ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การใช้ประโยชน์จากกากมันสำปะหลังเพื่อผลิตเป็นน้ำตาล"
(สร้างหน้าด้วย "สวลี และคณะ (2555) รายงานว่าประเทศไทยมีผลผลิตมันสำปะหลังเ...") |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:08, 30 มิถุนายน 2564
สวลี และคณะ (2555) รายงานว่าประเทศไทยมีผลผลิตมันสำปะหลังเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยคิดเป็นประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณผลผลิตรวมทั้งโลก รองจากประเทศไนจีเรีย และบราซิล และมีผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของทั่วโลก จากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังมีส่วนเหลือเป็นกากมันสำปะหลัง 1.11 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตมันสำปะหลังที่เข้าโรงงานอุตสาหกรรม หรือ ประมาณสองล้านตันต่อปี หากสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จะเป็นการสร้างประโยชน์จากของเหลือทิ้งและลดปัญหาทางมลภาวะกับสิ่งแวดล้อมได้
จากการที่เชื้อจุลินทรีย์ในธรรมชาติจะย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ในกากมันสำปะหลัง โดยกากมันสำปะหลังสามารถนำมาผลิตสารตั้งต้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น สารตั้งต้นประเภทน้ำตาลนำไปใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม สารให้ความหวาน และผลิตเป็นเอทานอลได้
ลัดดาวัลย์ (2556) รายงานภาพรวมแล้วกากมันสำปะหลังมีโปรตีนอยู่ในช่วง 1.55–3.42 เปอร์เซนต์ ไขมัน 0.12–0.53 เปอร์เซนต์ เถ้า 1.70–5.73 เปอร์เซนต์ เยื่อใย 10.38 – 15.26 เปอร์เซ็นต์ และแป้ง 47.97–68.89 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามองค์ประกอบทางโภชนาการมีความแปรผันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น คุณภาพของมันสำปะหลังที่นำมาใช้ในกรรมวิธีการสกัดแป้ง สายพันธุ์มันสำปะหลัง อายุการเก็บเกี่ยว ความสมบูรณ์ของดิน และสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูก รวมทั้งกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันของแต่ละโรงงาน