการปั่นดินเป็นเส้นเพื่อเปรียบเทียบดินชนิดต่าง ๆ ดังตาราง

ตาราง เกณฑ์ในการพิจารณาเนื้อดินในแปลงปลูกอย่างง่าย
ลักษณะดิน ปั้นเป็นเส้นยาว

(ซม.)

เนื้อดิน เทียบเท่าเปอร์เซ็นต์ดินเหนียว (%)
ทรายแยกเป็นเม็ด ปั้นเป็นเส้นไม่ได้ ทราย 0 – 5
ทรายเป็นเม็ดและติดมือ 0.5 – 1.5 ทรายปนร่วน 5 – 15
ทรายเกาะเป็นก้อนบ้าง 1.5 – 2.5 ร่วนปนทราย 10 – 20
นุ่มลื่นมือ แน่น ไม่มีเม็ดทราย 4.0 – 5.0 ร่วนปนเหนียว 25 – 40
เหนียว หนัก ยืดมาก > 7.5 เหนียว > 45